‘อัษฎางค์’ ชี้องค์การนิสิตจุฬาใส่ร้ายพระเกี้ยว ถาม ’ผู้บริหาร-คณาจารย์’ นิ่งเฉยได้อย่างไร

‘อัษฎางค์’ ระบุองค์การนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บิดเบือนข้อเท็จจริงและใส่ร้ายพระเกี้ยว เท่ากับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการใส่ร้าย จี้ผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่า นิ่งเฉยหรือยอมรับการกระทำดังกล่าวอยู่ได้อย่างไร

25 ต.ค.2564- นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก “เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค” เรื่อง พระเกี้ยว (ตอนที่ 3)

“5 เรื่องราวของรัชกาลที่ 5” ผู้เปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียเทียบเคียงยุโรป” ตอนเนื่อง โดยช่วงหนึ่งระบุว่า 5.รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความเท่าเทียมกัน” การเลิกไพร่และเลิกทาสเป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเรื่อง”สิทธิมนุษยชน ที่ทำให้ประชาชนได้รับความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน” ในสมัยโบราณ ประชาชนทุกคนถ้าไม่เป็นทาส ก็ต้องเป็นไพร่ที่มีสังกัดเจ้านายไปตลอดชีวิต และไพร่รับราชการโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน ส่วนทาสนั้นยิ่งหนักหนากว่าไพร่ เพราะทาสสามารถซื้อขายกันได้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นั้น ประมาณว่าไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ ถ้านึกภาพไม่ไพร่และทาสไม่ออก ให้นึกภาพพนักงานที่ทำงานราชการหรือเอกชนทุกคนในปัจจุบัน ในอดีตถ้าไม่เป็นไพร่ก็เป็นทาส ที่ทำงานโดยไม่ได้รับผลตอบแทน โดยเฉพาะทาสที่ไม่มีอิสรภาพ แล้วลองจินตนาการดูว่า การที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 จะประกาศให้เลิกไพร่และเลิกทาส เป็นความเสียสละอย่างใหญ่หลวง เพราะคือความเสี่ยงต่อความมั่นคงและปลอดภัยของราชบัลลังก์และพระชนม์ชีพของพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์  ที่จะเกิดจากการผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์ ซึ่งก็คือเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย อาจจะก่อจลาจลหรือสงครามกลางเมืองเหมือนสหรัฐอเมริกาที่ประชาชนในประเทศรบราฆ่าฟันกันเอง แต่พระองค์คำนึง เรื่องสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมกันของประชาชนของพระองค์เป็นหลัก มากกว่าราชบัลลังก์และพระชนม์ชีพ และด้วยพระปรีชาสามารถทำให้การเลิกไพร่และเลิกทาสในเมืองไทยที่ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป สำเร็จลงด้วยเรียบร้อยไร้สงครามกลางเมืองที่คนในชาติเข่นฆ่าฟันกันเหมือนในต่างประเทศ

“การที่องค์การนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บิดเบือนข้อเท็จจริงและใส่ร้ายว่า พระเกี้ยว อันเป็นเครื่องหมายแทนในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งเท่ากับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการใส่ร้าย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ว่า เป็นความล้าหลัง การกดขี่ของชนชั้นปกครอง และความไม่เสมอภาคของความเป็นมนุษย์  เป็นการใส่ร้ายและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อย่างเหิมเกริมและจงใจ ผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่า นิ่งเฉยหรือยอมรับการกระทำดังกล่าวอยู่ได้อย่างไร มีผู้หลักผู้ใหญ่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่เบื้องหลังหรือให้ท้ายนิสิตในองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทำการดังกล่าว หรือไม่”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"

เอ็ดดี้ ข้องใจปม ‘เกาะกูด’ ถาม ‘ทักษิณ’ มีข้อตกลงอะไรกับ ‘ฮุนเซน’ หรือไม่

ทักษิณ ชินวัตร ไร้น้ำยา ไม่สมราคาคุย หรือ ทักษิณ ชินวัตร มีข้อตกลงอะไรกับฮุนเซน หรือไม่ อย่างไร เป็นคำถามที่ค้างคาใจประชาชนคนไทยทั้งชาติ

'อัษฎางค์' ข้องใจ ม.นเรศวร จ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไร?

อัษฎางค์ ยมนาค โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ระบุข้อความว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรจ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไ

สงสัย 'อเมริกา' คือจุดเริ่มต้นการชุมนุมของนิสิตนักศึกษาเดือนตุลาถึงขบวนการสามกีบหรือไม่?

อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า สหรัฐอเมริกา(ผู้รักษาสันติภาพ ที่ทำลายสันติภาพ) คือจุดเริ่มต้นการชุมนุม

'อัษฎางค์' ยกตัวออย่างเห็นภาพแทรกแซงธนาคารกลาง = หายนะ

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก #ประชานิยม + #การแทรกแซงธนาคารกลาง = #หายนะ เมื่อฝ่ายการเมืองคิดจะใช้นโยบายประชานิยม

ถาม ‘พิชัย’ ตรงๆ ใครเห็นหัวคนรากหญ้ามากกว่ากัน ‘พท.’ หรือ ‘แบงก์ชาติ’

การแจกเงินของพรรคเพื่อไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นมาตรการทางเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นกลยุทธ์ทางการเมืองที่ใช้สร้างความนิยมและรักษาฐานเสียง