ประเทศไทยกำลังเริ่มต้นให้ประชาชนทั่วไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งในขณะนี้เรื่องความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน อาจจะยังไม่เป็นที่รับรู้โดยทั่วกันเป็นวงกว้าง ดังนั้นคอลัมน์นี้จะขอนำเสนอข้อมูล และการเตรียมตัวสำหรับการฉีควัคซีน เพราะอย่างน้อย 70% ของประชากรในประเทศไทย จะต้องเข้ารับการฉีด เพื่อให้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ดังนั้นควรทราบข้อมูลเบื้องต้น สำหรับการเตรียมความพร้อมในการฉีควัคซีน
ทำความรู้จักวัคซีนโควิด
วัคซีน เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนพาสังคมไทยออกจากวิกฤติโควิด-19 โดยวัคซีน คือ สารชีววัตถุที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค โดยทำงานเสมือนเป็น 'คู่ซ้อม' ให้ร่างกายได้ฝึกฝนกลไกการป้องกันโรคตามธรรมชาติ และมีความพร้อมในการต่อสู้กับเชื้อโรคจริง
วัคซีนอาจผลิตมาจาก
1. เชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ หรือ เชื้อโรคที่ตายแล้ว
2.บางส่วนของเชื้อโรค หรือ โปรตีนสังเคราะห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับบางส่วนของเชื้อโรค
3.สารพันธุกรรมบางส่วนของเชื้อโรค
4.การตัดต่อพันธุกรรมของเชื้อก่อโรค เข้าไปในไวรัสชนิดอื่น
* โดยที่วัคซีนทุกชนิด ไม่สามารถก่อโรคได้
นอกเหนือจากสารชีววัตถุที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันแล้ว ในวัคซีนยังมีสารประกอบอื่นๆ เพื่อเพิ่มความคงตัว หรือ เพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีน
ชนิดของวัคซีนโควิด
วัคซีนโรคโควิด-19 มีหลายชนิด ข้อมูล (26 เมษายน) มีวัคซีน 13 ชนิดที่มีผลการทดสอบประสิทธิภาพในมนุษย์ระยะที่ 3 หรือ อยู่ระหว่างการทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 3 และมีการอนุญาต ให้ใช้กรณีฉุกเฉินในบางประเทศแล้ว ได้แก่
1.วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต เช่น วัคซีนของ แอสตร้าเซนเนก้า (Astra Zeneca) , ไฟเซอร์ ไบโอเทค (Pfizer-BioTech) , โมเดอร์นา (Moderna) , จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson&Johnson) , วัคซีนของสถาบัน Gamaleya และ วัคซีนของบริษัท CanSinoBio
2. วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีดั้งเดิมในการผลิต ใช้กับวัคซีนหลายชนิดมาก่อน เช่น วัคซีนของบริษัทซิโนแวค (Sinovac) , บริษัท ซิโนฟาร์ม Sinopharm , บริษัท Bharat Biotech , สถาบัน Vector Institute , สถาบัน Chumakov Center,
วัคซีนโควิด-19 ทุกชนิดได้รับการรับรองว่ามีประสิทธิผลในการลด "การเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต" และยังสามารถป้องกันการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้อีกด้วย แม้ว่าปัจจุบันจากข้อมูลการศึกษาต่างๆ จะแสดงว่า ผู้รับวัคซีนแล้วยังมีโอกาสติดเชื้อได้ก็ตาม แต่เราจะสังเกตได้ว่า ภายหลังจากนำวัคซีนไปใช้จริงในประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลก จะเห็นว่า ในหลายประเทศสามารถควบคุมการระบาดได้ และมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยคงที่และลดลง ซึ่งทำให้มีความหวังว่า วัคซีนอาจช่วยลด "โอกาสการติดเชื้อและแพร่เชื้อ"ในสังคมได้
นอกจากคุณสมบัติของวัคซีนแต่ละชนิดที่ต่างกัน การบริหารวัคซีนแต่ละชนิดก็แตกต่างกัน เช่น อุณหภูมิที่เก็บรักษา , จำนวนเข็มที่ต้องฉีด หรือระยะเวลาระหว่างการฉีดแต่ละเข็ม ทั้งนี้จากข้อมูลในปัจจุบัน การฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และ เข็มที่ 2 ต้องใช้วัคซีนขนิดเดียวกัน
ข้อมูลที่นำเสนอในครั้งนี้จะมาจาก คู่มือวัคซีน สู้โควิด ฉบับประชาชน ที่จัดทำขึ้นโดย กระทรวงสาธารณสุข , องค์การอนามัยโลก , ยูนิเชฟ , สสส.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |