รถไฟฯเชื่อม 3 สนามบิน เตรียมประกาศเชิญชวนเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ ร่วมลงทุน 30 พ.ค.นี้ คาดได้ตัวเอกชนปลายปีนี้ มั่นใจเปิดใช้บริการทั่งระบบในปี 67
24 พ.ค.61-นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เตรียมประกาศเชิญชวนอย่างเป็นทางการให้ผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภา เพื่อขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ( EEC )ในวันที่ 30 พ.ค.นี้ ผ่านทางเว็บไซต์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), EEC, กระทรวงคมนาคม, สถานฑูต รวมถึงช่องทางสื่อสิ่งพิมพ์ และโทรทัศน์ต่างๆ โดยกำหนดเป้าหมายให้สามารถคัดเลือกผู้เหมาะสมได้ตามแผนที่วางไว้ หรือภายในปี 2561
"โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ถือเป็น 1 ใน 5 โครงการที่สำคัญของ EEC ที่ต้องดำเนินการก่อน เป็นโครงการสำคัญของประเทศ ยกระดับการปฏิรูปประเทศ ก้าวสู่ยุค 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกฎหมายผ่านแล้ว จึงถือเป็นการเริ่มต้นนับ 1 ของโครงการ ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุด พบว่ามีเอกชนจากทั้งในและต่างประเทศประมาณ 5 กลุ่มที่สนใจเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้" นายอุตตม กล่าว
ด้านนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กล่าวว่า สำหรับกรอบระยะเวลาในการดำเนินการของโครงการนั้น ภายหลังการประกาศเชิญชวนในวันที่ 30 พ.ค.นี้แล้ว ในวันที่ 18 มิ.ย.-9 ก.ค.นี้ จะทำการเปิดขายซองเอกสารประกวดราคาจำนวน 4 ซอง จากนั้นจะมีการประชุมชี้แจงเอกชนถึงรายละเอียดของโครงการ รวมถึงตอบข้อสักถามครั้งที่ 1 ในวันที่ 23 ก.ค. และพาเอกชนผู้ซื้อซองเอกสารประกวดราคาลงพื้นที่ของโครงการในวันที่ 24 ก.ค. นอกจากนี้ จะมีการประชุมร่วมกับเอกชนครั้งที่ 2 ในวันที่ 24 ก.ย. ก่อนที่จะเปิดให้เอกชนยื่นซองประกวดราคาในรูปแบบ International Bidding ในวันที่ 12 พ.ย.นี้ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาพิจารณาประมาณ 1 เดือนและได้ผู้ชนะการประมูลภายในปีนี้ จากนั้นจะมีการเจรจาต่อรองราคา ก่อนเสนอไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. และคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ในช่วงต้นปี 2562
สำหรับมูลค่าของโครงการดังกล่าวประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยภาคเอกชนที่ร่วมลงทุนนั้น จะเป็นผู้เดินรถ พร้อมทั้งดำเนินการหาแหล่งเงินกู้ และรับภาระจากแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มูลค่าประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท รวมถึงการพัฒนาซ่อมบำรุง ตลอดระยะเวลา 50 ปี และการพัฒนาพื้นที่บริเวณมักกะสัน จำนวน 150 ไร่ พื้นที่ 2 ข้างรถไฟความเร็วสูงสถานีศรีราชา จำนวน 25 ไร่ ซึ่งเอกชนจะต้องจ่ายผลตอบแทนระยะเวลา 50 ปีให้กับการรถไฟฯ ประมาร 50,000-60,000 ล้านบาท
"ผมขอยกตัวอย่างว่าโครงการนี้มูลค่ารวมประมาณ 2 แสนล้านบาท รัฐลงทุนไม่เกิน 1.2 แสนล้านบาท เช่น ถ้าเอกชนเสนอราคามาที่ 1.2 แสนล้าน เหลือรัฐลงทุน 8 หมื่นล้าน ซึ่งถือว่าเกิดประโยชน์กับรัฐบาลมากที่สุด หรือพูดง่ายๆ ใครให้รัฐบาลลงทุนน้อยที่สุด มีประสิทธิภาพของเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากล ก็จะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าเอกชนเสนอราคามา แล้วรัฐต้องลงทุนเกินวงเงินที่กำหนดไว้ที่ 1.2 แสนล้าน ก็ต้องล้มโครงการ" นายไพรินทร์ กล่าว
นายไพรินทร์ กล่าวต่ออีกว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีจำนวนรถที่วิ่งให้บริการ จำนวน 7 ขบวน ซึ่งเพียงพอต่อการให้บริการ และคาดว่าจะวิ่งให้บริการ 9 ขบวนภายในปีนี้ และคาดว่าจะส่งมอบแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ให้กับเอกชนที่ชนะการประมูลภายในปี 2563 จากนั้นเชื่อว่าเอกชนจะจัดซื้อขบวนรถเพิ่ม เพื่อรองรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ในปี 2564
ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ประเมินว่า จะได้ผู้เข้าร่วมลงทุนไม่เกินสิ้นปีนี้ ใช้ระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 5 ปี และตั้งเป้าว่าจะสามารถใช้บริการได้ทั้งระบบได้ในปี 67 ขณะที่กรณีกรณีมีการตั้งข้อสังเกตว่าจีนจะเข้ามาฮั้วรับจ้างก่อสร้างนั้น โดยกรณีนี้เป็นการร่วมทุน มูลค่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมองว่าโครงการนี้มีความสำคัญ มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตลอดทั้งโครงการประมาณ 7 แสนล้านบาท และการร่วมทุนเปิดโอกาสให้มีผู้ร่วมทุนมาก เพราะเป็นนานาชาติไม่ใช่จัดซื้อจัดจ้าง จึงต้องให้บริษัทรัฐวิสาหกิจทำข้อตกลงว่าไม่ได้ฮั้วกัน โดยให้สถานทูตรับรอง เพื่อแก้ปัญหาการฮั้วประมูลที่อาจจะเกิดขึ้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |