ภาพจากแฟ้มภาพ
เมื่อวันที่ 15 เม.ย.64 เวลา 11.30น. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า ประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1,543 ราย แบ่งเป็นติดเชื้อในประเทศ 1,540 ราย และติดเชื้อจากต่างประเทศ 3 ราย ผู้ป่วยที่กำลังรักษาอยู่ 8,973 ราย มีอาการหนัก 11 ราย ผู้ป่วยที่หายดีเพิ่มขึ้น 61 ราย โดยวันนี้ไม่มีผู้เสียชีวิต ทำให้ภาพรวมการพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมในประเทศไทยอยู่ที่ 37,453 ราย หายป่วยแล้วสะสม 28,383 เสียชีวิตสะสม 97 ราย ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อในการระบาดระลอกใหม่เดือนเม.ย. 2564 ผู้ป่วยสะสม 8,973 ราย
นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า สถานการณ์จำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 สะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. – วันที่ 14 เม.ย. แบ่งเป็น เข็มที่ 1 จำนวน 507,360 ราย และ เข็มที่ 2 จำนวน 73,948 ราย อย่างไรก็ตาม แนวโน้มจํานวนผู้ติดเชื้อพบว่า สัปดาห์นี้มีผู้ติดเชื้อสะสม 5,795 ราย ซึ่งมากกว่าสัปดาห์ที่แล้ว
นพ.เฉวตสรร กล่าวอีกว่า สำหรับจํานวนผู้ติดเชื้อในวันนี้ 1,543 ราย กระจายใน 72 จังหวัด จังหวัดที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ เช่น ระนอง สตูล ฯลฯโดยพื้นฐานเดิมคือ มีความเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่นๆ กลุ่มเสี่ยงยังอยู่ในวัยทำงานที่มีการเดินทางเคลื่อนที
นพ.เฉวตสรร กล่าวถึงส่วนสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ว่าขณะนี้พบผู้ป่วยรายใหม่ 803,194 ราย สะสม 138,826,004 ราย มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 13,513 ราย สะสม 2,985,425 ราย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุดยังเป็น สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล ขณะที่ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด คือ อินเดีย รายใหม่ 199,569 ราย รองมาคือ สหรัฐ พบผู้ป่วยรายใหม่ 78,439 ราย เป็นยอดต่ำกว่าแสนมาระยะหนึ่งที่นานพอสมควร บราซิล พบรายใหม่ 75,998 ราย ส่วนประเทศที่พบผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือ บราซิล รายใหม่ 3,462 ราย สะสม 362,180 ราย รองมาเป็น อินเดีย สหรัฐ และ โปแลนด์
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุรบริการสุขภาพ (สบส.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการ จัดหาเตียงรองรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 มีการ ประชุมกันทุกวัน เพื่อเตรียมรพ.ในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข สังกัดกองทัพ รพ.มหาวิทยาลัย และรพ.เอกชน ตอนนี้มีเตียง รองรับ 6,525 เตียง ปัจจุบันใช้ไปแล้ว 3,700 กว่า เตียง อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งเก็บไว้สำหรับผู้ป่วย อาการเยอะ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
นพ.ธเรศ กล่าวว่า สำหรับการจัดหาฮอทพิเทล หรือการจัดหาโรงแรมที่ไม่มีผู้พักอาศัยมาทำเป็น รพ.ชั่วคราวเพื่อใช้ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 มี แพทย์ พยาบาล อัตรา 20 คนต่อผู้ป่วย 1 เตียง มี เครื่องมือที่สำคัญ เช่น ปรอทวัดอุณหภูมิดิจิตอล เครื่องวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด และ เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ โดยการดูแลจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มไม่มีอาการ แต่ระหว่างนี้หากมี อาการก็จะส่งไปรักษาใน รพ.พี่เลี้ยง กลุ่มที่ 2 กลุ่มมีอาการที่อยู่ในรพ. 3-5 วันแล้วอาการไม่ได้ แย่ลง อาการปกติ สามารถย้ายมาอยู่ที่ฮอทพิ เทลต่อไป ซึ่งขณะนี้มีฮอทพิเทลแล้ว 23 แห่ง รวม 4,900 เตียง มีการครองเตียงแล้ว 2,000 เตียงแล้ว อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์การระบาดเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องจัดหาเตียงฮอทพิเทล และรพ.สนาม เพิ่ม 5,000-7,000 เตียง ส่วนค่ารักษานั้นหากมีประกันสุขภาพ ก็ให้เบิกจากประกันสุขภาพส่วนบุคคล หากไม่มีประกันส่วนบุคคลก็จะได้รับสิทธิ์ตามสิทธิในการรักษาพยาบาลภาครัฐ
ส่วนการย้ายผู้ป่วยเข้ามาจะต้องถูกคัดกรองโดย รพ.หลักก่อน เช่น อายุไม่ควรเกิน 50 ปี ไม่มีโรค ประจำตัวอื่นๆ ไม่ใช่เด็ก ไม่ใช่คนท้อง ไม่มีผล การเอกซเรย์ที่เปลี่ยนแปลง ก็จะสามารถย้ายมา ที่รพ.สนาม หรือฮอทพิเทล ได้เพราะฉะนั้นเราจะ สกรีนผู้ป่วยที่มีความปลอดภัยสูงเข้ามารพ.สนาม ส่วนกรณีผู้ติดเชื้อเฉลี่ย ที่เจอในหลักพันรายต่อวันนั้นก็ยังมีการประเมิน ว่าเตียงที่จัดหานั้นอย่างเพียงพอต่อการรับมือ
นพ.ธเรศ กล่าวต่อว่า ขณะนี้สบส. ได้รับการแจ้ง ว่ามีคลินิกหลายแห่งที่ตรวจผู้ป่วยโควิดแล้ว ให้ผู้ป่วยไปหาเตียงเองทำให้เกิดความยากลำบาก และมีการเดินทางต่างๆ ดังนั้น สบส. จึงออก ประกาศว่าคลินิกที่สามารถตรวจโควิดได้ต้องได้ รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเมื่อตรวจผลเป็นบวกจะต้องดูและแจ้งหน่วย งานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อ ต้องดำเนินการจัดหาเตียงให้กับผู้ป่วย หากไม่ดำเนิน การตามนี้สถานพยาบาลหรือคลินิกแห่งนั้นจะมี โทษตามกฎหมาย มีโทษทั้งจําทั้งปรับ ขณะนี้ในเรื่องของการไม่ส่งต่อนั้นเราพบรพ.ย่านบางนา จะต้องถูกลงโทษ และขณะนี้มีการพิจารณาที่จะ ลงโทษรพ.เอกชนอีกประมาณ 2-3 แห่งรวมถึง คลินิกเอกชนอีกจํานวนหนึ่ง ขณะนี้อยู่ระหว่าง การเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล
นพ.ธเรศ กล่าวต่อว่า ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ กำหนดว่าหากเจอผู้ติดเชื้อแล้วต้องแจ้งหน่วย งานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคทราบภายใน 3 ชั่วโมงคือ ผู้อยู่ร่วมบ้าน สถานพยาบาล ผู้ทำการ ชันสูตร หรือผู้ประกอบกิจการจะต้องแจ้งหน่วย งานที่เกี่ยวข้องให้ทราบภายใน 3 ชั่วโมง หากไม่ แจ้งจะมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ส่วนกรณี ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคติดต่อ เช่น เจ้าพนักงานสั่งให้ Home quarantine เพื่อรอเตียง หรือสั่งให้ไปรับการ รักษาเพื่อลดการติดต่อสู่ผู้อื่น ก็จะมีความผิด โทษค่อนข้างแรงเพราะเสี่ยงที่จะแพร่กระจาย ของโรคจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่ เกิน 40,000 บาท รวมถึงกรณีการปิดบังก็มีโทษ เรื่องการให้ข้อมูลเท็จ เป็นโทษปรับ แต่ทั้งหมดนี้ ขอฝากว่าหากเราช่วยกันให้ข้อมูลการควบคุม โรคติดต่อก็จะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ตัวเราและเพื่อนบ้านของเราก็จะ ปลอดภัยเพราะระบบสามารถควบคุมโรคได้ อย่างรวดเร็ว และถ้าเราให้ความร่วมมือกันก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้มาตรการทางกฎหมาย
นพ.ธเรศ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่มีกระแสว่ามี รพ.เอกชนมีการประชาสัมพันธ์ส่งข้อความถึง ประชาชน ให้มาลงทะเบียนรับวัคซีนทางเลือกนั้น ต้องขอชี้แจงว่าไม่สามารถทำได้ เนื่องจากยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการแนวทางปฏิบัติ และ วัคซีน หากมีการไปโฆษณาเชิญชวนก่อนจะเข้า ข่ายโฆษณาเกินจริง บางกรณีถ้าไปเรียกเงิน มัดจําจากประชาชนด้วย เหมือนเอาเงินคนอื่นมา ใช้โดยที่ยังไม่มีบริการ อย่างไรก็ตาม ประชาชน ต้องดูข้อมูลให้ดีๆ ละเอียดด้วยเพราะขณะนี้มี รพ.เอกชนหลายแห่ง ที่เข้ามาช่วยเหลือรัฐในการ ฉีดวัคซีนฟรีอยู่
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |