ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก..อย่ารอจนเรื้อรัง


เพิ่มเพื่อน    

 

          การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ฝุ่นละออง และมลภาวะต่างๆ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดผื่นผิวหนัง พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กอายุก่อน 1 ปี หากไม่รีบทำการรักษาและดูแลให้ถูกวิธีตั้งแต่เนิ่นๆ อาจเรื้อรังจนถึงตอนโตได้ ดังนั้นการพบแพทย์โดยเร็ว นอกจากช่วยรักษาให้หายขาดแล้ว ยังช่วยให้ตัวเด็กเองพร้อมเรียนรู้ในทุกช่วงวัย

                พญ.ลิลรฎา อนันตรัมพร กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างผิวหนัง ทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำ เมื่อสูญเสียน้ำเยอะแล้วผิวจะแห้งและอักเสบได้ง่าย อาการมีตั้งแต่ระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซึ่งในเด็กแต่ละช่วงอายุจะมีอาการแตกต่างกัน เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี มักพบบริเวณแก้ม หน้าผาก คอ แขนและขาด้านนอก ข้อมือและข้อเท้า ในเด็กโตมักพบบริเวณข้อพับ แขน ขา เท้า ข้อเท้า หากผู้ป่วยมีอาการแรกเริ่มของโรคนี้ตอนโต มักจะหายยากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการตั้งแต่ตอนเด็ก

                สังเกตอาการที่บ่งบอกว่าอาจกำลังเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ได้แก่ 1) มีผื่นแดง มีอาการคัน 2) ผื่นขึ้นตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ตามช่วงอายุ เช่น ผื่นมักเกิดบริเวณแก้ม หน้าผาก คอ แขนและขาด้านนอก ข้อมือ ข้อเท้าในทารก และผื่นมักเกิดตามข้อพับในเด็กโตและผู้ใหญ่ 3) ผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็นแล้วหายบ่อยๆ 4) มีประวัติคนในครอบครัวสายตรงเป็นภูมิแพ้ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้มากขึ้น เช่น จมูกอับเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) ภูมิแพ้ผิวหนัง และหอบหืด หากอาการไม่ครบทั้งหมด แต่มีอาการคัน มีผื่น อาการดังที่กล่าวใน 4 ข้อข้างต้น ร่วมกับอาการร่วม เช่น รอบปากซีด ใต้ตาคล้ำ ขนคุด มีลักษณะคล้ายหนังไก่ ผิวหนังไม่เรียบ ผิวแห้งหรือลักษณะเป็นขุย ผิวแตกหน้าหนาว อาจเป็นบางบริเวณหรือเป็นทั่วร่างกาย

                อาการเหล่านี้คืออาการร่วมที่สามารถบ่งบอกว่าเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้เช่นกัน เมื่อสังเกตอาการและเจอข้อบ่งชี้ดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว โดยแพทย์จะทำการพิจารณาลักษณะของผื่นที่เกิดขึ้นตามบริเวณต่างๆ และซักประวัติโดยละเอียด เพื่อทำการแยกโรคและหาวิธีรักษาอย่างถูกวิธี เนื่องจากโรคผิวหนังในเด็กมีหลากหลาย อาทิ ภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมันหรือเซ็บเดิร์ม โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็กยังมีโอกาสเกิดการแพ้จากอาหารได้เช่นกัน โดยมักพบอาการร่วมกับระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น อาการหายใจติดขัด หรือถ่ายอุจจาระปนเลือด กรณีนี้แพทย์อาจทำการซักถามเพิ่มเกี่ยวกับอาหารที่รับประทาน เพื่อหาสาเหตุและรักษาตามอาการต่อไป

                การรักษาผื่นแพ้ผิวหนังในเด็กมี 3 วิธีหลักๆ คือ 1) การดูแลผิวเบื้องต้นและการใช้ครีมเพิ่มความชุ่มชื้น แพทย์จะทำการสอนวิธีการทาครีมและสอนวิธีปฏิบัติตัวในการดูแลผิวอย่างถูกต้อง การลดปัจจัยที่ทำให้เกิดผิวแห้ง การเลือกใช้สบู่ และการอาบน้ำอย่างถูกวิธี 2) ใช้ยาทาเพื่อลดการอักเสบตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์จะเลือกชนิดของยาให้เหมาะสมกับลักษณะ ตำแหน่งและความรุนแรงของผื่น ร่วมกับการสอนทายาอย่างถูกวิธี 3) รับประทานยา เพื่อลดอาการคัน โดยผู้ป่วยห้ามซื้อยามาทาหรือรับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะหากยาไม่ถูกกับโรคอาจส่งผลให้อาการแย่ลงได้

                อย่างไรก็ตาม การหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติคือสิ่งสำคัญที่สุด หากเด็กมีผื่นคันที่เป็นแล้วหายบ่อยๆ ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และดูแลผิวของเด็กๆ อย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ จะได้หายจากโรคโดยเร็วที่สุด.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"