ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร 'อยุธยาเมืองท่าแห่งอุษาคเนย์'

ตำรับอาหารอยุุธยา

จังหวัดอยุธยา หรือชื่อเต็มว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองหลวงในอดีตของราชอาณาจักรสยาม ซากปรักหักพังที่หลงเหลือในอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา  เป็นเครื่องยืนยันและเตือนใจว่าที่นี่เป็นรากฐานของคนไทยในปัจจุบัน เพราะมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา บางอย่างที่เห็นอยู่ในทุกวันนี้ ได้รับการถ่ายทอดส่งต่อมาจากสมัยอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรม ภาษาพูด องค์ความรู้ต่างๆ รวมทั้งอาหารการกิน คนกรุงเก่าหรือคนอยุธยา ได้นำติดตัวมายังสมัยรัตนโกสินทร์ และสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน

ในแง่การท่องเที่ยว แม้อยุธยา จะมีจุดเด่นของความเป็นอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก  แต่อีกสิ่งหนึ่งที่แฝงตัวในชีวิตประจำวันคนกรุงเก่านั้นก็คือ “อาหารการกิน” หรือที่เรียกว่า”อาหารไทยโบราณ” ซึ่งกลายเป็นสิ่งหายาก หาไม่ได้ในจังหวัดอื่นในประเทศไทย  ยังเป็นเสน่ห์ ที่เชิญชวนให้ผู้คนไปสัมผัสลิ้มลอง ซึ่งไม่ใช่เป็นแค่การสัมผัสแค่สายตาหรือการมองเห็นเท่านี้น  แต่เป็นการลิ้มรสอาหารโบราณเหล่านี้ด้วย

จากมุมมองดังกล่าว ทำให้มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ ได้ทำโครงการวิจัย พลิกฟื้นการท่องเที่ยวอาหารเชิงวัฒนธรรม หัวข้อ”อยุธยาเมืองท่าแห่งอุษาคเนย์” เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมอาหารอยุธยาเมืองท่าแห่งตะวันออก

อ.พรรณี  สวนเพลง

รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บอกเล่าที่มาของการวิจัยว่า โครงการวิจัยมีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเที่ยวด้านวัฒนธรรมอาหารของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้เป็นที่รู้จัก และรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจเรื่องอาหารการกิน  โดยนำอาหารไทยโบราณหาทานยากมาเป็นจุดขาย ผสมผสานกับการเรียนรู้เรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ผ่านการดำเนินโครงการ 2 ส่วนหลัก ได้แก่โครงการการค้นหาต้นแบบวัฒนธรรมอาหารและพัฒนาสำรับอาหารอยุธยาเมืองท่าแห่งตะวันออกที่มีตนเป็นหัวหน้าโครงการ โดยลงพื้นที่ศึกษาภูมิวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอาหารอยุธยา ถอดรหัสภูมิปัญญาสำรับอาหารอยุธยาและพัฒนาสำรับอาหารกรรมวิธีโบราณดั้งเดิม 5 ชนิด คือ ต้มยำน้ำข้น ทอดมันกุ้ง มัสมั่น ข้าวบุหรี่ (ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ) 

ขนมหินฝนทอง ขนมโบราณหากินยาก


มีไฮไลท์สำคัญที่จะต่อยอดส่งออกขายและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากชนิดใหม่ของพระนครศรีอยุธยา คือ “ขนมหินฝนทอง” ซึ่งเป็นขนมหวานหาทานยาก หน้าตาคล้ายกับหินฝนทองที่คนโบราณใช้ทดสอบทองคำว่าเป็นทองแท้หรือไม่ มีรสหวาน หอม ละมุนลิ้น คนโบราณนิยมพกติดตัวไปเวลาเดินทางไกลหรือเวลาออกรบ เพราะเก็บไว้รับประทานได้นาน 1-2 เดือน

และเมื่อเร็วๆนี้   คณะผู้วิจัยร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์จัดกิจกรรม “The Legendary Food Culture of Ayutthaya” วัฒนธรรมอาหารในตำนานศรีอโยธยาเมืองท่าแห่งอุษาคเนย์แผ่นดินทองแห่งความรุ่งเรืองบนรากฐานพหุวัฒนธรรมต้นตำรับสยาม “วิเทศศาสตร์ โภชนศิลป์”ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินโครงการวิจัย“การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมอาหารอยุธยาเมืองท่าแห่งตะวันออก” ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ(บพข.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโครงการวิจัย  หรือ อว.

ผู้ร่วมกิจกรรมหัดทำขนมหินฝนทอง

นอกจากนี้ ในการทำกิจกรรม ได้มีตัวแทนบริษัทนำเที่ยว อาทิ บริษัท เดสทิเนชั่น เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อยุธยา โบ๊ท แอนด์ ทราเวล จำกัด บริษัท Green Wood Travel Blogger Page หมีเป็ดและนักท่องเที่ยวทั่วไป ได้ร่วมกิจกรรมการทำขนมหินฝนทอง ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารอยุธยาเมืองท่าแห่งตะวันออก และนำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเสนอขายเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และสามารถนำไปสู่การสร้างกิจกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวหลังเปิดประเทศได้

ล่องเรือ

“ผลงานวิจัยนี้นับเป็นองค์ความรู้ที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่นำวัฒนธรรมอาหาร มาใช้ประโยชน์ถ่ายทอดสู่ชุมชน ก่อให้เกิดผลลัพธ์ การสร้างงาน สร้างอาชีพของคนในชุมชน และรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในยุควิถีชีวิตปกติใหม่ รวมถึงนำไปสู่การขยายผลและเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนและยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมาอาหารไทยสู่การเป็น ASEAN Gastronomy Region” รศ.ดร.พรรณีเน้นย้ำถึงประโยชน์โครงการวิจัย

ขณะที่โครงการ “การถอดรหัสภูมิปัญญาวัฒนธรรมและออกแบบพื้นที่เกี่ยวเนื่องวัฒนธรรมอาหารอยุธยาเมืองท่าแห่งตะวันออกเพื่อยกระดับสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” นำทีมโดย อ.อภิรดี อานมณี จากสถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งลงพื้นที่ศึกษาร่องรอยลักษณะทางกาย ภูมิสังคม วิถีชีวิตที่เชื่อมโยงกับการกินนำมาสู่การอนุรักษ์รูปแบบครัวโบราณ และพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมอาหาร รวมถึงส่งเสริมบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจถึงคุณค่าและกิจกรรมสร้างสรรค์  เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยายสามารถนำองค์ความรู้ด้านงานออกแบบไปประยุกต์ใช้ในการตกแต่งบรรยากาศโรงแรม ร้านอาหาร จะได้สะท้อนความเป็นความเป็นไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา  

มุมมองจากเอเจนซี่ทัวร์

คณะวิจัยได้จัดการทดสอบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมอาหารโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระนครศรีอยุธยานำทีมผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและตัวแทนบริษัทนำเที่ยวชั้น 10 แห่งร่วมลงพื้นที่ เพื่อจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เน้นเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติบนรูปแบบการท่องเที่ยววิถีใหม่    โดยคัดเลือกกิจกรรมในพื้นที่ที่มีศักยภาพและมีความโดดเด่นเชื่อมโยงกับเรื่องราวเชิงวัฒนธรรมอาหาร

เยี่ยมชมตลาดหัวรอ

กิจกรรมที่เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เข้าร่วม ที่น่าสนใจ ก็คือ เดินจ่ายตลาด ณ ตลาดหัวรอ  ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การเยี่ยมชมครัวโบราณบ้านเกาะเรียน   และเลือกซื้อขนมตระกูลทองบ้านป้ามะลิ   การรับประทานอาหารโบราณกรุงศรีอยุธยาที่ร้านครัวท่าหลวง การทำขนมหินฝนทอง และปิดท้ายด้วยการล่องเรือชมความงามรอบเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา

การไปเยือน”อยุธยา” ที่แสนจะใกล้กรุงเทพครั้งต่อไป เราอาจจะไม่ได้แค่ไปดื่มด่ำ เมืองในประวัติศาสตร์ ที่รำลึกถึงอดีตรากเหง้าคนไทยเท่านั้น แต่อาหารการกินของที่นี่ที่มีมาแต่โบราณหลายร้อยปี ก็จะทำให้เราได้ซาบซึ้งกับความเป็นไทยได้มากยิ่งขึ้น

การจัดกิจกรรมที่ศูนย์อยุธยาศึกษา
ภาพสเก็ตการพัฒนาพื้นที่ จำลองบรรยากาศการรับประทานอาหารแบบคหบดีในอดีต



เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระราชดำรัสการแก้ปัญหาประเทศสำเร็จด้วยงานวิจัย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปเป็นประธานพิธีเปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” หรือ Thailand Research Expo 2024 ซึ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โปรดเกล้าฯ องคมนตรี เชิญถุงพระราชทานช่วยน้ำท่วมแพร่

31 ส.ค.2567 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายนุรักษ์ มาประณีต องคมนตรี ร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 1,000 ถุง ไปมอบแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด

'ขบวนการแพทย์ชนบทไทย' คว้ารางวัลแมกไซไซ ปี67 ยกย่องแพทย์หนุ่มสาว เชื่อมั่นพลังปฏิรูประบบสุขภาพ

ขบวนการแพทย์ชนบท(RURAL DOCTORS MOVEMENT) คว้ารางวัลแมกไซไซ ประจำปี2567 ยกย่องชื่นชมแพทย์หนุ่มสาวที่ทำงานในชนบทมาร่วม 50 ปี และเชื่อมั่นเป็นพลังขับเคลื่อนปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนไทย ประสบผลสำเร็จ พร้อมขยายผลแลกเปลี่ยนเพื่อนบ้านอาเซียนที่มีวัฒนธรรมชุมชนเดียวกัน

อ่านอาเพศปชป.กับแนวโน้มอายุรัฐบาล

หลังจากได้รับเทียบเชิญจากพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ก็มีมติเข้าร่วมรัฐบาลไปเมื่อ 29 สิงหาคม 2567 ในแบบ ไม่มีมิตรแท้ หรือ ศัตรูถาวรทางการเมือง