13 เม.ย.64- อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ล็อกดาวน์ธนาธร !
เมื่อรัฐบาลสั่งล็อกดาวน์ ธนาธรถาม”ทำไมต้องล็อกดาวน์”
เมื่อรัฐบาลไม่สั่งล็อกดาวน์ ธนาธรถาม”ทำไมไม่ล็อกดาวน์”
...........................................................................
• เมษายน 2564
“ธนาธร” ไลฟ์ในหัวข้อ “โควิดระลอกสาม ‘เลานจ์ชนะ’ “ โดย The Politics มติชน โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า...
“สงกรานต์ปีนี้ รัฐบาลจึงตัดสินใจไม่ล็อกดาวน์และปล่อยให้อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัด สิ่งที่น่ากลัวคือเมื่อสายพันธุ์นี้มันระบาดเร็วขึ้น **แล้วไม่มีการล็อกดาวน์** ปล่อยให้คนต่างจังหวัดกลับบ้าน หรือคนกรุงเทพออกไปเที่ยว มันมีโอกาสมากเหลือเกินที่อาจจะเกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างได้ ผมคิดว่านี่เป็นมิติที่ไม่ได้เกิดขึ้นในรอบ 1- 2”
https://www.facebook.com/382592748811072/posts/1075580629512277/?d=n
https://fb.watch/4Q4LtWWDFt/
...........................................................................
***คำพูดดังกล่าว ธนาธร กำลังตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลไม่ล็อกดาวน์ ใช่หรือไม่?
ย้อนเวลากลับไปดูคำพูดของธนาธรเมื่อปีที่แล้วกัน
............................................................................
• เมษายน 2563
'ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ' ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ 'วอยซ์ออนไลน์' เมื่อเมษายน 2563 ถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2563 โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า...
"ที่ผ่านมาเรากึ่งปิดกึ่งเปิดมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การกึ่งปิดกึ่งเปิดทำให้เศรษฐกิจพังหมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย กลุ่มคนที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม กลุ่มคนที่อยู่ในแรงงานนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นวินมอเตอร์ไซค์ พ่อค้าหมูปิ้ง คนร้อยพวงมาลัย กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ
**ทำให้ความกังวลของประชาชนตอนนี้จะติดไวรัสตายก่อนหรือจะอดตายก่อน นี่คือโจทย์ใหญ่"
**ผลกระทบจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศต้องหยุดชะงัก
ประชาชนที่ประกอบอาชีพโดยสุจริตต้องหยุดทำมาค้าขายจากมาตรการข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548”
https://voicetv.co.th/read/MfUueMzur
...........................................................................
ประชาชาติธุรกิจลงบทสัมภาษณ์ของธนาธร ความตอนหนึ่งว่า...
รัฐบาลมีทางเลือก 2 ทางเกี่ยวกับการช่วยเหลือ คือ ทางเลือกแรก ถ้ายังเป็นมาตรการ เซมิ-ล็อกดาวน์ หรือกึ่งเปิดกึ่งปิดแบบขณะนี้ต่อไป จำเป็นต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยอัดเม็ดเงินเข้าไปในระบบเพื่อช่วยพยุง ซึ่งจะใช้น้อยกว่าการปล่อยพังแล้วอัดเข้าไป เพราะการจะดึงความเชื่อมั่นกลับมา ดึงนักลงทุนกลับมา เกิดการจ้างงาน เกิดการบริโภคอีกครั้งยากมาก ดังนั้น ต้องยอมเสียเงินพยุงดีกว่าปล่อยให้พัง เพราะถ้าไม่ดูแลตอนนี้ คนจะอดตายก่อนจะตายเพราะติดเชื้อ
และสำหรับทางเลือกที่ 2. คือ คลาย-ล็อก-คลาย-ล็อก สลับกันไป
https://www.prachachat.net/politics/news-450740
...........................................................................
***บทสัมภาษณ์ดังกล่าวคือคำถามที่ ธนาธร ถามว่า รัฐบาลล็อกดาวน์อยู่ทำไม ใช่หรือไม่?
...........................................................................
• เมษายน 2563
ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาล”ล็อก”
ธนาธรตั้งคำถามว่า ล็อกดาวน์ อยู่ทำไม
และเสนอให้ใช้วิธี “คลาย-ล็อก-คลาย-ล็อก สลับกันไป”
• เมษายน 2564
ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาล”คลาย”
ธนาธรตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ล็อกดาวน์ ใช่หรือไม่?
...........................................................................
รัฐบาลทำอย่างที่ธนาธรเคยเสนอเอาไว้เมื่อปีที่แล้วคือ คลาย-ล็อก-คลาย-ล็อก สลับกันไป
แล้วปีนี้เมื่อรัฐบาลสลับจาก”ล็อก”มา”คลาย”แล้ว
ทำไมธนาธรยังมีคำถามต่อไป
ตกลงว่า...
เมื่อรัฐบาลให้เลี้ยวซ้ายธนาธรอยากจะเลี้ยวขวา
แล้วพอรัฐบาลให้เลี้ยวขวาธนาธรก็อยากจะเลี้ยวซ้าย
ตกลงว่า...
รัฐบาลหรือธนาธร คือผู้บริหารราชการแผ่นดิน
ตกลงว่า...
รัฐบาลทำอะไรก็ผิดตลอด ทำอะไรก็ไม่เคยถูกใจธนาธร เลยใช่หรือไม่
ตกลงว่า...
จะล็อก-หรือคลาย เวลาไหน ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลหรือธนาธร
ตกลงว่า...
กูถูกตลอด และมึงผิดตลอด
อยากเป็นผู้ตัดสินใจ ก็ต้องเริ่มจาก เอาให้ชนะการเลือกตั้งก่อนดีมั้ย.
...........................................................................
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |