หมอชี้’โจอี้ บาซู’อาการป่วยดีขึ้น


เพิ่มเพื่อน    

 

          คณะแพทย์โรงพยาบาลจุฬาภรณ์  นำโดย พลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค ผู้ช่วยเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ฯ พร้อมทีมแพทย์ผู้รักษา โจอี้ บาซู หรือ ศุรเฎฒฌ์ กรณ์งูเหลือมโชต ที่ก่อนหน้านี้ได้เข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการสมองขาดเลือด จากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ ส่งผลให้แขนขวาซีกด้านขวาอ่อนแรง และสื่อสารได้ไม่ชัดเจน  ได้แถลงข่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับอาการของคนป่วย หอประชุมโรงเรียนนักอัลตราซาวด์การแพทย์ อาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์ เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์  

            โดยนายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค เผยว่า “วันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่ทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ภายใต้การดูแลของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะออกมาให้ข่าวเกี่ยวกับอาการป่วยของคุณโจอี้ บาซู หลังจากที่เคยให้ข่าวไปครั้งแรกแล้วว่ามีอาการเป็นอย่างไร และในวันนี้ก็เป็นวันที่รู้สึกได้ถึงความสดใส รวมถึงความกังวลก็ได้หมดไปแล้ว จากนี้เราก็เหลือแค่แผนการดูแลคนไข้ต่อก็เท่านั้นเอง

            เรารับคนไข้มาตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง พูดจาสื่อสารไม่ได้ ปัจจุบันตอนนี้คนไข้ อาการดีขึ้นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งการวางแผนการรักษาตอนนี้เราไม่ได้มองแค่จะรักษาอย่างเดียว แต่เรามองถึงการฟื้นฟูในอนาคต ที่เราร่วมมือกับทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพียงแต่ทางเราได้วางแผนในส่วนของตัวเราไว้หมดแล้ว ว่าจะรักษาคนไข้อย่างไร นับตั้งแต่วันที่ให้ออกจากโรงพยาบาล การที่เราออกมาให้ข่าววันนี้ ก็เป็นเหมือนการออกมาบอกว่าเราได้จบการรักษา ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สำหรับอาการทางสมอง ตอนนี้ถือว่าหยุดเรียบร้อยแล้ว ไม่มีอาการแทรกซ้อน มีแต่จะดีขึ้น เหลือแค่รอการฟื้นฟู”

            แพทย์หญิงธนิศรา เรืองพัฒนาวิวัฒน์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู  เผยว่า “เบื้องต้นตอนนี้คนไข้สามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองง่ายๆ ในการทำกิจวัตรประจำวัน และในเรื่องของการทานอาหารที่ตอนแรกไม่สามารถทานเองทางปากได้ แต่ตอนนี้สามารถทานได้ตามปกติแล้ว ส่วนเรื่องการสื่อสารเองก็เช่นกัน เพราะคนไข้เข้าใจเกือบทุกอย่างเลย เพียงแต่ว่าการพูดหรือการอธิบายอาจจะไม่เก่งนัก เนื่องจากยังต้องใช้เวลาในการฝึกฝนและฟื้นฟู ขณะที่การช่วยเหลือตัวเอง คนไข้สามารถ ลุกขึ้น นั่ง ยืน หรือย้ายขึ้นลงเก้าอี้ได้ดี เพียงแต่การเดินอาจจะฝึกยากหน่อย เพราะคนไข้เป็นคนตัวใหญ่ ดังนั้นต้องฝึกฝนต่อไป

            แต่ถามว่าจะสามารถกลับมาเดินได้เป็นปกติไหม โดยแนวโน้มเราต้องรอการฟื้นฟูของกล้ามเนื้อจริงๆ ถ้าหากกล้ามเนื้อมามากขึ้น ก็อาจจะสามารถเดินได้ดีขึ้น แค่เรายังไม่สามารถระบุเวลาที่ชัดเจนได้ว่าจะเป็นเมื่อไหร่  แผนการรักษาหลังจากนี้ คนไข้จะไปอยู่ในสถานดูแลพักฟื้นทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ดังนั้นก็จะมีทีมที่ดูแลคนไข้ต่อจากนี้เยอะมาก ทั้งทีมกายภาพบำบัดนักฝึกฝนฟื้นฟู และเรื่องของการฝึกพูด ดังนั้นเบื้องต้นจึงไม่มีอะไรน่ากังวล ส่วนที่คนไข้จะกลับไปอยู่ที่บ้าน คนไข้ก็อาจจะต้องฝึกฝนทักษะที่ทางโรงพยาบาลได้สอนไป เพื่อให้ไม่มีการถดถอย ดังนั้นถ้าจะถามว่าคนไข้จะดีขึ้นเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์เมื่อไหร่ เราไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เพราะขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูแลของทางบ้าน และการฟื้นฟูของคนไข้ช่วง 2 สัปดาห์ที่อยู่โรงพยาบาล คนไข้ฟื้นตัวได้เร็วมาก และ ณ ตอนนี้ก็ไม่มีอาการแทรกซ้อนอะไรเลย

            คนไข้อาจจะยังไม่สามารถอธิบายได้ทุกอย่างตามที่คิดและอยากจะพูดออกมา เพราะเรื่องของการประกอบคำพูดยังไม่เต็มร้อย แต่เรื่องของความเข้าใจคนไข้เข้าใจดี คนไข้เรียนรู้ได้ดี แต่ยังยากที่จะพูด เมื่อกี้เขาบอกว่ามีหลายอย่างที่อยากอธิบาย แต่ยากที่จะพูด เพราะคนไข้ยังมีปัญหาในการเรียบเรียงคำพูด เพราะตอนแรกที่มาเขาพูดไม่ได้เลย และไม่เข้าใจด้วย แต่ตอนนี้เข้าใจทุกอย่างแต่ยังเรียบเรียงคำพูดยาก เหตุเกิดจากตัวโรคหลอดเลือกสมองที่เสียหายในส่วนการควบคุมเรื่องการพูด

            ด้าน นายแพทย์เกรียงไกร ถวิลไพร แพทย์เฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อ กล่าวเสริมว่า “ถึงแม้ช่วงที่อยู่โรงพยาบาลคนไข้จะมีอาการปอดอักเสบ แต่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ รวมถึงอาการถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งตอนนี้ก็ดีขึ้นแล้วเช่นกัน ดังนั้นตอนนี้จึงไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง รวมถึงอาการติดเชื้อ แต่อาจจะมีแค่เรื่องของการกินและการกลืนที่ต้องระวัง“

            โจอี้ บาซู ที่กำลังจะได้กลับบ้าน ได้กล่าวสั้นๆ ว่า “คุณหมอบอกว่าตอนนี้ผมเริ่มดีขึ้น ไม่รู้ว่าจะพูดยังไง มันอธิบายยาก ก็ยินดี ดีใจ ผมเองยังไม่มีแรง แต่จะดีขึ้น ผมอยากจะขอบคุณทุกคน ทั้งสื่อมวลชนและโรงพยาบาลนี้ “

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"