เอาโซลาร์ไปลอยน้ำ..
แผงโซลาร์เซลล์ที่ทุกคนรู้จักในปัจจุบันเริ่มมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้น เมื่อประเทศไทยเดินหน้าและยอมรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น จนนำมาระบุอยู่ในแผนพลังงานของประเทศ และมีเอกชนหลายรายเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวโดยตั้งเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ฟาร์ม รวมถึงในปัจจุบันที่มีความนิยมอย่างมากคือ การติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา เพื่อให้นำไฟฟ้ามาใช้ภายในบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม หวังที่จะประหยัดพลังงาน
ซึ่งในปัจจุบันการพัฒนาของเทคโนโลยีไม่มีที่สิ้นสุด รวมถึงความนิยมของโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็มีหลายหน่วยงานปิ๊งไอเดียขึ้นมาในการที่จะใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์อย่างพื้นที่ผิวน้ำตามห้วย หนอง คลอง บึง ที่ไม่ขัดขวางกับการจราจร ให้เป็นที่ตั้งของโซลาร์ฟาร์ม หรือการนำแผงโซลาร์เซลล์ไปลอยในน้ำ เพื่อให้รับแดดและผลิตไฟได้ แนวคิดนี้เกิดกระแสเป็นอย่างมากจนทำให้รัฐบาลไทยต้องออกแผนการนำร่องโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (ไฮโดร-โฟลตติ้ง โซลาร์ ไฮบริด) หรืออีกชื่อที่เรียกว่า โซลาร์ลอยน้ำ
โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ริเริ่มโครงการดังกล่าว นำร่องแห่งแรกที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มีขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ถือเป็นโครงการโซลาร์เซลล์ทุ่นลอยน้ำแบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนพื้นที่ผิวน้ำของเขื่อนสิรินธรประมาณ 450 ไร่
กฟผ.ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ชนิดดับเบิลกลาส เป็นแผ่นกระจกทั้งด้านบนและด้านล่าง ทำให้มีการระบายความร้อนและป้องกันความชื้นได้ดี จึงปลอดภัยต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ช่วยลดปริมาณขยะแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และใช้ทุ่นลอยน้ำชนิด HDPE ซึ่งเป็นวัสดุประเภทเดียวกับท่อส่งน้ำประปา จึงไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญไม่ใช้วัสดุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ด้วย
ขณะเดียวกัน ด้านบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เองก็ลุยโครงการดังกล่าวเช่นกัน แต่เป็นในพื้นที่ทะเลขนาด 100 กิโลวัตต์ ในพื้นที่บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT Tank) ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งมีพื้นที่ติดทะเล เหมาะกับการเป็นต้นแบบติดตั้งการใช้งาน โดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) ได้พัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษเพื่อนำมาผลิตทุ่นลอยน้ำ เพิ่มสารลดการสะสมของเพรียงทะเลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ทะเล
และบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) ได้ให้บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด (CHPP) เป็นผู้ออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในน้ำทะเล โดยในระยะแรกจะนำไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปใช้ภายในสำนักงาน เพื่อเป็นต้นแบบการศึกษาและพัฒนารูปแบบทางธุรกิจ
เห็นได้ว่าการเอาโซลาร์ไปลอยน้ำนี้สามารถทำได้อย่างจริงจัง และเชื่อว่าหากรัฐบาลเปิดโอกาสให้มีการลงทุนจากเอกชนรายอื่นๆ จะมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอีกเพียบ!.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |