กรมอุตุฯ เตือนลมหนาวระลอกใหม่กำลังแรง อุณหภูมิลด 2-4 องศา อีสานหนาวสุด

3 พ.ย.2564 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้าระบุว่า ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งของประเทศมาเลเซียจะเคลื่อนลงช่องแคบมะละกา ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ส่วนในวันที่ 7-9 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมแรงในระยะแรก หลังจากนั้นอุณภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส และมีอากาศเย็นโดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้ผลกระทบในระยะต่อไปโดยอุณภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส

ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ตลอดช่วง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. 64 มีฝน ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่

หลังจากนั้นในวันที่ 9 พ.ย.64 อุณภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 3 – 6 พ.ย. 64 มีฝน ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมแรง

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 9 พ.ย.64 อุณภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส มีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. 64 มีฝน ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 8 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่กับมีลมแรง

หลังจากนั้นในวันที่ 9 พ.ย.64 อุณภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-6 พ.ย. 64 มีฝน ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมแรง

หลังจากนั้นในวันที่ 9 พ.ย. 64 อุณภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 3 – 6 พ.ย. 64 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตรตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วน

ในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. 64 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 19-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 3 – 6 พ.ย. 64 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. 64 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 3-6 พ.ย. 64 มีฝน ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมแรง หลังจากนั้นในวันที่ 9 พ.ย. 64 อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ เตือนไทยตอนบนรับมือพายุฤดูร้อน ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ 

ผวาอีก! กรมอุตุฯ แจ้งแผ่นดินไหวที่อ.ปาย กลางดึกเมื่อคืนที่ผ่านมา

แผ่นดินไหวขนาด 2.0 เกิดขึ้นที่อำเภอปาย แม่ฮ่องสอน เมื่อกลางดึก ทำให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน แต่ยังไม่มีรายงานความเสียหาย กรมอุตุฯ ยืนยันเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดเล็กแต่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อไป

พายุฤดูร้อนถล่มไทย! เตือนภัยฝนฟ้าคะนอง-ลูกเห็บตกหลายพื้นที่

กรมอุตุฯ เตือนทั่วไทยเผชิญพายุฤดูร้อนจากอากาศร้อนจัด และมวลอากาศเย็นจากจีน พยากรณ์ 24 ชั่วโมงข้างหน้า เสี่ยงพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกหลายจังหวัดเกษตรกร-ประชาชนโปรดระวังความเสียหาย พร้อมติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด

กรมอุตุฯ เตือนอากาศร้อนจัดทั่วไทย ภาคอีสาน-ตะวันออก เสี่ยงพายุฝนฟ้าคะนอง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า เผยทั่วประเทศเผชิญสภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดแตะ 40 องศาฯ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่

แผ่นดินไหวรุนแรงเขย่าเมียนมา เกิดอาฟเตอร์ช็อกแล้ว 9 ครั้ง

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.1 เมื่อเวลา 13.32 น. วันที่ 28 มีนาคม 2568 จุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมา แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในหลายจังหวัดของไทย

แผ่นดินไหวรุนแรง ขนาด 7.4 จุดศูนย์กลางในเมียนมา สั่นสะเทือนทั่วไทย

กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศแจ้งว่าเมื่อเวลา 13.20 น. เกิดแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเมียนมา ที่ละติจูด 21.682 องศาเหนือ ลองติจูด 96.121 องศาตะวันออก ขนาด 7.4 ความลึก 10 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน