ผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติประจำปี 2562
· เป้าหมายระดับประเด็นมี 37 เป้าหมาย
บรรลุเป้าหมาย 4 เป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 10.81 (สีเขียว)
ไม่บรรลุเป้าหมาย 33 เป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 89.19 (สีแดง-สีส้ม-สีเหลือง)
· เป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย มี 140 เป้าหมาย
บรรลุเป้าหมาย 19 เป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 13.57 (สีเขียว)
ไม่บรรลุเป้าหมาย 121 เป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 86.43 (สีแดง-สีส้ม-สีเหลือง)
ผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติประจำปี 2563
· เป้าหมายระดับประเด็น มี 37 เป้าหมาย
บรรลุเป้าหมาย 7 เป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 18.9 (สีเขียว)
· เป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย มี 140 เป้าหมาย
บรรลุเป้าหมาย 27 เป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 19.29 (สีเขียว)
ไม่บรรลุเป้าหมาย 113 เป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 80.71 (สีแดง-สีส้ม-สีเหลือง)
(ที่มา : รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปี 2562 – 2563 จากสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ)
จากผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ได้แสดงให้ดูข้างบนนี้จะเห็นได้ว่าหน่วยงานราชการระดับกระทรวงและระดับกรม สอบตกอย่างไม่เป็นท่า ถ้าพูดกันตามภาษาชาวบ้าน ซึงสะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของการบริหารจัดการของภาครัฐนั้น อ่อนแอทั้งผลการทำงาน รวมทั้งวิธีบริหารองค์กรที่ไม่มุ่งเน้นการบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าคุณจะมองย้อนหลังไปอีก10 – 15 ปี ก็จะมีผลในทำนองเดียวกัน ซึ่งความหวังของประชาชนที่จะได้รับอานิสงค์จากการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศก็ไม่ได้รับอานิสงค์ คือตามความหวัง น่าเสียดายเงินงบประมาณที่ใช้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติก็ละลายหายไปทำให้ได้รับผลตอบแทนองค์การขับเคลื่อนนี้ น้อยมากจริง
คำถามที่น่าจะถามกลับก็คือ ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ คำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือ รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงและอธิบดี ที่ทำการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของตน ต้องรับผิดชอบและตอบคำถามนี้ ว่า Why ? Why ? และก็ Why ?
แต่จากการศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่าความล้มเหลว ที่ไม่บรรลุเป้าหมายทั้งระดับประเด็น และระดับแผนแม่บทย่อยนั้น ผู้เขียนได้รวบรวมมาได้ดังนี้
1. ขั้น Formulation การกำหนด และถ่ายทอด (Strategy Cascading) เช่น ตัวชี้วัด (KPI)
เป้าหมายที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical Success Factors) ไม่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทที่ตั้งไว้ (ของระดับโครงการแผนงาน)
2. ขั้น Implementation ของระดับกระบวนการคิดออกแบบ (Protect DES 16ปี)ที่ส่งผลกระทบ (Impact) ต่อยุทธศาสตร์หลัก และการบริหารโครงการขาดประสิทธิภาพ และความตั้งใจที่บรรลุเป้าหมาย รวมทั้ง ขาดความพร้อมของบุคลากรในด้านความรู้ ความสามารถในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
(Strategy Readiness : Human capital Organization capital Information capital and Collaboration capital Among Strategic partners).
3. ขั้น Evaluation ขาดเครื่องมือในการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อเป้าหมาย และความสำเร็จของแผนที่ตั้งไว้
4. ขาด Baseline Data ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ หรือนำมาวิเคราะห์ในการวางแผนเพื่อให้ทราบว่าในปัจจุบันนี้เราอยู่ตรงไหน ห่างจากเป้าหมายเท่าไหร่ และต้องทำอะไรจึงบรรลุเป้าหมายได้
(ที่มา : จากการประมวลผลการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ภาครัฐ)
ถ้าปัญหาเป็นอย่างนี้ การแก้ปัญหาควรเป็นอย่างไร ?
ผู้เขียนขอเสนอ แนวทางสู่ความสำเร็จของการขับเคลื่อนโครงการ และแผนงานในระดับกรม หรือหน่วยงานโดยใช้หลัก
· มองภาพสุดท้ายแห่งความสำเร็จของโครงการว่าเป็นอย่างไร และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย ของแผนแม่บทหรือไม่
· ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และเชื่อมโยงกับเป้าหมายของแผนแม่บท (ต้องทำเท่าไหร่)
· ถ้าต้องการเป้าหมายในระดับนี้ ต้องทำอะไร ? ทำอย่างไร ?
· วิเคราะห์ข้อบกพร่อง และอุปสรรคที่ผ่านมาว่ามีอะไรบ้าง และจะก้าวข้ามไปอย่างไร
· การเตรียมความพร้อม ของทุนมนุษย์ ทุนองค์กร ทุนข้อมูลข่าวสาร และทุนการบูรณาการ กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมหรือไม่
· และสุดท้ายผู้บริหารระดับสูง มีเจตนารมณ์ ที่บรรลุเป้าหมาย ของการขับเคลื่อนโครงการ แผนงานของยุทธศาสตร์ในระดับใด มี Political will ไหม
ถ้าใช้หลักการข้างบนนี้ ผลสำเร็จก็คงบรรลุเป้าหมายตามความคาดหวัง เพราะหลักนี้ คือหัวใจของยุทธศิลป์ครับ
โดย สุธรรม ส่งศิริ
มูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |