สัปดาห์ก่อนตอนที่ผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาให้ข่าวว่าได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงอีกครั้งหนึ่ง....จาก 3.4% เป็น 3% นั้น เป็นจังหวะที่ยังไม่ได้ประเมินผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 รอบที่ 3
นั่นแปลว่าเราอาจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจที่จะเห็นอัตราการเติบโตของจีดีพีของประเทศปีนี้หดตัวลงไปอีก
เพียงแค่ไตรมาสแรกของปีนี้ก็มีสัญญาณที่ไม่น่าจะสบายใจนัก เพราะลดลง 1.1%
การที่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติล่าช้าออกไปอีก 1 ไตรมาส เป็นไตรมาสที่ 4 มีผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจลดลงอีก 0.9%
คุณชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของแบงก์ชาติ บอกว่า ผลดีจากมาตรการช่วยเหลือประชาชนและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบและการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐมีผลประคับประคองต่อเศรษฐกิจ 0.9%
การที่เศรษฐกิจและการค้าโลกฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด ได้ส่งผลให้การส่งออกสินค้าฟื้นตัวเร็วขึ้น ช่วยได้อีก 0.9%
แต่ในภาพรวมแล้ว ปัจจัยลบมีมากกว่าปัจจัยบวก
แบงก์ชาติตั้งสมมติฐานไว้ 2 กรณีคือ กรณีสีส้มและสีแดง
ถ้าเป็นสีส้ม ประมาณการว่า มีการกลับมาระบาดของโควิด-19 ในครึ่งปีหลัง
นั่นแปลว่าจะทำให้การเปิดประเทศล่าไปเป็นปี 65
ก็จะมีผลทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวลงกว่าที่คาดไว้
ถ้าเป็นกรณี “สีแดง” ไวรัสกลายพันธุ์รุนแรงจนวัคซีนปัจจุบันใช้ไม่ได้ผล และเกิดระบาดทั่วโลกอีกครั้ง
ผลที่ตามมาก็คือ การฟื้นตัวจะช้าลงไปอีก เลื่อนไปเป็นปี 66
หากเป็นเช่นนั้นก็ทำนายได้ว่าเศรษฐกิจไทยจะปักหัวลงไปต่ำสุดใกล้เคียงกับไตรมาส 2 ปี 63 อีกครั้ง
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่า โควิด-19 ทำให้จีดีพีไทยลดลง 13% จากช่วงก่อนหน้า
คาดว่าจะต้องใช้เวลาฟื้นตัว 2-3 ปี
ซึ่งจะต่ำกว่าความเสียหายในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งเล็กน้อย และหลังวิกฤติจะสร้าง “แผลเป็น” ให้ภาพรวมเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะตลาดแรงงาน และภาระหนี้สินของลูกหนี้
ดังนั้นจึงต้องให้มาตรการภาครัฐประสานกัน ทั้งนโยบายการเงิน การคลัง และการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
ส่วนมาตรการการเงินต้องทำให้ผ่อนคลายเพียงพอ
กระจายสินเชื่อได้เพียงพอและตรงจุด
ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้เป็นอุปสรรค
ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือปรับโครงสร้างลูกหนี้ในวงกว้างได้
อีกทั้งดูแลให้ธนาคารพาณิชย์มีกันชนต่อความเสียหาย ในการช่วยเหลือลูกหนี้โดยไม่กระทบฐานะของธนาคารหรือเงินกองทุน
เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าในภาพรวมสภาพคล่องในระบบไม่มีปัญหา
แต่มีปัญหาการกระจายสินเชื่อ ซึ่งจำเป็นมาก เพราะต้องประคองเศรษฐกิจให้ไปต่อได้
เดิมไตรมาส 2-3 ธปท.มองถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและเติมเม็ดเงินให้กลับมาลงทุน แต่เมื่อมีการระบาดรุนแรงระลอก 3 ทำให้ต้องติดตามสถานการณ์และประเมินใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 4 ธปท.ยังคาดว่าจะเปิดรับนักท่องเที่ยวได้บ้าง
ความต่อเนื่องของมาตรการทั้งการเงินการคลังจึงจำเป็น
เพราะไตรมาส 4 จะเป็นจุดสำคัญที่เห็นชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้อย่างไรหรือไม่
ธปท.ยืนยันว่า หากเกิดกรณี “เลวร้าย” ก็พร้อมใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม รวมทั้งใช้นโยบายสินเชื่อเพิ่ม
แต่ยอมรับว่าสินเชื่อเอสเอ็มอียังคงหดตัว และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ต้องมีมาตรการรองรับในส่วนที่ฟื้นช้า
ขณะที่สินเชื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ออกมาแทนซอฟต์โลนเดิม 250,000 ล้านบาท คาดว่าจะทยอยออกเป็นช่วงๆ ส่วนมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ 100,000 ล้านบาท คาดจะมีการใช้เงิน 30,000-50,000 ล้านบาท ในช่วงแรก
ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลที่จะบริหารให้เกิด “ดุล” อันเหมาะสมระหว่างการคุมเข้มด้านสาธารณสุขและการประคองให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้
จึงเป็นที่มาของการไม่ประกาศ General lockdown ทั่วประเทศเหมือนการระบาดรอบแรก แต่ใช้ Micro lockdowns เป็นจุดๆ เพื่อให้ไม่ให้เกิดผลกระทบกว้างไกลเกินความจำเป็น
ใครคนหนึ่งบอกผมไว้อย่างน่าฟังว่า
“สำหรับผู้ประกอบการอย่างผม พอเจอระบาดรอบ 3 ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะมันไม่เหมือน 2 รอบแรก ด้านหนึ่งก็ต้องเร่งฝีเท้าเพื่อไม่ให้เครื่องหยุดวิ่ง แต่มองไปข้างหน้าก็มองอะไรไม่ค่อยเห็น เป็นหมอกหนาทึบ ทัศนวิสัยมองเห็นข้างหน้าไม่กี่เมตร...แต่ไม่ทำก็ตาย ทำก็หวังว่าจะรอด....”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |