เมื่อปีที่แล้ว”ยูเนสโก”ได้ประกาศให้จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลก ประจำปี 2564 ในสาขาเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร เพราะมีเมนูเลิศรส จากวัตถุดิบในท้องถิ่น ทั้งอาหารคาวและขนมหวาน ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทะเลหัวหิน ชะอำ หาดเจ้าสำราญ เขาวัง ประวัติศาสตร์ วัดวาอารามอีกมากมาย
ความน่าสนใจของเพชรบุรียังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ได้พาไปท่องประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตชาวตลาดริมน้ำ ชมศิลปะอันงดงามของฝีมือสกุลช่างเมืองเพชรในการทำประติมากรรมวัด หรือจิตรกรรมฝาพนังที่ไม่เหมือนใคร และสัมผัสมรดกทางภูมิปัญญาหนังใหญ่ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
ท้องฟ้าโปร่งมีแดดอ่อนๆอากาศกำลังดีๆ เราก็ประเดิมด้วยการเดินตลาดเก่าริมน้ำเพชรบุรี ซึ่งในอดีตถือเป็นย่านการค้าขายริมแม่น้ำที่สำคัญ และยังเคยเกิดเหตุไฟไหม้ใหญ่ขึ้นที่ตลาดถึง 2 ครั้ง ทำให้การมีเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเรื่องการคมนาคมทางบก ทำให้การขนส่งทางน้ำซบเซาลง หรือแทบจะพบได้น้อยมาก รูปแบบตึกอาคาร ร้านค้าที่เสียหายจากไฟไหม้ก็มีการสร้างขึ้นเป็นอาคารพาณิชย์สมัยใหม่ แต่ก็มีบางส่วนที่ยังเป็นอาคารดั้งเดิม
ตลาดแห่งนี้เราขอแบ่งเอง ตามความคิดที่ได้สัมผัสออกเป็น 2 โซน คือ ฝั่งที่เป็นตลาดใหม่ขายของสด อาหาร ผักผลไม้ต่างๆ ผู้คนเดินกันขวักไขว่ รถเล็กรถใหญ่ก็ขับผ่านตลาดให้วุ่นเป็นอีกหนึ่งสีสันที่สนุกดี แต่มุมสโลว์ไลฟ์ก็มีนะ เดินข้ามฟากมาลซอยชุมชนตลาดเก่าริมน้ำ หรือย่านตลาดจีน ที่มีร้านค้า อาคารดั้งเดิมให้เห็นสลับกับตึกใหม่บ้าง ซอยนี้จึงเปรียบเหมือนไชน่าทาวน์เพชรบุรีเลยก็ว่าได้ จุดไฮไลท์ ศาลเจ้าพ่อบุนเถ่ากง หรือ ศาลเจ้าสำเพ็ง เป็นศูนย์ร่วมใจของชาวจีน ซึ่งทำหน้าคอยดูแลผู้อยู่อาศัยในแถบนี้ โดยศาลเจ้ามีการย้ายไปอยู่ด้านบนตึกเนื่องจากเหตุไฟไหม้ เปิดให้สักการะเฉพาะวันพระจีน เวลา 09.00-12.00 น.
เดินเล่นเพลินๆชมสตรีทอาร์ตในตรอก ภาพวาดที่ถูกวาดลงบนกำแพงร้านค้า บ้านเรือน บ่งบอกเรื่องราวของชุมชน อาทิ สัตว์ที่อาศัยอยู่ในตรอกไม่ว่าจะเป็นแมว หรือสุนัขในอริยบทต่างๆ การเชิดสิ่งโต ภาพบรรยากาศริมน้ำเพชรบุรีในอดีต สลับกับวิถีการค้าเสื้อผ้านักเรียน เครื่องใช้ในบ้าน และต้องลองร้านข้าวแช่ สูตรดั้งเดิม ของขึ้นชื่อที่มาเมืองเพชรต้องห้ามพลาด
จากตลาดข้ามสะพานจอมเกล้าไปฝั่งชุมชนคลองกระแชง จุดหมายที่วัดพลับพลาชัย สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ที่เรามาวัดแห่งนี้เพราะมีความสำคัญกับมรดกทางภูมิปัญญาหนังใหญ่ โดยหลวงพ่อฤทธิ์ อดีตเจ้าอาวาส ได้อนุรักษ์สืบทอดซึ่งมีการแกะสลักหนังใหญ่ไว้กว่า 200 ตัว แต่ก็ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ และบางส่วนถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพฯ จึงเหลือเพียง 32 ตัว ปัจจุบันนำมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ภายในวิหารคันธารราฐ ส่วนใหญ่เป็นตัวละครเอกในวรรณกรรมรามเกียรติ อาทิ หนุมานตอนไปเก็บใบยา ทศกัณฑ์-นางมณโฑ พระราม นางสีดา เรือนไม้ด้านข้างยังเป็นที่เก็บรักษาหนังครูพ่อแก่ ซึ่งคาดว่าผู้แกะสลักนั้น คือ หลวงพ่อฤทธฺ์ เพราะต้องทำให้เสร็จในวันเดียว ถือศีล และแกะบนหนังเสือ ที่ยังคงอยู่ในสภาพดี และเป็นที่เคารพของผู้ทำการแสดงหนังใหญ่ด้วย
มาที่วัดมหาธาตุวรวิหาร ที่เราจะได้เห็นประติมากรรมของสกุลช่างเพชรบุรี โดยในพระอุโบสถนี้หากเราสังเกตุพระพุทธรูป 2 องค์เบื้องหน้าพระประธาน จะเห็นฝีมือของช่างสมัยอยูธยาในการสร้างพระที่มีเอกลักษณ์คือ ใบหน้าขรึม ไม่แย้มพระโอษฐ์ สันจมูกโด่งชัดเจน พระอุระใหญ่ มีพระถัน ส่วนพระปรางค์ เนื่องจากช่างคอยบูรณะซ่อมแซมอยู่ตลอด ก็จะมีการใช้ภูมิปัญญาทำปูนปั้น ที่มีส่วนผสมกับน้ำตาลโตนดตำให้ละเอียด จึงทำให้พระปรางค์สีไม่ขาวล้วน ลวดลายจะเป็นไปตามฝีมือเชิงช่างอาจจะไม่ละเอียดมากนัก แต่มีความลึกซึ้งในการบูรณะองค์พระปรางค์ให้คนเข้าใจง่าย ทั้งการแบ่งชั้น มีการสร้างพระปรางค์ประจำทิศ เพื่อสื่อถึงเขาพระสุเมรุได้ชัดเจนขึ้น
ล้อหมุนไปต่อไปที่วัดเกาะแก้วสุทธาราม ชาวบ้านเรียก วัดเกาะ ดูภายนอกเหมือนวัดทั่วไป แต่มีความพิเศษซ้อนอยู่ในโบสถ์ วัดแห่งนี้มีการพบจากรึกในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปีพ.ศ.2277 ทำให้ในสมัยนั้นสกุลช่างเมืองเพชรได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมทางอยุธยา ทั้งพระประธาน จิตรกรรมพนังและเพดานในโบสถ์จึงเป็นศิลปะสุดคลาสสิกของช่างเมืองนี้เลย
โดยจุดเด่นของจิตรกรรมพนังวัดนี้ คือ มีการวางองค์ประกอบ แบ่งกรอบของภาพคล้ายกับเจดีย์ 8 องค์ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนและมีมิติยิ่งขึ้น ตัวเจดีย์ตกแต่งด้วยลวดลายของผ้านุ่งของข้าราชการในราชสำนัก ภาพวาดในกรอบแต่ละเจดีย์ก็เป็นการเล่าเรื่องพระพุทธเจ้า ฝั่งซ้ายเกี่ยวการเผยแพร่ศาสนา ฝั่งขวาเป็นภาพ 7 สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ส่วนภาพด้านหลังพระประธานเกี่ยวพระพุทธเจ้าผจญพญามารจำนวนมากที่สุด เบื้องหน้าเป็นจิตรกรรมที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดสุดสร้างสรรค์ของช่างในการวาดภาพซ้อนเรื่องกัน คือ เรื่องสัตตมหาบริภัณฑ์ ในพระพุทธศาสนา ซ้อนด้วยเรื่องพุทธเจ้าโปรดพระมารดา ส่วนภาพเพดานนั้นเป็นสัตว์หิมพานต่างๆตามคติมงคลอีกด้วย
จุดหมายสุดท้ายที่วัดท่าคอย จุดสำคัญ คือ อุโบสถเก่าแก่ทรงฐานเรือสำเภา สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สันนิษฐานว่าอายุ 500-600 ปี แต่อีกจุดที่เป็นไฮไลท์เหมือนกัน คือจิตรกรรมเพดานทั้ง 4 ภาพที่ศาลาการเปรียญ สิ่งที่หลงเหลืออยู่จากการบูรณะ โดยภาพสื่อถึงคติไตรภูมิเกี่ยวกับเทพและสัตว์มงคลที่เป็นปริศนาธรรม ซึ่งช่างเพชรบุรีมีการใช้เทคนิคสีเหลื่อมเพื่อให้ภาพมีมิติ และการนอนวาด
ภาพแรกเรียงจากธรรมมาสน์ คือภาพนกหัสดีลิงค์ตัวใหญ่จับนางอัปสรถือเครื่องดนตรีบรรเลงเพลง และนกอีกตัวจับมนุษย์ธรรมดา อาจจะหมายถึงเมื่อมนุษย์มาฟังเทศน์ หรือทำบุญก็จะได้ขึ้นสวรรค์ ถัดมาเป็นภาพกระต่าย ล้อมรอบด้วยดวงดาว และผลไม้มงคล อีกภาพคือ เทพเทียมรถด้วยม้าก็หมายถึงพระจันทร์ แต่จะล้อมรอบด้วยสัตว์ชั้นสูง และภาพสุดท้าย คือนกยูง ที่หมายถึงพระอาทิตย์ โดยรอบมีรามศูร นางมณีเมขลา และค้างคาว ซึ่งสื่อถึงความเป็นมงคลสูงสุด
การเดินครั้งนี้ทำให้เราเห็นถึงความชำนาญในฝีมือและความปราณีตในการรังสรรค์งานงานจิตรกรรมและประติมากรรมของช่างสกุลเมืองเเพชร ที่ใส่ใจในทุกขั้นตอน นับเป็นอาหารตา ที่มีคุณค่าทางจิตใจเลยทีเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชัดๆ จาก..พล.อ.สมเจตน์ ไม่มีรัฐประหารแล้ว..จริงหรือ? | ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร
ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร : วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567
สกัดระบอบทักษิณ I ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567
จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม ชมศิลปะกลางทุ่งถิ่นอีสาน
เปิดประตูต้อนรับคนรักงานศิลป์และดื่มด่ำธรรมชาติท่ามกลางสายลมหนาวและทุ่งนากว้างใหญ่บนพื้นที่กว่า 600 ไร่ ปีนี้จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม ถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งความเป็นอีสานผ่านหลากหลายผลงานจากศิลปินชื่อดังที่มาร่วมจัดแสดงและรังสรรค์กิจกรรมธีม “อีสานเอิ้นหา” (Isan Calling)
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตรงานกุหลาบรวมน้ำใจ เทิดไท้องค์ราชัน
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรการจัดแสดงกุหลาบเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในงานกุหลาบรวมน้ำใจ
การถ่ายทอดสด รัฐบาลแถลงผลงาน รอบ 3 เดือน
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงานกาชาดปี 2567
11 ธ.ค. 2567 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานกาชาดประจำปี 2567 ภายใต้