'จุฬาฯ'คิดค้นนวัตกรรมน้ํายาฆ่าเชื้อโควิดใน 1 นาที

มีคุณสมบัติดีกว่าแอลกอฮอล์ ใช้ฉีดพ่นไม่ระคายเคืองผิว หรือทำให้ผิวแห้ง จดสิทธิบัตรชาติแล้ว

4พ.ย.2564- ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อํานวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะ หัวหน้าหน่วยวิจัย Nanomedicine Research Unit จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ผศ.ดร.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จับมือร่วมกันคิดค้น ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ํายาฆ่าเชื้อจุลชีพก่อโรค Medical Antiseptic and Moisturizing Spray นวัตกรรมน้ํายาฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ผลการทดสอบการฆ่าเชื้อโควิด-19 พบว่า สามารถฆ่าเชื้อตายภายใน 1 นาทีพร้อมทั้งได้รับคัดเลือกให้เป็นนวัตกรรมเพื่อสุขภาพเป็นของที่ระลึก ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 หรือ Thailand Research Expo 2021 และได้รับการจดแจ้งสิทธิบัตรระดับชาติแล้ว


ผศ.ดร.โรจน์ฤทธิ์ กล่าวว่าการล้างมือด้วย แอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันโควิด 19 ที่ใช้อย่างแพร่หลาย ทดแทนการล้างมือด้วยน้ําและสบู่ แต่แอลกอฮอล์ที่นิยมใช้เป็นองค์ประกอบหลักคือ เอทานอล (Ethanol หรือ Ethyl alcohol) มีคุณสมบัติ เป็นสารทําให้เกิดการคายน้ํา เมื่อใช้เป็นเวลานาน จะทําให้เกิดการระคายเคืองผิวแห้งแตก และหยาบกระด้าง จึงเกิดแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ํายากําจัดเชื้อจุลชีพก่อโรคที่ปราศจากแอลกอฮอล์แต่ยังคงมีประสิทธิภาพในการกําจัดเชื้อจุลชีพก่อโรค จึงเป็นที่มาของการพัฒนาน้ํายาฆ่าเชื้อจุลชีพก่อโรค Medical Antiseptic and Moisturizing Spray ขึ้น
น้ํายาฆ่าเชื้อจุลชีพก่อโรคที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นน้ํายาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ ไม่ก่อให้เกิดการติดไฟเป็นน้ํายาฆ่าเชื้อแบบสัมผัสผิวหนังได้ สูตรละลายน้ํา กลิ่นหอม ผ่านการทดสอบ พบว่าไม่เกิดการระคายเคืองต่อผิว มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้ดี และจากผลการทดสอบการฆ่าเชื้อโควิด-19 พบว่า สามารถฆ่าเชื้อภายใน 1 นาที โดยโครงการการวิจัยนวัตกรรมนี้ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสูตรน้ํายาฆ่าเชื้อจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คณะผู้วิจัย จึงได้จดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิบัตรระดับชาติ และอยู่ในระหว่างการดําเนินการทําการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์จํากัด เพื่อนําไปจัดจําหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไปได้
“น้ํายาฆ่าเชื้อนี้อยู่ในรูปแบบสเปรย์ ใช้พ่นผิวกายและบริเวณอื่นๆ ที่ต้องการ โดยจะให้ความชุ่มชื้น และทําความสะอาดโดยไม่ต้องล้างน้ําออก สามารถพ่นซ้ําๆ ได้ทุก 4 ชั่วโมง แต่ให้หลีกเลี่ยงการพ่นบริเวณดวงตา เยื่อบุผิวช่องปากและจมูก โดยสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานถึง 2 ปี ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่Line: @cmic.chula”ผศ.ดร.โรจฤทธิ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ ปักธงยุทธศาสตร์ปี 68 ดันสยาม-บรรทัดทอง สู่พื้นที่สร้างโอกาสให้คนไทยทุกคน

ถ้าใครมีโอกาสแวะมาเดิน Siam Square ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ อาจจะแปลกใจ ที่สยามสแควร์ไม่ใช่เป็นเพียงพื้นที่สำหรับนักช็อป หรือวัยรุ่นที่มาเปิดหมวกร้องเพลงเท่านั้น

จุฬาฯ จับมือกรม Climate Change และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน เปิดตัวหลักสูตร “TOP Green” หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้าน Sustainability

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ UN Global Compact Network Thailand

จุฬาฯ “เปิดแพลตฟอร์ม ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมเตือนพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 25 เรื่อง “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” เพื่อนำเสนอนวัตกรรมจากคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ