‘จุรินทร์’ สั่งด่วนจ่ายส่วนต่างให้ชาวนา ‘มัลลิกา’ เผย ธ.ก.ส.เตรียมโอนงวดแรก 9 พ.ย.นี้ หลังรายงาน ครม.เรื่องงบประมาณแล้ว
5 พ.ย.2564 – นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามการแก้ไขปัญหาราคาข้าวอย่างใกล้ชิด และหลังการรายงานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พ.ย.ไปแล้ว นายจุรินทร์ได้ติดตามกระบวนการทำงานของระบบราชการเกี่ยวกับเงินงวดแรกของโครงการประกันรายได้เกษตรกร ในสถานการณ์ราคาข้าวปัจจุบัน โดยนายจุรินทร์ได้รับรายงานจากกรมการค้าภายใน
โดยนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ระบุว่า คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้ออกประกาศคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ การดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และเพื่อให้การดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 ตามนโยบายที่ประกาศต่อรัฐสภาซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้สูงขึ้น
คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้มีมติ ในคราวประชุม ครั้งที่ 23/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เห็นชอบการกำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 หรือ งวดที่ 1 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่างให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ที่ระบุวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2564 สำหรับข้าวเปลือกชนิดต่าง ๆ ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 10,864.23 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 4,135.77 บาท, ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 10,407.75 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 3,595.25 บาท, ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 9,947.87 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 1,052.13 บาท, ข้าวเปลือกเจ้า 8,065.38 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 1,934.62 บาท และข้าวเปลือกเหนียว 7,662.53 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 4,337.47 บาท
สำหรับการโอนเงินส่วนต่างงวดแรกตามโครงการประกันรายได้ปี 2564/65 กลไกต่อไป จะเป็นงานในหน้าที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการจ่ายเงินส่วนต่าง ซึ่งตามกฏหมายต้องจ่ายภายในสามวันหลังอนุกรรมการประกาศราคาอ้างอิง ซึ่งก็ประกาศวันที่ 4 พฤศจิกายน เพราะมีข้อทางเทคนิคที่ต้องรายงาน ครม. ได้รับทราบผลการหารือเกี่ยวกับอัตราต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส. ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และ ธ.ก.ส. ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ซึ่งกรมการค้าภายในได้จัดให้ทำการหารือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 และจะได้นำเสนอในการประชุม ครม. เพื่อรับทราบแล้ววานนี้ตามที่กล่าว
“เมื่อประกาศลงวันที่ 4 พฤศจิกายน ต้องให้เวลาเจ้าหน้าที่ธนาคาร ธ.ก.ส.ดำเนินการระบบการโอนเงินด้วย วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ 5 แล้วติดเสาร์-อาทิตย์ ดังนั้นจึงตรวจสอบเบื้องต้นจาก ธ.ก.ส.เพื่อให้พี่น้องประชาชนชาวนาได้สบายใจทางธนาคารแจ้งว่า จะสามารถโอนได้วันที่ 9 พ.ย.2564 นี้ ซึ่งก็ไม่เกินจากวันที่ประกาศกำหนดไว้ ด้วยความห่วงใยจากรัฐบาล และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จุรินทร์” นางมัลลิกา ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงเกษตรฯ เคาะช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่! วงเงิน 3.8 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรณีมติของที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตครั้งที่
โฆษก กษ. เผยข่าวดี! ปรับเงินช่วยชาวนาเป็น 1000 บาทต่อไร่แล้ว
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยผลประ
ชาวนาเฮ! รัฐบาลเคาะแจกไร่ละ 1 พันบาท เล็งปรับโครงสร้างเกษตรทั้งระบบ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันนี้ เห็นชอบหลักการช่วยเหลือเกษตรกร ผ่านโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท
ชาวนารับจ้างอัดก้อนฟางข้าว โกยรายได้งามช่วงหาซื้อยาก ราคาแพง
ชาวนาที่ จ.บุรีรัมย์ นำรถไถนาขนาดใหญ่ มาดัดแปลงติดตั้งเครื่องอัดฟาง ออกบริการรับจ้างอัดก้อนฟางข้าว จากชาวนาเพื่อนบ้าน
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ
ชาวนาเฮ! กนช. เตรียมประกาศพื้นที่ทำนาปรังรวม 12 ล้านไร่ เกษตรกรได้ปลูกข้าวเพิ่ม
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 5/2567