วธ.จัดทำจม.เหตุและหนังสือที่ระลึกจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคล 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 เป็นข้อมูลศึกษาค้นคว้า บันทึกประวัติศาสตร์ชาติ
24 ต.ค.2565 – นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยได้เชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมอมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดี ร่วมจัดทำโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ และถวายพระราชกุศลให้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ ในโอกาสดังกล่าวตลอดปี 2565 นั้น รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติตลอดทั้งปีอย่างยิ่งใหญ่กว่า 1,000 กิจกรรม ตลอดถึงรัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 12 สิงหาคมทุกปีเป็นวันผ้าไทยด้วย ถือเป็นโอกาสพิเศษที่จะต้องมีการบันทึกไว้ โดยได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 เพื่อเป็นข้อมูลศึกษาค้นคว้า ประวัติศาสตร์ รวบรวมเอกสารและบันทึกเหตุการณ์ งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมทั้งจัดพิมพ์เป็นหนังสือจดหมายเหตุ ถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เพื่อการศึกษาค้นคว้า มรดกวัฒนธรรมของชาติต่อไป
นายอิทธิพล กล่าวต่อว่า ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ครั้งที่ 1/2565 ซึ่งมีคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้หารือจัดทำแนวทางการจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกฯ เบื้องต้น พอสังเขปดังนี้ 1.การรวบรวมเอกสารข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ จากสื่อออนไลน์ เอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวง กรม สำนักต่างๆ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ ข่าวสารต่างๆ จำนวน 698 หน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้เริ่มส่งเอกสารมาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะรวบรวมเอกสารทั้งหมดแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และคาดว่าจะสามารถจัดพิมพ์เสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2566 2.การบันทึกเหตุการณ์และการจัดทำต้นฉบับ ซึ่งทางคณะทำงานได้ออกไปบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นพระราชพิธีและรัฐพิธีต่างๆ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 สิงหาคม 2565 อาทิ พิธีตักบาตร พิธีทางศาสนา พิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล กิจกรรมต่างๆ ขณะนี้ได้จัดทำโครงร่างหนังสือดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนการจัดทำหนังสือที่ระลึก เอกสารเผยแพร่อื่นๆ นั้นจะมีการพิจารณาต่อไป และเพื่อให้การดำเนินการครอบคลุมตลอดทั้งปี ทางคณะกรรมการฯและคณะทำงานของสำนักจดหมายเหตุแห่งชาติจะดำเนินการรวบรวมอย่างต่อเนื่อง และให้มีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 เป็นระยะ เพื่อให้การดำเนินงานหนังสือเสร็จทันกำหนดที่วางไว้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วธ.จัดมหกรรม‘ปลาร้า หมอลำอีสาน’ ยกระดับวัฒนธรรมพื้นบ้านให้ดังก้องโลก
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท
สุดม่วน! วธ.จัด ‘หมอลำเฟสติวัลร้อยแก่นสารสินธุ์’ หนุนยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด Sustainable Brands (SB) Thailand และ บริษัท
พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่
เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1 โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List
แสดง'โขน-โนรา'สานสัมพันธ์ที่เขมร
25 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมาส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนและเวทีนานาชาติ