โบราณสถาน-ศาสนสถาน 17 จว.น้ำท่วม วธ.เร่งช่วย

วธ. เร่งช่วยเหลือวัด มัสยิด โบสถ์คริสต์ ชุมชนคุณธรรมฯ แหล่งโบราณสถาน 17 จังหวัดถูกน้ำท่วม

6 ต.ค.2565 – นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมาได้หารือเรื่องสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม มีข้อสั่งการให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เฝ้าระวังป้องกันวัด และโบราณสถานต่างๆ ไม่ให้เสี่ยงต่อการชำรุดและได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ซึ่งตนได้กำชับผู้บริหารและหน่วยงานในสังกัด วธ. ที่รับผิดชอบดูแล อาทิ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร กรมการศาสนา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้เร่งสำรวจโบราณสถาน ศาสนสถาน ทั้งวัด มัสยิด โบสถ์คริสต์ ทั่วประเทศ รวมถึงบ้านของศิลปินแห่งชาติ และข้าราชการ

เบื้องต้นพบว่า กรมศิลปากรได้มีการเฝ้าระวังแหล่งโบราณสถานทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีโบราณสถานที่ถูกน้ำท่วมแล้วกว่า 40 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่นอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ แต่โบราณสถานเหล่านั้นส่วนใหญ่จะได้รับการบูรณะเสริมความมั่นคงแล้ว ซึ่งจะไม่ได้รับความเสียหายมาก ส่วนโบราณสถานที่ยังไม่ได้มีการบูรณะเสริมความมั่นคง อุทยานฯ ได้มีการตั้งนั่งร้านค้ำยันเสริมความมั่นคงไว้แล้ว รวมทั้งในพื้นที่เกาะเมือง ขณะนี้ทางจังหวัด กรมศิลปากร หน่วยทหารในพื้นที่ และเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาได้ทำคันป้องกันน้ำ ซึ่งจะสามารถป้องกันโบราณสถานในเกาะเมืองได้เกือบทั้งหมด จะมีเพียงป้อมเพชรและระหัดวิดน้ำในพระราชวังโบราณเท่านั้นที่ถูกน้ำท่วม หากพบความเสียหายจะเร่งเสริมความมั่นคงไม่ไห้เสียหายไปมากกว่านี้

 รมว.วธ. กล่าวต่อว่า สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม โดยกองตรวจราชการได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศในขณะนี้พบว่า มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลพายุดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน ถึง 4 ตุลาคม 2565 จำนวนรวม 17 จังหวัด ประกอบด้วย ชัยนาท เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พะเยา เพชรบูรณ์ ลำพูน ศรีสะเกษ สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สุรินทร์ อุทัยธานี และอุบลราชธานี (ข้อมูล ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2565) ประกอบด้วย ศาสนสถาน 121 แห่ง ชุมชนคุณธรรมฯ 103 แห่ง แหล่งเรียนรู้ 10 แห่ง เครือข่ายทางวัฒนธรรม 7 คน บุคลากรในสังกัด 12 คน อาคาร/สำนักงาน 1 แห่ง

” ภาพรวมมีน้ำท่วมทั้งโบราณสถาน ศาสนสถาน วัด ที่พักสงฆ์ คริสตจักร  ชุมชนคุณธรรมฯ แหล่งเรียนรู้ เครือข่ายวัฒนธรรม อาทิ  บ้านพักอาศัยของเครือข่ายทางวัฒนธรรม ได้แก่ นายจุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรม (ร่วมสมัย) พ.ศ. 2547 ที่จังหวัดเชียงใหม่ บ้านพักนายอินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(ประติมากรรม) พ.ศ. 2542 จังหวัดลำพูน บ้านพักนางขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน – อีแซว) พ.ศ. 2539 จังหวัดสุพรรณบุรี รวมไปถึงอาคาร/สำนักงาน ศูนย์อำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 12 วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี รวมไปถึงบ้านของข้าราชการจำนวนหนึ่งด้วย เบื้องต้นทาง วธ. จะเร่งดำเนินการช่วยเหลือสนับสนุนและถวายเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นให้กับพระสงฆ์และผู้นำทางศาสนา รวมไปถึงเครือข่ายทางวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติก่อน รวมถึงมอบหมายให้ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักศิลปากรในพื้นที่ รวมถึงอาสาสมัครร่วมช่วยกันสอดส่องดูแลเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง ” รมว.วธ. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

สืบสานประเพณีถวายผ้าพระกฐินวัดหนองแวง แหล่งรวมมรดกวัฒนธรรม

5 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลกฐิน พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา

'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก

“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น  สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง  ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ 

ลอยกระทงวิถีไทย สืบสานประเพณีงดงาม

วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 จัดเป็นเทศกาลประเพณีสำคัญของคนไทยที่จะได้ร่วมกันสืบสานคุณค่าประเพณีอันดีงาม โดยการทำกระทงสวยงามหลากหลายรูปแบบ นำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ

ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี

จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567  โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล