กระตุกจิตสำนึก สนช.-นายกฯ คลี่ปมวีซ่า ป.ป.ช.ให้กระจ่าง


เพิ่มเพื่อน    

             

           

ปมอื้อฉาวของแม่น้ำหลายสายนำโดย กรธ., สนช. และ ป.ป.ช. เกี่ยวกับการเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ... ที่ สนช.ให้ความเห็นชอบวาระ 3 ไปแล้วเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.60 ทำท่าจะยังไม่จบลงง่ายๆ

 

ภายหลัง สนช.ได้ประทับตรารับรองและวางหลักกฎหมายใหม่ภายใต้นิยามลูกฆ่าแม่ ที่ส่อไปในทิศทางกฎหมายประกอบ รธน.จะไปขัดรัฐธรรมนูญเพื่อยกเว้นลักษณะต้องห้ามให้ 2 คณะกรรมการ ป.ป.ช.   คือ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช.ที่เคยเป็นรองเลขาธิการนายกฯ และคนใกล้ชิด  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้า คสช. กับอีกคนคือ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในปี 2557 ก่อนรับตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อปี 2558 แต่กลับได้ต่อวีซ่าให้ดำรงตำแหน่งต่อไป 9 ปีพร้อม ป.ป.ช.อีก 5 คนที่คุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่วันแต่งตั้ง โดยไม่สนใจหลักนิติธรรม หลักวิชาการ เสียงนักศึกษานิติศาสตร์ และกระแสสังคมที่ไม่นิยมความไม่ถูกต้อง

 

ล่าสุด ร่างกฎหมาย ป.ป.ช. ได้ส่งถึงมือ กรธ. ผู้ยกร่าง และ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องแล้ว โดย กรธ.ได้ส่งหนังสือถึงประธาน สนช.ไม่ติดใจที่จะตั้ง กมธ. 3 ฝ่ายขึ้นมาทบทวน ขณะที่ป.ป.ช.แม้ยังไม่ยืนยันกลับมา แต่ก็มีแนวโน้มไม่ติดใจเช่นกันเพราะตัวเองได้ประโยชน์ทั้งดำรงตำแหน่งต่อไปและอำนาจที่มากขึ้น และหากเป็นไปตามข้อสันนิษฐานคือไม่มีใครโต้แย้ง ประธาน สนช.ก็จะส่งร่างกฎหมายฉบับมีมลทินนี้ให้นายกฯ ดำเนินตามขั้นตอนเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม แม้ กรธ.จะไม่ติดใจเสนอให้ตั้ง กมธ. 3 ฝ่ายก็จริง แต่ในฐานะผู้ยกร่างคือ นายมีชัย  ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ก็ปัดความรับผิดชอบไม่ได้ จึงทำหนังสือถึง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.เมื่อวันที่ 5 ม.ค.ที่ผ่านมา ถึงความเป็นห่วงในเรื่องการต่ออายุ ป.ป.ช.ด้วยการเขียนกฎหมายยกเว้นลักษณะต้องห้าม โดยเสนอให้ สนช.เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหาข้อยุติ

 

“กรธ.ยังคงมีความห่วงกังวลอย่างมากว่า บทบัญญัติดังกล่าวอาจมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2560 นั้น (วินิจฉัยคุณสมบัติของผู้ตรวจการแผ่นดิน) ไม่ครอบคลุมถึงการยกเว้นลักษณะต้องห้ามในบทหลักตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่การที่จะวินิจฉัยว่าร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นหน้าที่และอำนาจโดยตรงของศาลรัฐธรรมนูญ กรธ.จึงไม่โต้แย้ง โดยเป็นดุลยพินิจของ สนช.ที่จะพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป" หนังสือของนายมีชัยระบุ

 

ขณะที่ นายพรเพชร  ให้สัมภาษณ์แบบแบ่งรับแบ่งสู้ว่า ในฐานะประธาน สนช.จะให้สั่งสมาชิกยื่นหรือไม่ไม่ได้ ทำได้เพียงบอกกล่าวสมาชิกเท่านั้น เนื่องจากการจะยื่นหรือไม่เป็นดุลพินิจของสมาชิกแต่ละคน

 

ส่วนขั้นตอนที่จะนำเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอยู่สองช่องทาง ตามมาตรา 148 ของรัฐธรรมนูญ  โดยทางแรกถือว่าง่ายที่สุด คือให้ สนช. 1 ใน 10 เสนอยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเพราะเป็นประเด็นใหม่ โดยเฉพาะกรณีที่ สนช.เขียนยกเว้นลักษณะต้องห้ามของ ป.ป.ช.ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปในมาตรา 178 ก่อนจะกลายมาเป็นมาตรา 185 ซึ่งระหว่างการพิจารณาในวาระ 2 และ 3 มี สนช.ไม่เห็นด้วยถึง 26 เสียง งดออกเสียงอีก 29 เสียง (รวมสองส่วนนี้เท่ากับ 55 เสียง) ดังนั้น  สนช.จำนวน 55  คนจึงเป็นความหวังสำคัญที่จะทำให้เรื่องนี้กระจ่าง 

 

แต่ก็รับทราบ สนช.เองก็หนักใจ เพราะเกรงว่าหากยื่นเรื่องไปจะทำลายองค์กรศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็มีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติเช่นกัน และก่อนหน้า สนช.ก็เขียนกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ 5 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในตำแหน่งต่อไป อีกทั้งยังเป็นการซ้ำเติม ป.ป.ช.ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.วัชรพล ที่มีภาพลักษณ์ไม่สู้ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะปมนาฬิกาหรูหลายเรือนของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ที่ยังไม่สามารถเคลียร์ได้

 

ขณะที่อีกแนวทางหนึ่งคือให้นายกฯ ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหากเห็นว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้นำประเทศจะเอาใจใส่หลักนิติธรรมหรือไม่ ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมว่าเมื่อตัวเองรู้ว่ามีสิ่งไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นและมีเสียงทักท้วงอย่างกว้างขวาง แต่จะยังดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปถือว่าสมควรหรือไม่ 

 

ดังนั้น สิ่งที่คาดหวังหลังจากนี้คือจิตสำนึกของ สนช. รวมทั้งนายกฯ จะมีความกล้าหาญทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ก่อนจะอาสาดูแลประเทศหลังเลือกตั้งอย่างน้อยไปอีก 5 ปี.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"