อัตราการเต้นของหัวใจ บ่งบอกปัญหาสุขภาพ


เพิ่มเพื่อน    

 

           คนรักสุขภาพที่ออกกำลังกาย มักจะโฟกัสที่อัตราการเต้นของหัวใจ เพราะอัตราการเต้นของหัวใจจะช่วยเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยเฉพาะไขมัน และยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย ทั้งนี้ผู้ที่ไม่ชื่นชอบการออกกำลังกายนั้น อาจไม่ก่อให้เกิดผลดีกับสุขภาพก็เป็นได้ เนื่องจากอัตราการเต้นสลับการหยุดชั่วคราวของหัวใจในยามที่คุณเอ็กเซอร์ไซส์ สามารถเป็นตัวชี้วัดเกี่ยวกับสุขภาพโดยรวม รวมถึงสมรรถภาพความแข็งแรงของร่างกาย ดังนั้นเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจคุณว่าอยู่ในระดับต่ำหรือสูง และการเต้นของหัวใจทั้ง 2 ระดับ จะสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของคุณได้ดีเพียงใด จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

                “เนชิเคท พาเทล” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ จากรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา บอกว่า “เวลาที่คุณไม่ได้ทำอะไรนั้น อันที่จริงแล้วอัตราการเต้นของหัวใจสลับกับหยุดพักชั่วครู่ก็มักจะทำงานช้าลง ซึ่งก็เป็นไปตามคาด คือเวลาที่ไม่ได้ขยับร่างกาย หรือขณะที่คุณนั่งพัก ดังนั้นระดับการเต้นของหัวใจเพื่อนำเลือดไปสูบฉีดในร่างกายก็จะน้อยลงเช่นกัน และแม้ว่าอัตราการเต้นสลับการหยุดของหัวใจ (เราสังเกตว่าหากเราเหนื่อยหรือออกกำลังกายมากๆ หัวใจจะเต้นตุบๆ) ถือเป็นวิธีการตรวจวัดสุขภาพของหัวใจ ว่ายังทำงานมีประสิทธิภาพดีหรือไม่

                แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากอัตราการเต้นของหัวใจ สลับการหยุดพักเพียงชั่วครู่นั้นทำได้ลดลงหรือช้าลง นั่นหมายความว่าคุณเป็นคนที่แข็งแรง เพราะการที่กล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพนั้น มันจะต้องไม่ทำงานหนักมากเกินไป ในการกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานโดยการนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอนั่นเอง หรือมนุษย์ไม่จำเป็นต้องมีสุขภาพดีจากการที่หัวใจของคุณเต้นเร็วและถี่อยู่ตลอดเวลา

                ด้าน ผศ.เมแกน คามัธ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ และที่ปรึกษาคลินิกทางยา ของโรงเรียนการแพทย์ในเมืองลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย อย่าง David Geffen School of Medicine บอกว่า “ระดับการเต้นของหัวใจในแต่ละคนนั้น จะมีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน แต่คนส่วนใหญ่นั้นอัตราการเต้นของหัวใจสลับการหยุดพักชั่วครู่ จะอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที และหากคุณมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น ก็จะทำให้หัวใจเต้นถี่และมีจังหวะของการหยุดพักที่น้อยลง”

                ขณะที่ “เนชิเคท พาเทล” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ กล่าวว่า “โดยทั่วไปแล้วแม้ว่าการเต้นของหัวใจสลับการหยุดพักในระดับต่ำ หรือหัวใจเต้นช้าจะดีกว่า แต่ความรู้สึกของคุณก็สำคัญเช่นกัน เพราะการที่อัตราการเต้นของหัวใจสลับการหยุดพักทำงานต่ำ อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย หรือหายใจถี่ ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณของปัญหาพื้นฐานที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ ในทางกลับกัน หากอัตราการเต้นของหัวใจสลับการหยุดพักอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง คุณไปพบแพทย์แม้ว่าคุณจะรู้สึกสบายดีก็ตาม เพราะนั่นหัวใจของคุณอาจทำงานหนักมากเกินไป”

                ทั้งนี้ ผศ.เมแกน คามัธ และ “ดร.เนชิเคท พาเทล” 2 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ระบุว่า “ปัจจัยหลายอย่างอาจส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจสลับการหยุดพักชั่วครู่ ได้แก่ อายุ กาเฟอีน ความเครียด ความวิตกกังวล ฮอร์โมน การขาดน้ำ การติดเชื้อ การสูบบุหรี่ และการกินยารักษาโรคทั่วไป และเงื่อนไขทางการแพทย์อื่นๆ เช่น ประวัติโรคหัวใจ คอเลสเตอรอล หรือโรคเบาหวาน หรือเคยพบแพทย์และหมอชี้ว่าอัตราการเต้นของหัวใจสลับการหยุดพักของคุณมากกว่าที่ควรจะเป็น”

                สิ่งที่ลืมไม่ได้นั้น คือการตรวจสอบการเต้นของหัวใจ (หัวใจจะเต้นสลับการหยุดพัก) ในช่วงเวลาเช้า หรือหลังจากตื่นนอนตอนเช้า เพราะคุณได้พักผ่อนมาอย่างเหมาะสม หรือตรวจเช็กการเต้นของหัวใจก่อนดื่มกาแฟที่มีกาเฟอีน หรือตรวจเช็กการเต้นของหัวใจในขณะที่คุณอารมณ์ดี เพื่อให้ได้ซึ่งผลลัพธ์อัตราการเต้นสลับการหยุดพักชั่วครู่ของหัวใจคุณ เพื่อนำมาประกอบการตรวจเช็กสุขภาพของหัวใจคุณว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้รู้ว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน จากการเต้นของชีพจรหัวใจนั่นเอง.  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"