ยักษ์ใหญ่'TCP'ลุกขึ้นมาขับเคลื่อนการศึกษาไทย

 นับเป็นความเคลื่อนใหวครั้งใหญ่ของภาคเอกชน เมื่อกลุ่มธุรกิจ TCP  ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มรายใหญ่มูลค่าหลายแสนล้านบาท ได้ลุกขึ้นมาประกาศว่าจะขับเคลื่อนการศึกษาไทย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม  และช่วยผลักดันให้การศึกษาไทยหลุดพ้นจาก”กับดัก”การพัฒนาที่ยังไม่ตอบโจทย์โลกปัจจุบัน ไปสู่การศึกษาที่มีคุณภาพที่แท้จริง สามารถสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพให้กับประเทศได้ โดยผนึกกำลังพันธมิตรทางการศึกษาที่หลากหลาย เปิดตัวโครงการ ‘TCP ปลุกความรู้สู่โอกาส’ โครงการระยะยาว 5 ปีด้านการศึกษา มุ่งช่วยทั้งครูและนักเรียนให้ได้เพิ่มโอกาสในการเพิ่มศักยภาพตัวเอง เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้และการทำงานในโลกอนาคต  และยังประกาศเชิญชวนพันธมิตรทางการศึกษาที่มีนวัตกรรมการศึกษาหลากหลายมาร่วมโครงการ


เริ่มต้นจากการสนับสนุน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการดูแลพัฒนาศักยภาพครู หรือโครงการ‘โรงเรียนปล่อยแสง’ ที่ร่วมมือกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 2.โครงการ ‘ทุนสานฝันการศึกษาเพื่อน้อง’ ที่ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.)  สนับสนุนการสร้างระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษา ผ่านการมอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนช่วงชั้นรอยต่อ เพื่อไม่ให้เยาวชนเหล่านั้นหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจ TCP ผนึกกำลังกับกสศ.เร่งให้ความช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านโครงการกลไกอาสาสมัครคุณภาพอย่างเร่งด่วน

" ตลอดการเดินทางที่สนใจเรื่องการศึกษา  มีคนพูดเรื่อยๆ ว่าปัญหานี้แก้ไม่ได้หรอก  ใครก็ตาม เพราะคุณไม่ใช่กระทรวงศึกษาธิการ  ไม่ใช่ผู้มีอำนาจ แต่ในความเห็นส่วนตัว แค่คิดอย่างนี้ก็ผิดแล้ว เพราะปัญหาการศึกษา เป็นปัญหาของทุกคน ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข  ..." สราวุฒิ อยู่วิทยา
สราวุฒิ อยู่วิทยา ซีอีโอ กลุ่มTCP

  สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า ถ้าถามว่าทำไม TCPที่เป็นธุรกิจเครื่องดื่ม มาสนใจเรื่องการศึกษา ก็มีเหตุผลเนื่องจาก TCP เป็นองค์กรขนาดใหญ่ จ้างงานคนจำนวนมาก  จึงคิดว่าเราควรมีส่วนร่วมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ และโดยส่วนตัวเชื่อมั่นมากๆว่าปัญหาใหญ่ของโลกที่เราเจอขณะนี้ คือ ปัญหา Climate Change และความไม่เท่าเทียมกันของสังคม ซึ่งในความไม่เท่าเทียม ถ้าเรามีคุณภาพการศึกษาดี จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ สอดคล้องกับกรอบการทำงานยั่งยืนของTCP 3 ข้อคือ Integrity, Quality และ Harmony โครงการ ‘TCP ปลุกความรู้สู่โอกาส’ และหลักการเรื่อง Harmony ที่ให้ความสำคัญกับชุมชนยั่งยืน


ซีอีโอ TCP ยอมรับว่า ปัญหาการศึกษาไทยมีมายาวนาน เป็นปัญหาที่ใหญ่ มีความท้าทาย เป็นโจทย์ยาก  ในวันนี้เราต้องมีการทบทวนว่าการศึกษาของเราตอบโจทย์โลกที่เปลี่ยนแปลงแล้วหรือไม่   ซึ่งการจะทำให้การศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เรื่องง่าย ตลอดการเดินทางที่สนใจเรื่องการศึกษา  มีคนพูดเรื่อยๆ ว่าปัญหานี้แก้ไม่ได้หรอก  ใครก็ตาม เพราะคุณไม่ใช่กระทรวงศึกษาธิการ  ไม่ใช่ผู้มีอำนาจ แต่ในความเห็นส่วนตัว แค่คิดอย่างนี้ก็ผิดแล้ว เพราะปัญหาการศึกษา เป็นปัญหาของทุกคน ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข  จากประสบการณ์เคยแลกเปลี่ยนกับหลายองค์กรเอกชนนที่เข้าไปทำงานการศึกษา พบว่าปัญหาเยอะ  มีความซับซ้อน มีหลายมิติ ไม่สามารถกินยาเม็ดเดียวแล้วหายได้  ต้องแก้จากหลายภาคส่วน  และแต่ละพื้นที่ก็ยังมีปัญหาไม่เหมือนด้วย  อีกทั้ง ปัจจุบันการศึกษากับการเรียนรู้แยกไม่ออกจากกัน พ่อแม่ ก็จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ดังนั้น ปัญหาการศึกษาจึงไม่ใช่ของรัฐบาล หรือโยนภาระให้กับโรงเรียน แต่ต้องแก้โดยอาศัยพลังหลายภาคส่วนร่วมกันทุกเครือข่าย


“ผมคิดว่าปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่ไม่มีทางออก แม้จะมีแสงเล็กๆเกิดขึ้นที่ปลายอุโมงค์ แต่เชื่อว่าพอผ่านไปหลายๆปี แสงสว่างนี้ก็จะใหญ่ขึ้น”สราวุฒิกล่าว

การตั้งเวลาไว้ 5ปี ของการร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทย สราวุฒิ บอกว่า เป็นแค่เบื้องต้นของก้าวแรก แม้จะเป็นก้าวยาวๆ  เพราะเชื่อว่าการพัฒนาการศึกษาไทยให้ดีขึ้น จะไม่เกิดในระยะเวลาสั้นๆแน่  แต่ใน 5ปีนี้่ ก็ตั้งเป้าที่เป็นกรอบกว้างๆ ไว้ โดยคาดหวังสร้างการพัฒนาศักยภาพครูให้ได้ 500 คน พัฒนาคุณภาพ นักเรียน 100,00 คน  และพัฒนาคุณภาพการเรียนให้ได้  100 โรงเรียน ตลอดจนทำงานร่วมชุมชน  100 แห่ง

“ซึ่งหลังจากจบ 5ปี แล้ว คาดว่าจะเห็นเส้นทางเดินที่ชัดเจน  ว่าเราจะทำกี่โครงการ และไม่คิดการศึกษาไทยขึ้นอันดับ 1 ระหว่างทางเป็นคำตอบที่สองของเรา ว่าจะทำโครงการอะไรต่อไป “

เมือถามถึงงบประมาณที่ใช้ สราวุฒิ บอกว่า  เมื่อ 10 ปี ที่แล้วตนเองเคยคิดว่า ถ้าจะแก้ปัญหาการศึกษาต้องใช้เงินเท่าไหร่   แต่พอผ่านไปสักพักกลับเริ่มคิดได้ว่า เงินไม่มีความหมาย ไม่ใช่ปัจจัยหลักของการแก้ปัญหา เพราะถ้าคิดว่าการทำให้การศึกษาดี หมายถึงทำให้โรงเรียนขนาดใหญ่โต มีจอ มีแท็บเล็ตให้เด็กทุกคน แล้วจะช่วยการศึกษาดีขึ้น  ยังเป็นปริศนาที่รอคำตอบ อย่างไรก็ตาม แต่สำหรับ กรอบงบประมาณที่TCP เข้าไปสนับสนุน  2โครงการ เริ่มจาก 30 ล้านบาท และยังไม่มีการตั้งกรอบเพดานวงเงินว่าเท่าไหร่ เพราะอยากทำให้เป็นโจทย์ย้อนกลับ อะไรที่น่าทำก็จะทำ แม้ตัวเลขงบฯจะเพิ่มต่อไป หรือต่อปีอาจจะเป็นร้อยล้าน ถ้าเป็นโครงการดีมากๆ ก็พร้อมจะ สเกลอัพ งบประมาณของโครงการได้ตลอดเวลา


“เราพร้อมที่จะร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในการเปลี่ยนแปลงการศึกษา และพร้อมที่จะก็อปปี้ โครงการอื่นๆ โดยจะพูดขอตรงๆ หากโครงการนั้นดีมากๆ หรือเอกชนรายใด จะทำเหมือนกับที่ TCP ทำก็ไม่ว่า  เพราะไม่มีลิขสิทธิ์กันอยู่แล้ว  เนื่องจาก เชื่อว่าพวกเราอยู่บนพื้นฐานความตั้งใจเดียวกัน คือต้องการให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับเยาวขนหรือนักเรียนไทย”สราวุฒิทิ้งท้าย

รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี


รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การ่วมมือกับTCP มี 2 เป้าหมายใหญ่ คือ ร่วมขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้ได้ ทั้งหลักสูตร องค์ความรู้ การพัฒนาบุคคลากรทีเกี่ยวข้อง 2. หวังกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ จะไปลดการเหลื่อมล้ำการศึกษาให้ได้   ส่วนโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ที่นำร่อง 12 โรงเรียน มุ่งเน้นการทำงานกับครู เพราะครูเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งหลักสูตร การเรียนการสอน    เป็นกุญแจขับเคลื่อนสร้างห้องเรียนที่มีความหมายและมีความสุข


โดย3 ปีแรก รร.ปล่อยแสง จะมี 4ยุทธศาสตร์ คือ 1 การสร้างผลิตองค์ความรู้ ค้นหาวิธีการแนวทางจัดการศึกษาบนฐานสมรรถนะ สร้างหลักสูตร วิธีการสอน ให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ หรือเกิดความรู้ทักษะ ใช้ในชีวิตจริงได้ 2. มีซีรีส์ ชุดพัฒนาคุณครู หลายสิบเวิร์กช้อป โดยเชื่อว่า ครูทั่วประเทศกำลังอยู่ในภาวะเบิร์นเอาท์ ท้อแท้จากระบบ ซึ่งจะไปบดบังคุณค่าเดิมที่อยากเป็นครูตั้งแต่ต้น ซึ่งเราต้องต้องการหนุนเสริมให้กำลังใจ เพื่อให้คุณครูทบทวนตัวเอง  ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันครูเดินหน้าต่อไป  หลังจากนั้นค่อยมาพัฒนาเพิ่มศักยภาพครู แบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง เพราะศาสตร์ความรู้ เปลี่ยนไปมาก ทำให้ต้องใช้สื่อการสอนใหม่ๆ เช่น บอร์ดเกม เป็นสื่อการเรียนที่ดี วิชาโค้ชชิ่ง ครูอำนวยการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน และนำพาครูออกแบบจัดการห้องเรียนแบบใหม่ ทำให้ห้องเรียนสนุก และมีความหมาย เรียกว่าเป็นติดอาวุธทางความคิดและความสามารถของครู ไปอยู่กับผู้เรียน ซึ่งจะเป็นจุดต่อยอดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญมาก  

“ยิ่งสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดต่ำมาก ดังนั้น เราจึงไม่ควรสูญเสียเด็กสักคน ไปจากระบบการศึกษา ซึ่งพวกเขาจะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในวันข้างหน้า เป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศชาติ เราจึงต้องให้ความสำคัญกับพวกเขา และต้องพัฒนาระบบการศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง”รศ.ดร.อนุชาติ กล่าว

ดร.ไกรยศ ภัทราวาท


ด้าน ดร. ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ให้ความเห็นว่า การะบาดของโควิด19 ได้ทำให้เด็ก43,000 คนหลุดนอกระบบการศึกษา และสถานการณ์มีแนวโน้มวิกฤตขึ้น  และหากประมาณการจากข้อมูลนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ จะมีเด็กๆ ถึง 1.9 ล้านคนที่กำลังเผชิญความเสี่ยงเดียวกัน จากการทำงานของกสศ.ที่เข้าไปเยี่ยมเด็กทุกบ้าน พบว่ายังมีเด็กไทยที่มีศักยภาพสูงที่จะต่อยอพัฒนา มีโอกาสที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้นำในสังคม แต่กลับไม่มีโอกาส หรือที่เรียกว่าเป็น The lost Einstein   ให้มามีโอกาสทางการศึกษาอีกครั้ง

“การทำงานร่วมของกสศ.กับ TCP ถือว่าทำให้เกิดนวัตกรรมทางสังคม ในเรื่องของการให้ทุนการศึกษาโดยเฉพาะการให้ทุนการศึกษาของภาคเอกชน  ที่ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นทุน มีการใช้ดาต้าข้อมูลของรัฐในการค้นหาและติดตามเด็กที่ไม่ได้รับโอกาส ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบการให้ทุน และสร้างโอกาสทางการศึกษาแบบใหม่ อย่างที่ผมพูดว่าคนแบบThe lost Einstein  ไม่ควรเสียโอกาสในชีวิต ซึ่งการร่วมมือนี้จะมาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ให้เป็นรูปธรรม  “ดร.ไกรยศกล่าว
 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯตื่น! สั่ง'กสศ.' อัดฉีดเงินช่วยเหลือเด็กนักเรียนหลุดจากระบบ

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคั

'ดร.เอ้' ยก 'ลอว์เรนซ์ หว่อง' แนะ ผู้นำไทย ควรเรียนรู้จากสิงคโปร์ เร่งทำ 4 เรื่อง

ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่อง "ผู้นำไทย ควรเรียนรู้จากสิงคโปร์" มีเนื้อหาดังนี้