เกาะติดสถานการณ์ฝน 'ค่าเฉลี่ยมากกว่าปี 54 ' พายุจ่อเข้าอีก

 สถานการณ์ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ของประเทศไทยช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กินพื้นที่ไม่น้อยกว่า 70%  ของประเทศ  ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และน้ำท่วมฉับพลัน   โดยเฉพาะคน กรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้ง นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา  โดนฝนถล่มจนอ่วม  รวมไปถึงภาคตะวันออกทั้งชลบุรี  ระยอง จันทบุรี  ที่น้ำท่วมสูงทั่วทั้งเมือง แถมมีน้ำป่าไหลหลาก บ้านเรือนเสียหาย

แนวโน้มสภาพอากาศและปริมาณฝนจากนี้ จนถึงตลอดเดือนกันยายน ตุลาคม จะเป็นอย่างไร  และในปี 2565 พายุจะเข้าไทยอีกกี่ลูก  ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนทำให้ฝนตกมากขึ้น ซ้ำเติมสถานการณ์น้ำที่ยังเอ่อล้นไม่น่าวางใจ วันนี้มาเจาะลึกสถานการณ์ฝนกับกรมอุตุนิยมวิทยา หน่วยงานที่ทำหน้าที่โดยตรง

ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ฝ่ายวิชาการ  กล่าวว่า  ช่วงวันที่ 7 – 9 ก.ย. ที่ผ่านมา บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคอีสานตอนบน และประเทศลาวตอนบน ทำให้ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคอีสานตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล  ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 10 – 13 ก.ย. นี้  ร่องมรสุมจะมีกำลังอ่อนลงและจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคอีสาน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง

“ ช่วงนี้ถึงกลางเดือนกันยายนจะมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะแถวแนวปะทะเขา แต่ฝนจะไม่ตกหนักมากเหมือนก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนนี้ ทั้งแรงและเบาสลับกันไป ฝนตกชุกหนาแน่น ตกหนักมาก  ตกสะสม  ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงทั้งที่ราบเชิงเขาทางน้ำไหลผ่านและที่ราบลุ่มยังจะต้องระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยฤดูฝนจะสิ้นสุดกลางเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคใต้ ทำให้ใต้มีฝนชุก   “ ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์เตือน

กรณีภาคตะวันออกเจอฝนถล่ม น้ำท่วม น้ำป่าทะลักในหลายพื้นที่ทั้ง จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด รองอธิบดีย้ำเหตุที่ฝนตกหนักมากนอกจากร่องมรสุมแรงพาดผ่านแล้ว ยังมีหย่อมความกดอากาศต่ำทะเลจีนใต้แผ่ลงมา ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองตลอด    

สถานการณ์ฝนตก น้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย ไทยจะเจอพายุอีกหรือไม่  ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้กรมอุตุฯ จับตาการก่อตัวของพายุดีเปรสชั่นที่ปกคลุมมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณทิศตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ตอนนี้ยังไม่มีการตั้งชื่อ   เส้นทางพายุยังไม่มีแนวโน้มเคลื่อนเข้าประเทศไทย  แต่ต้องติดตามเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง     หากพายุจ่อเข้าทะเลจีนใต้ จะส่งผลกระทบต่อไทย กรมอุตุฯ จะออกประกาศแจ้งเตือนประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือได้ทัน  

  “ จากการพยากรณ์อากาศประเทศไทย ปี 2565 นี้ คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเข้าไทย 2 ลูก ไทยต้องเผชิญกับพายุโซนร้อนเป็นสิ่งเกิดขึ้นกันทุกปี แต่ละปีสร้างความเสียหายให้กับประเทศ “

รองอธิบดีขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุวิทยาในช่องทางต่างๆ อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีทันสมัยทำให้การพยากรณ์มีความแม่นยำมากกว่า 80%  ข้อมูลเหล้านี้เพื่อสนับสนุนการทำงานและส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่ต่อไป อย่างไรก็ตาม กรมอุตุฯ มีการเฝ้าระวังสภาพอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศ และสามารถแจ้งเตือนได้ล่วงหน้า 3 วัน ก่อนเกิดเหตุอันตรายต่อประชาชน อย่าไปหลงเชื่อข่าวลวงในโซเชียลมีเดียที่เน้นสร้างความตื่นตระหนก งดแชร์ข้อมูลที่ไม่จริง  

ไทยเจอฝนหนักในปีนี้ รองอธิบดีกรมอุตุฯ บอกว่า  ปี 2565 เป็นปีที่ไทยเจอปรากกฎการณ์ลานีญากำลังอ่อนถึงปานกลาง  ฝนจะมากกกว่าปีที่แล้ว ปีนี้ฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะเดือน ก.ย. – ต.ค. จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้  และมีแนวโน้มลานีญาลากยาว  ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมให้มีปริมาณฝนตกมากในประเทศไทย ประกอบกับร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านไทย รวมถึงบ้านเราได้รับผลกระทบจากหางของพายุโซนร้อนมู่หลานและพายุโซนร้อนหมาอ๊อน  แม้พายุทั้ง 2 ลูกจะสลายตัวนอกประเทศ แต่มีผลกระทบให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านไทยกำลังแรงขึ้น  ไม่รวมมวลอากาศเย็นและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เสริมแรง ทำให้มีฝนตกสม่ำเสมอตั้งแต่ฤดูร้อนเป็นต้นมา  ในปี 65 ฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย 30 %  และมากกว่าค่าเฉลี่ยปี 54 ซึ่งเจอลานีญาเหมือนกัน ปีนั้นพายุเข้า 5 ลูก ทั้งเข้าไทยตรงๆ และทางอ้อม มีผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่

“ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนส่งผลต่อสภาพอากาศแปรปรวน เกิดสภาพอากาศสุดขั้ว หรือ Climate Extremes ลมพายุรุนแรง ฝนตกหนักเกินกว่าปกติ  ความไม่สมดุลของอุณหภูมิโลกเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินเปลี่ยนแปลง ตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยก๊าซในภาคขนส่ง อุตสาหกรรม ภาคเกษตร มนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมมานาน และยังคงปล่อยต่อ ล้วนส่งผลให้โลกร้อนขึ้น อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น  ยุโรปเจอร้อนจัด สหรัฐหนาวจัด เอเชียฝนตกหนัก อาหรับพายุเข้าในทะเลทราย ล่าสุดเห็นชัดน้ำท่วมใหญ่ปากีสถานเป็นเวลานานกว่าเดือน มีผู้เสียชีวิตหลักพัน ทั้งฝนหนักและธารน้ำแข็งบนหิมาลัยที่ละลายจำนวนมาก  ถือเป็นสัญญาณเตือนโลกได้รับผลกระทบจากโลกร้อน ก่อนหน้านี้ พายุถล่มเกาหลี ฝนตกหนักสะสมเกิดน้ำท่วมใหญ่กรุงโซล ไทยก็เห็นแล้ว ภัยพิบัติจากโลกร้อนจะเห็นถี่และรุนแรงขึ้นทุกปี   “ ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ กล่าวทั่วโลกเผชิญ Climate Extremes  

รองอธิบดีกรมอุตุฯ กล่าวทิ้งท้าย การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องรวมพลังทุกภาคส่วน เริ่มตั้งแต่ภาคประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสาเหตุอุณหภูมิโลกสูงขึ้น ทุกคนต้องช่วยกันทำ ตลอดจนมีการวางแผนเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่แปรปรวน และปรับตัวให้อยู่รอดจากวิกฤตต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นวันข้างหน้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ จับตาพายุในทะเลจีนใต้ ทำหลายพื้นที่มีฝนตก อากาศแปรปรวนช่วงสิ้นปี

กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 21 ธ.ค.67 - 4 ม.ค.68 init. 20241212012 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก

กรมอุตุฯ พบสัญญาณพายุก่อตัวช่วง 22 ธ.ค. มีโอกาสเคลื่อนตัวเข้าใกล้ปลายแหลมญวน

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 19 ธ.ค.67 - 2 ม.ค.68 init. 2024121812 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย ประเทศไทยตอนบนอากาศเย็นตอนเช้าต่อเนื่อง (กลางวันร้อนขึ้นบ้าง) ส่วนสถานการณ์ฝนภาคใต้ฝนลดลงแล้ว -------------------

กรมอุตฯ ประกาศฉบับ 2 เตือนภาคใต้ฝนตกหนักมาก รับมือน้ำท่วม 3-5 ธ.ค.

ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 2

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 8 เตือนใต้ฝนตกหนักคลื่นแรง ไทยตอนบนหนาว

ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้

กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า

กรมอุตุฯ อัปเดตพายุ 3 ลูก พร้อมพยากรณ์อากาศ 10 วันข้างหน้ายังมีฝนตก

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตภาพถ่ายดาวเทียม เช้าตรู่วันนี้ (14/11/67) ยังมีเมฆฝนบางส่วนบริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก มีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุม