'บิ๊กป้อม'ห่วงน้ำท่วมขังเสีย สั่งเตรียมรับมือฤดูฝนภาคใต้ เร่งวางแผน แก้น้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซาก


'พล.อ.ประวิตร' ประชุมสทนช. ห่วงน้ำท่วมขังเสีย สั่งเตรียมรับมือฤดูฝนภาคใต้ และเร่งวางแผนแก้น้ำเค็ม น้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซาก

29 ต.ค.2564 -พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุม คณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2/64 ณ ห้องประชุม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อเตรียมรับมือฤดูฝนภาคใต้ รวมทั้งติดตามบริหารจัดการสถานการณ์ท่วมและน้ำแล้งในภาพรวม ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์สภาพอากาศ รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำปัจจุบัน ในพื้นที่ลุ่มต่ำ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ - กลาง และเขื่อนระบายน้ำ ซึ่งในภาพรวมยังสามารถควบคุมได้ โดยมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่งที่ต้องเฝ้าระวัง

สำหรับการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่สำคัญทั่วประเทศ ระหว่าง ต.ค.- ธ.ค.64 มีแนวโน้มลดลง เว้นภาคใต้ มีพื้นที่เสี่ยงเพิ่มขึ้นจากฤดูฝนที่กำลังมาถึง โดยมีโอกาสสูงในการเกิดพายุเคลื่อนผ่านภาคใต้ มีพื้นที่เสี่ยง 725 ตำบล 43,495 หมู่บ้านใน 16 จังหวัด ทุกหน่วยงานได้เตรียมความพร้อมรับมือกับอุทกภัย โดยได้ขุดลอกคูคลอง กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ทำพนังกั้นน้ำและก่อสร้างทางระบายน้ำไปยังพื้นที่รับน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

สำหรับการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ได้พิจารณาวางแผนจากการคาดการณ์น้ำต้นทุน ปริมาณการใช้น้ำและพื้นที่เสี่ยงน้ำแล้ง พบความเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคใน 5 จังหวัด 9 อำเภอ 25 ตำบล มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำแล้งด้านการเกษตร นอกเขตชลประทาน 11 จังหวัดซึ่งอยู่ระหว่างเร่งกำหนดมาตรการรองรับ ทั้งการเก็บกักน้ำ จัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยง การเติมน้ำ การจัดสรรน้ำฤดูแล้ง การวางแผนเพาะปลูกพืช การเตรียมน้ำสำรองในพื้นที่ลุ่มต่ำ การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ รวมทั้งการติดตามประเมินผล

พล.อ.ประวิตร แสดงความห่วงใยถึงประชาชนที่ยังได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยกำชับ สทนช.บูรณาการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน ยังคงต้องติดตามสถานการณ์สภาพอากาศที่อาจพัฒนาก่อตัวเป็นพายุซ้ำเติมพื้นที่น้ำท่วมเดิม พร้อมทั้งให้เร่งระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมขังเข้าแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลำน้ำสายหลักตามแผนและสถานการณ์

ทั้งนี้ให้นำจุลินทรีย์มาใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำในพื้นที่ท่วมขังนานและเกิดการเน่าเสียหวั่นกระทบสร้างปัญหาโรคระบาด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ขอให้ทบทวนปรับปรุงและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุร่วมกัน และให้ตรวจสอบระบบเตือนภัยให้สามารถแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมที่เคยเกิดปัญหา เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น

สำหรับการบริหารจัดการน้ำแล้ง ขอให้ สทนช.กำหนดมาตรการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผน ทั้งน้ำอุปโภค บริโภค น้ำการเกษตร และด้านคุณภาพน้ำ โดยเฉพาะความเค็มปนเปื้อนสูงในบางช่วงเวลา รวมทั้งรณรงค์ส่งเสริมการประหยัดน้ำทุกภาคส่วน และให้ประสาน กษ.และ GIDTDA จัดให้มีการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกแบบแผนที่และลงทะเบียนพื้นที่เพาะปลูกล่วงหน้า พร้อมทั้งให้มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนไปพร้อมกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 8 เตือนเหนืออากาศแปรปรวน-ใต้ฝนตกหนัก

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง

อุตุฯ เตือนใต้ฝนตกหนัก เหนืออากาศเย็นอุณหภูมิลด 1-2 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน

นายกฯ สั่งส่วนราชการเก็บรายละเอียดช่วยเหลือประชาชนต่อไป แม้จะคืนพื้นที่น้ำท่วมแล้ว

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ส่วนราชการในพื้นที่ ศปช.ส่วนหน้า แม้จะปิดไปแล้ว แต่ขอให้ส่วนราชการในพื้นที่ประจำ

ศปช. เตือน 10 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วม-ดินโคลนถล่มจากฝนตกหนัก

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 2 - 5 พ.ย. 67 จะมีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ ที่ประชุม ศปช.

ดั๊บเบิ้ล เอ ส่งใจให้กัน สนับสนุนการช่วยเหลือฟื้นฟูอุทกภัย

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เป็นตัวแทนมอบผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย Double A Care ให้กับมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ภายใต้โครงการ