แฟ้มภาพ
6 พ.ย.2564 - นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่าหนังสือลาออก ถึงผู้อำนวจการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่ออสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(มสธ.)
อันสืบเนื่องมาจากการจัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับประชาชนในกรุงเทพมหานครต้องการผู้นำที่มีคุณลักษณะแบบใดเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปและคุณลักษณะพรรคการเมืองแบบใดที่ผู้นำสังคมหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ผมขอนุญาต ลาออก จากการเป็นที่ปรึกษาศูนย์วิจัยฯ นับตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย.เป็นต้นไป
นายธีรภัทร์ ระบุว่า "เพื่อรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรที่ผมเคยอยู่มานานถึง 36 ปี คือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และจุดยืนของความสุจริตและความเที่ยงตรงทางวิชาการที่ยึดมั่นมาโดยตลอดครับ"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโพลสำรวจความคิดเห็น ที่นายธีรภัทร์ ระบุถึงนั้นมีการเปิดเผยเมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา โดย ศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับ "ประชาชนในกรุงเทพมหานครต้องการผู้นําที่มีคุณลักษณะแบบใดเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปแลคุณลักษณะพรรคการเมืองแบบใดที่ผู้นําสังกัดหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป" โดยดําเนินการสํารวจระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2564 กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 12,350 คน เป็นชาย 6,820 คน (55.22%) หญิง 5,530 คน (44.78%) รายละเอียดดังนี้
1.ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้นําของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
1.1 ผลสรุปภาพรวมคุณลักษณะความเป็นผู้นําของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
จะเห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนโดยภาพรวมสูงสุด (54.24%) และรองลงมาคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (52.99%) , คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (38.12%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (8.87%)
1.2 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 1 คือ ความสามารถในการกอบกู้และแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้
จะเห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (50.30%) รองลงมา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (41.31%) , นายกรณ์ จาติกวณิช (32.02%) ตามลําดับ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (9.20%)
1.3 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 2 คือ คุณลักษณะด้านความสามารถในการแก้ปัญหาปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (50.89%) รองลงมา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (43.44%), นายกรณ์ จาติกวณิช (30.14%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (7.72%)
1.4 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 3 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การบริหารประเทศ มีผลงานโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์มาแล้วทั้งในอดีตและปัจจุบัน
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (59.53%) และรองลงมา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (42.47%) , คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (33.40%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (6.09%)
1.5 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 4 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่รอบรู้ รอบคอบ ทุ่มเท ขยัน และรู้กลไกการผลักดันงานหรือนโยบายให้สําเร็จได้
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (63.58%) รองลงมา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (58.72%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (42.20%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (6.36%)
1.6 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 5 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่อ่อนน้อม ปรองดอง เข้าถึงง่าย ทํางานกับทุกฝ่ายได้
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (55.51%) รองลงมา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (52.83%) , นายอนุทิน ชาญวีรกูล (47.40%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (12.81%)
1.7 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 6 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (54.72%) รองลงมา คือ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (58.74%) , พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (54.13%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (9.60%)
1.8 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 7 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่รักษาสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์
เห็นได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนสูงสุด (62.01%) และรองลงมา คือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (60.12%) , คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (57.96%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (16.34%)
1.9 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 8 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ควบคุมกํากับความมั่นคงทางการทหารและตํารวจ
เห็นได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนสูงสุด (68.99%) และรองลงมา คือ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (40.92%) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (60.12%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (2.85%)
2.ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินคุณลักษณะพรรคการเมืองที่ผู้นําสังกัด หรือ อาจจะเป็นผู้ได้รับเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
2.1 ผลสรุปภาพรวมคุณลักษณะพรรคการเมืองที่เป็นผู้นําสังกัด หรือ อาจจะเป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนรวมสูงสุด (58.15%) และรองลงมา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (45.59%) , นายอนุทิน ชาญวีรกูล ผู้นําจากพรรคภูมิใจไทย , (40.74%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (31.44%)
2.2 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 1 ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยและระบบรัฐสภา
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (62.01%) และรองลงมา คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ผู้นําจากพรรคภูมิใจไทย (54.20%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (26.28%)
2.3 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 2 มีกลไกการทํางานที่เป็นระบบ เป็นพรรคการเมืองของประชาชน ไม่เป็นพรรคของใครคนใดคนหนึ่ง หรือ คณะบุคคล หรือ นายทุน
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (58.74%) และรองลงมา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (45.93%) , นายกรณ์ จาติกวณิช ผู้นําจากพรรคกล้า (42.63%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (23.46%)
2.4 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 3 มีบุคลากรของพรรคที่มีคุณภาพสูงในการบริหารพรรค และมีความพร้อมในการเป็นผู้บริหารประเทศ
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (56.57%) และรองลงมา คือ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย (44.92%) , พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (42.48%) ตามลําดับ ส่วน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ผู้นําจากพรรคเสรีรวมไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (23.04%)
2.5 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 4 มีที่มีบุคลากรคุณภาพโดดเด่นในการทํางานแก้ไขปัญหาของประชาชนในระบบสภา และการดูแลประชาชนในพื้นที่
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (56.29%) และรองลงมา คือ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย (47.47%) , พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (44.76%) ตามลําดับ ส่วน นายกรณ์ จาติกวณิช ผู้นําจากพรรคกล้า มีคะแนนน้อยที่สุด (18.18%)
2.6 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 5 มีที่มีความอิสระในการตัดสินใจ ปราศจากการครอบงําใดๆ
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (57.15%) และรองลงมา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (51.48%) , พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ผู้นําจากพรรคเสรีรวมไทย (45.94%) ตามลําดับ ส่วน น.ส.พินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (15.10%)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อดีตรองหัวหน้าเพื่อไทย แนะวิธีติดเบรกคนหลงตัวเอง-ลุแก่อำนาจ
นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า "คน
'ภูมิธรรม' การันตีไม่มีปัญหาพรรคร่วมเห็นต่าง
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงสถานกานณ์ทางการเมือง ที่หลายคนถามรัฐบาลจะอยู่ครบ 4 ปีหรือไม่ ว่า หากดูจา
'ภูมิธรรม' เซ็ง 'เอ็มโอยู44' ถูกปลุกปั่นจนออกนอกอวกาศ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงเอ็มโอยู 44 ว่า ตนยังยึดหลักเดิม เพราะควรใช้ความอดทนอดกลั้นและความเข้าใจ เพราะเอ็มโอยู 44 ซึ่งรัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไร
'อนุทิน' โวรัฐบาลชุดนี้ มีเสถียรภาพมากสุด เชื่ออยู่ครบเทอม
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์กรณี
'จตุพร' มองการเมือง 2568 สัมพันธ์อำนาจระแวงบีบกด ฉุดบ้านเมืองเข้ามุมอับ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ส่งท้ายปี 2567 ว่า ในปี 2568 บ้านเมือง
‘ทักษิณ’ ติงสื่อขยายข่าวมากเกินไป! หลัง คุยกับ ‘อันวาร์’
ที่อาคารมูลนิธิไทยรัฐ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี