19 ก.ย. 2565 – การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ร่วมกับสมาคมสายการบินประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย 6 สายการบิน ได้แก่บางกอกแอร์เวย์ส ไทยแอร์เอเชีย ไทยสมายล์ นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์และไทยเวียตเจ็ท จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “ลดทั่วฟ้า บินทั่วไทย”เพื่อมอบส่วนลดพิเศษให้แก่ผู้โดยสารสายการบินและเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการเดินทางทางอากาศทั่วทุกภูมิภาคในประเทศในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง โดยมีนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการ ททท. นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถนายกสมาคมสายการบินประเทศไทย และผู้บริหารระดับสูงของสายการบินทั้ง 6 สายเป็นผู้ร่วมแถลง
นายยุทธศักดิ์ กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า จากการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินอย่างต่อเนื่องสายการบินต้องหยุดทำการบินสำหรับเส้นทางการบินในประเทศส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของธุรกิจสายการบินการจ้างงานของบุคลากร ในอุตสาหกรรมการบินรวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาพรวมในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวหลากหลายด้านการออกมาตรการควบคุมการเดินทาง ส่งผลให้ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินมีราคาสูงขึ้นการหยุดให้บริการชั่วคราวของบางสายการบินและจำนวนของเครื่องบินที่สามารถให้บริการล้วนส่งผลให้อัตราการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศทางอากาศลดลง
ผู้ว่าททท. กล่าวอีกว่า จากมาตรการควบคุมการเดินทาง ค่าตั๋วโดยสารที่เพิ่มสูงขึ้น การหยุดให้บริการชั่วคราวของบางสายการบินและจำนวนจำกัดของเครื่องบินที่สามารถให้บริการ ล้วนส่งผลให้อัตราการเดินทางที่ลดลงของนักท่องเที่ยวภายในประเทศทางอากาศซึ่งก่อนที่ประเทศไทยจะพบกับวิกฤติโควิด อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยสร้างรายได้ได้มากกว่า 3 ล้านล้านบาทในปี 2562 และถือครองสัดส่วน GDP ของประเทศถึงร้อยละ 18 สำหรับในปี 2565 นี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างรายได้สู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 1.5 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของปี 2562 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยได้ประมาณ160 ล้านคน-ครั้ง และสร้างรายได้ประมาณ 656,000 ล้านบาท โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 สถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศระหว่างมกราคม-มิถุนายน 2565 มีการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 74,335,927 คน-ครั้ง
ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินการส่งเสริมการตลาดให้จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นการเดินทางทางอากาศอันจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการสายการบิน ททท.จึงร่วมกับสมาคมสายการบินประเทศไทยจัดโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยผ่านการเดินทางทางอากาศ “ลดทั่วฟ้า บินทั่วไทย” เพื่อกระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยให้เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศโดยทั้ง 6 สายการบินจะร่วมกันดำเนินการสื่อสารการตลาดเพื่อกระตุ้นให้คนออกเดินทาง รวมทั้งเสนอบัตรโดยสารราคาพิเศษในทุกเส้นทาง ทุกระดับราคา และ ททท. มอบส่วนลดค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน 300 บาทต่อ 1 หมายเลขการจอง หรือ 1 Booking ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดกระแสการเดินทางของนักท่องเที่ยวแล้ว ยังจะทำให้ Load Factor ของสายการบินเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดการใช้จ่ายในระหว่างการเดินทาง อาทิ ค่าที่พัก ค่าเดินทางท้องถิ่น ค่าอาหาร ค่าเข้าชมแหล่งท่องเที่ยว ค่าซื้อสินค้าและของ ที่ระลึก ตลอดทั้งค่าใช้จ่ายสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวอื่น ๆ อันเป็นรายได้จากการท่องเที่ยวอีกด้วย
“โครงการลดทั่วฟ้าบินทั่วไทยในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าทั้ง 6 สายการบินจะเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้เลือกเดินทางไปในเส้นทางใดก็ได้ และเที่ยวบินใดก็ได้แต่ผมอยากชวนให้ทุกท่านออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังเส้นทางจังหวัดเมืองรองเพื่อจะได้กระจายรายได้และกระจายการกระจุกตัวจากการท่องเที่ยวไปยังท้องถิ่นทั่วประเทศไทยได้ในนามของ ททท. ผมขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเดินทางภายในประเทศทางอากาศกับโครงการ “ลดทั่วฟ้าบินทั่วไทย”เพื่อทุกท่านจะได้มีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอีกทางหนึ่งด้วย”
ด้านนายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ นายกสมาคมสายการบินประเทศไทย กล่าวว่าอุตสาหกรรมการบินนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่เริ่มต้นมีการระบาดตั้งแต่ต้นปี 2563 จนมาถึงในปี 2564ธุรกิจการบินก็ยังคงได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ทั้งสายพันธุ์อัลฟ่า เบต้า เดลต้า และโอมิครอนโดยส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการบินอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพรวมธุรกิจการบินของประเทศไทยในปี 2564 ที่ผ่านมามีจำนวนผู้โดยสารลดลงจากปี 2563 ถึงร้อยละ 64.1โดยจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศลดลงมากถึงร้อยละ 90.2 และผู้โดยสารภายในประเทศลดลงกว่าร้อยละ 54 ในส่วนของปริมาณเที่ยวบินทั้งหมดลดลงร้อยละ 48.5 โดยเที่ยวบินระหว่างประเทศลดลงร้อยละ 46.6 และภายในประเทศลดลง ร้อยละ 49.1 ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการจำกัดการเดินทางทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศทำให้การขนส่งทางอากาศต้องหยุดชะงักลงชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ประเทศไทยประกาศเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบรวมทั้งในช่วงต้นเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา มีการยกเลิกระบบ THAILAND PASS สำหรับคนไทยและชาวต่างชาติซึ่งนั่นถือเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อภาพรวมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ตัวเลขจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (AOT) แสดงให้เห็นว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญโดยในระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม ที่ผ่านมา ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเพิ่มจากหลักแสน เป็นหลัก 2 ล้านกว่า ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อธุรกิจการบินของประเทศไทยในการฟื้นตัวกลับมาหลังจากประสบปัญหาภาวะวิกฤติการระบาดของโควิด-19
หลังจากที่รัฐบาลได้เริ่มดำเนินมาตรการเปิดประเทศและในแต่ละจังหวัดของประเทศไทยเริ่มลดมาตรการจำกัดการเดินทาง อีกทั้งนโยบายการเปิด ประเทศของประเทศต่างๆทั่วโลกทำให้เที่ยวบินระหว่างประเทศและเที่ยวบินภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนั่นก็รวมถึงการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศโดยจำนวนผู้โดยสารภายในประเทศแยกตามเส้นทางบิน 3 อันดับแรกของปี 2564 พบว่า เส้นทางบิน กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิและดอนเมือง) – เชียงใหม่ มีจำนวนผู้โดยสารรวมมากที่สุด (1.56 ล้านคน) รองลงมา ได้แก่เส้นทางบินกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิและดอนเมือง) – ภูเก็ต (1.31 ล้านคน) และเส้นทางบินกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิและดอนเมือง) – หาดใหญ่ มี (1.10 ล้านคน) (ข้อมูลจาก กพท.)
ทั้งนี้ความร่วมมือกับ ททท. ในการจัดโครงการ “ลดทั่วฟ้าบินทั่วไทย”ในครั้งนี้นับเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของไทยให้ฟื้นตัวกลับมาและหวังว่าจะช่วยกระจายจำนวนนักท่องเที่ยวไปยังเส้นทางบินอื่นๆในประเทศได้มากขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางบินสู่งเมืองรอง อาทิ สุโขทัย เชียงรายนครศรีธรรมราช ตรัง บุรีรัมย์ และกระบี่ เป็นต้น
“ผมในนามตัวแทนสายการบินทั้ง 6 สาย ขอขอบคุณ ททท.เป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสพวกเราร่วมกันทำงานอย่างหนัก เพื่อฟื้นตัวเศรษฐกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งโครงการครั้งนี้นอกจากทุกสายการบินจะร่วมจัดโปรโมชั่นบัตรโดยสารอย่างต่อเนื่องเเล้ว ทาง ททท. ยังสนับสนุนส่วนลดเพิ่มพิเศษซึ่งถือเป็นทั้งความร่วมมือและช่วยเหลือผู้โดยสารเพื่อให้เกิดการเดินทางเเละใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวปลายปีอย่างดีเยี่ยม”นายพุฒิพงศ์กล่าว
โครงการ “ลดทั่วฟ้า บินทั่วไทย” จะมอบส่วนพิเศษ 300 บาทต่อหมายเลขการจอง(จำนวน 500,000 สิทธิ์) แก่ผู้โดยสารที่ซื้อบัตรโดยสารของสายการบินทั้ง 6 สาย ในระหว่างวันที่ 19 กันยายน – 10 ตุลาคม 2565โดยผู้โดยสารสามารถกรอกโค้ดลดราคา (Promotion Code) “AMZTH300” บนหน้าเว็บไซต์สายการบิน และบัตรโดยสารสามารถใช้เดินทางได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2565 (เงื่อนไขเป็นไปตามที่แต่ละสายการบินกำหนด) ผู้โดยสารที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ “ลดทั่วฟ้าบินทั่วไทย” ได้ที่เว็บไซต์สายการบินหรือติดต่อศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าตามรายละเอียดด้านล่าง สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โทร 1771 หรือเว็บไซต์www.bangkokair.com
ส่วนสายการบินที่ร่วมโครงการ ได้แก่
สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โทร 1771 หรือเว็บไซต์
www.bangkokair.com
สายการบินไทยแอร์เอเชีย https://www.airasia.com/aa/about-
us/th/th/partners-promotion-terms-and-conditions.html หรือ
https://support.airasia.com/
สายการบินไทยสมายล์ โทร 1181 หรือเว็บไซต์ www.thaismileair.com
สายการบินนกแอร์ โทร 1318 หรือเว็บไซต์ www.nokair.com
สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ โทร 02-529-9999 หรือเว็บไซต์
www.lionairthai.com
สายการบินไทยเวียตเจ็ท โทร 02-089-1909 หรือเว็บไซต์ th.vietjetair.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ” ลุยเพิ่มศักยภาพ เร่งเครื่องดันสนามบินสมุยสู่ “Tourism Hub” อ่าวไทย
หากพูดถึงอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย ปัจจุบันกลับเติบโตอย่างน่าสนใจหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน ผู้โดยสารกลับมาใช้บริการมากขึ้น
เซเว่นฯ เปิดตัว แสตมป์เสน่ห์ไทย ให้ลูกค้าสะสม
เซเว่นฯ จับมือ ททท. สร้างปรากฎการณ์ “แสตมป์เสน่ห์ไทย ใครๆ…ก็หลงรัก” ผ่านแคมเปญสุดจึ้งแห่งปีโดยมี “โดราเอมอน” มาสร้างความสนุก ผสมผสานความเป็นไทยครั้งแรก!!! จัดใหญ่ทั่วไทย…แจกใหญ่ทั่วถึงสะสมได้ทั้งรูปแบบดวงแสตมป์ และ M-Stamp บน 7 App ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม ถึง 15 ธันวาคม 2567
ททท. กางแผนปี 68 ดึงต่างชาติเที่ยวทะลุ 40 ล้านคน สร้างรายได้ 3.4 ล้านล้าน
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวในงานประชุมบูรณาการแผนปฏิบัติการ ททท. ปี 2568 (Tourism Authority of Thailand Action Plan 2025 : TATAP 2025) ว่า ททท.ตั้งเป้าหมายในปี 2568 สร้างรายได้รวมเพิ่มจากที่ทำได้ในปี 2567 ไปอีก 7.5%