ปิยมหาราชานุสรณ์’65 เติมเลือดใหม่ ช่วยคนไทย

ทุกปีในวันที่ 23 ตุลาคมจะมีการจัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช  สำหรับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะชวนคนไทยมาหวนรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 5 พระปิยมหาราช พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

สำหรับ “งานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565” ชวนย้อนเวลาสู่รัชสมัยแห่งความรุ่งเรือง สยามเรเนซองส์ที่พระปิยมหาราชทรงวางรากฐานและพระราชทานกำเนิดกิจการสำคัญ สร้างคุณูปการให้กับคนไทยไว้มากมาย ทุกกิจกรรมทรงคุณค่า

 ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปีนี้จัดกิจกรรมธีม “สยามเรเนซองส์” หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องการศึกษา จุฬาฯ กำเนิดจากพระราชปณิธานของ ร.5 ทรงมีพระประสงค์จะผลิตคนเสริมการพัฒนาประเทศชาติ โดยมีรากฐานมาจากโรงเรียนฝึกหัดวิชาการข้าราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ตั้งขึ้นปี 2442  ณ ตึกยาวในพระบรมมหาราชวัง ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็กเพื่อผลิตบุคลากรใช้รับราชการ จากพระบรมราโชบายปฏิรูปบริหารระบบราชการแผ่นดิน เมื่อปี 2425 จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็นสถาบันอุดมการณ์ศึกษาพระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลตอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เมื่อ 1 มกราคม 2453 หลังจากนั้นประดิษฐานขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม 2459 เป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม

​ “ จากวันนั้นมาถึงวันนี้พระราชปณิธานแรกเป็นการสร้างคน จุฬาฯ ไม่เคยหยุดการสร้างคน เราผลิตบัณฑิตตลอด 100 กว่าปีที่ผ่านมา นโยบายหลัก  สร้างผู้นำแห่งอนาคต Future Leader  สร้างนิสิตให้เป็นผู้นำแห่งอนาคต เมื่อมีคนแล้ว ผลิตงานวิจัย พร้อมนวัตกรรม ที่นำไปใช้ได้จริง สร้างอิมแพ็กต่อสังคม Impactful Research & Innovations ควบคู่การคำนึงถึงความยั่งยืน  “  

น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) บทบาทของ สนจ.ช่วงโควิดที่ผ่านมา มีส่วนช่วยเหลือขับเคลื่อนสังคม เราระดมสรรพกำลังของนิสิตเก่าและจัดทำโครงการ “กล่องรอดตาย”ช่วงโควิดระบาดหนักในกรุงเทพฯ ทุกคนไม่สามารถเข้าถึงคำปรึกษาและการรักษา บนกล่องดังกล่าวติดคิวอาร์โค้ดเปิดเป็น”เวอชวล วอร์ด” เปรียบเหมือนโรงพยาบาล มีอาสาสมัครชาวจุฬาฯ คุณหมอ นิสิต ที่มีองค์ความรู้ 800 คน มาช่วยตอบคำถาม ติดตามอาการ เป็นที่พึ่งให้กับคนกรุงเทพฯ และขยายไปยังต่างจังหวัด ปี 64 ทำมากกว่า 20,000 กล่อง ปีนี้อีก 2 หมื่นกล่อง มีผู้ติดเชื้อใช้บริการ ช่วยระบบสาธารณสุขรัฐอีกทาง วันที่ 23 ต.ค.ชาวจุฬาฯ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ ร.5 ทุกปีเราจะจัดงานเพื่อหาทุน หนึ่งในนั้นกองทุนจุฬาสงเคราะห์ช่วยนักศึกษาที่มีความประพฤติดี ฐานะยากจน ตามพระราชปณิธานของ ร.6 ” ไม่ได้ให้แต่ค่าเล่าเรียน มีค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พัก มีเงินเดือนประจำเพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ได้ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา ปัจจุบันมีนิสิตที่รับทุน 45 คน แล้วยังกองทุนอาหารกลางวัน 500 คน จากอดีต 300 คน เพราะครอบครัวได้รับผลกระทบช่วงโควิด จะระดมทุนในงานปิยมหาราชานุสรณ์

ขณะที่ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565 กล่าวว่า ปีนี้ธีม “สยาม เรเนซองส์” อยากเผยแพร่พระราชกรณียกิจสร้างประโยชน์แก่ประเทศไทยอย่างมหาศาล พาย้อนยุคกลับไป จะเห็นถึงพระปรีชาสามารถการที่ทรงทุ่มเทให้กับชาวไทย รูปแบบนำเสนอทันสมัยขึ้นเป็นดิจิตอลอาร์ต งานปิยราชานุสรณ์ชวนพวกเราสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและร่วมกันทำความดีบริจาคร่วมบริจาคเลือด

ด้าน น.ส.ภัทรพรเลิศศิริโรจน์ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในฐานะประธานโครงการ CU Blood กล่าวว่า โครงการนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อจะตอบแทนสังคมผ่านการทำกิจกรรมของนิสิตทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เป้าหมายช่วยไม่ให้ขาดแคลนเลือด ปีนี้ปีที่ 10 เลือดของสภากาชาดยังไม่ถูกเติมเต็ม มีโอกาสคุยกับพี่ๆ สนจ.รับรู้ถึงโครงการ DSR และกล่องรอดตาย ซึ่งเป็นกล่องดิจิตอล เฮลท์ ที่มีประโยชน์  เกิดแนวคิดทำไลน์โอเอดิจิตัลแพลตฟอร์ม ใช้ติดตามผู้บริจาคเลือด ทำให้การบริจาคเลือดง่ายขึ้น เราตั้งเป้าหมายใหม่ปีนี้จะช่วยให้สภากาชาดไทยไม่ขาดเลือดตลอดทั้งปีผ่านแคมเปญที่มีชื่อว่า “เติมเลือดใหม่ ช่วยคนไทยไม่ขาดเลือด” มีวิธีการง่ายๆ เพียงแอด Line OA “เลือดใหม่” กดเพิ่มเพื่อน หลังจากนั้นมีเมนูให้ลงเมนู สามารถนัดหมายตลอดทั้งปี 4 ครั้งต่อปี จะมีวิธีเท่านี้ทุกคนก็จะมีส่วนร่วมกับแคมเปญนี้แล้ว

​​​ปิยนันท์ คุ้มครอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านจัดหาโลหิตและภาพลักษณ์ขององค์กร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ชื่นชมนิสิตจุฬาฯ ที่คิด Line OA “เลือดใหม่” เข้ามาช่วยจัดการการบริจาคเลือด ทุกคนมีจิตอาสาอยากจะบริจาคเลือด ทุกโรงพยาบาลที่ขึ้นตรงกับกระทรวงสาธารณสุขเป็นสาขาบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสามารถรับบริจาคและใช้ในโรงพยาบาล กรณีไม่พอจะมาเบิกที่สภากาชาดไทย ช่วง 2-3 ปี โรงพยาบาลหาเลือดได้น้อยมาก ทุกโรงพยาบาลจะเบิกมาที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสูงมาก 

“ การบริจาคโลหิตในภาวะปกติทั่วประเทศ เดือนละ 2 แสนยูนิต ช่วงโควิดมีเลือดมาบริจาค 130,000 -160,000 แสนยูนิต ยังขาดแคลน เลือดที่บริจาคช่วยชีวิตผู้ป่วยเสียเลือดเฉียบพลัน รวมถึงผู้ป่วยโรคเลือดในไทยที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจ่ายให้ร้อยละ 23 ของเลือดทั้งหมด  ต้องจัดกิจกรรมกระตุ้น ศูนย์บริการโลหิตทำหน้าที่เป็นสะพานบุญนำเลือดที่มีคุณภาพปลอดภัยส่งให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศ ทำให้คุณภาพชีวิตคนไข้ดีขึ้น “ ปิยนันท์ กล่าว

สำหรับกิจกรรมงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565 และกิจกรรมต่างๆ ติดตามได้ทางเพจ Chulalongkorn University และ Chula Alumni และสามารถร่วมบริจาคกันได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผ่าน 5 ช่องทางสแกน QR Code เข้าสู่เว็บบริจาค www.chula-alumni.com/donation   2, App CHAM, LINE OA “CHULA ALUMNI” เลือกเมนู “บริจาค”,  K Plus ที่ฟีเจอร์ K Plus Market เลือกเมนูบริจาค และTTB ให้เข้าไปที่ “ปันบุญ” และบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 038-4-62388-9 ชื่อบัญชี “สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์” 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือนภัยคนใช้รถ จับ 2 โจรแดนมังกร ตระเวนลักทรัพย์ตามลานจอด

พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.กัมปนาท อรุณคีรีโรจน์ ผบก.น.7

จุฬาฯ ปักธงยุทธศาสตร์ปี 68 ดันสยาม-บรรทัดทอง สู่พื้นที่สร้างโอกาสให้คนไทยทุกคน

ถ้าใครมีโอกาสแวะมาเดิน Siam Square ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ อาจจะแปลกใจ ที่สยามสแควร์ไม่ใช่เป็นเพียงพื้นที่สำหรับนักช็อป หรือวัยรุ่นที่มาเปิดหมวกร้องเพลงเท่านั้น

จุฬาฯ จับมือกรม Climate Change และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน เปิดตัวหลักสูตร “TOP Green” หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้าน Sustainability

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ UN Global Compact Network Thailand