ผู้ทรงคุณวุฒิกรมชลประทาน เผยเร่งจัดจราจรน้ำลดยอดน้ำหลากในแม่น้ำท่าจีน พร้อมติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด บรรเทาความเดือดร้อนประชาชนริมน้ำ
24 ต.ค.2564- นายพงศธร ศิริอ่อน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา(ด้านสำรวจและหรือออกแบบ) กรมชลประทาน ในฐานะประธานคณะทำงานศูนย์บริหารจัดการอุทกภัยลุ่มน้ำท่าจีน (ส่วนหน้า) เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำท่าจีน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่าที่เกิดจากฝนตกหนักเขตจ.สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร ไหลหลากลงสู่เเม่น้ำท่าจีน ส่งผลให้ยังคงมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งในบางช่วงบริเวณ จ.สุพรรณบุรี และ จ.นครปฐม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กรมชลประทาน ได้ใช้ระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน ดังนี้ ลดการรับน้ำผ่านประตูระบายน้ำ(ปตร.)พลเทพ(ปากแม่น้ำท่าจีน) เหลือ 60 ลบ.ม./วินาที และจะทยอยลดลงตามลำดับ พร้อมกันนี้ได้ใช้คลองชลประทานฝั่งตะวันตกรับน้ำเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง(คลอง มอ.) คลองมะขามเฒ่า-กระเสียว(คลอง มก.) ด้านฝั่งตะวันออก เพิ่มการรับน้ำเข้าคลองต่างๆเช่นกัน อาทิ คลองชัยนาท-ป่าสัก ผ่านปตร.มโนรมย์ และคลองชัยนาท-อยุธยา รับน้ำผ่าน ปตร.มหาราช เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้ตัดยอดปริมาณน้ำที่จะไหลหลากลงสู่แม่น้ำท่าจีน เข้าไปไว้ในพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งเจ้าเจ็ด และทุ่งโพธิ์พระยา ซึ่งขณะนี้ทั้ง 2 ทุ่งรับน้ำเข้าไปอย่างเต็มศักยภาพแล้ว พร้อมกันนี้ ยังได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีนตามจุดต่างๆ รวม 79 เครื่อง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำอีก 21 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลอ่าวไทยให้เร็วที่สุดต่อไป
ด้านสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจ.นครสวรรค์ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จะทยอยลดลงตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีนลดลงในระยะต่อไป กรมชลประทาน จะใช้ระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งในพื้นที่ตอนล่าง เร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด โดยฝั่งตะวันออกจะรับน้ำส่วนหนึ่งผ่านคลองแนวตั้งต่างๆ ระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทย อีกส่วนหนึ่งจะผันน้ำผ่านคลองเชื่อมต่างๆระบายน้ำออกไปทางแม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง และทะเลอ่าวไทยตามลำดับ ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตก จะใช้คลองระบายน้ำต่างๆในการเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลเช่นกัน รวมไปถึงใช้ปตร.คลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างในช่วงน้ำทะเลลงอีกด้วย การดำเนินการทั้งหมดจะช่วยบรรเทาและลดผลกระทบต่อประชาชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร
ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน
จับตาการพัฒนาลุ่มน้ำสงคราม “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของภาคอีสานตอนบน
ลุ่มน้ำสงคราม สาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ประมาณ 12,700 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.94 ล้านไร่
ปัตตานียังวิกฤต! ดับแล้ว 7 ราย ปะกาฮารังจมบาดาลทั้งหมู่บ้าน
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานียังคงเป็นพื้นที่สีแดง หลายพื้นที่ยังมีท่วมสูง แม้ว่าในช่วงกลางดึกน้ำลดลงไปบ้างแล้ว ประมาณ 20 %
'ชลประทานตรัง' การันตีปีนี้ตรังไม่จมบาดาล แก้ท่วมซ้ำซากสำเร็จ
นายวิโรจน์ มูสิกะเจริญ วิศวกรชลประทาน พร้อมด้วย นายสงกรานต์ หนูฤทธิ์ นายช่างชลประทาน สำนักงานชลประทานฝายคลองนางน้อย อ.นาโยง จ.ตรัง ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ทางน้ำและมวลน้ำ
ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย
ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน
ศปช. ปรับลดระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา คาดไม่เกิน 3 วันถึงจุดต่ำสุดเข้าสู่ภาวะปกติ
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ศปช.ยังคงติดตาม การบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในช่วงหน้าแล้ง