24 ก.พ.61- นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์การเมือง ณ ปัจจุบันก่อนไปสู่การเลือกตั้ง ว่า ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะคำวินิจฉัยในวันที่ 30 พ.ค. นี้
ทั้งนี้ ต้องจับตาดูว่าการพิจารณาของกฎหมายจะออกมาในทิศทางใด โดยส่วนตัวมองว่าเป็นไปได้ 3 แนวทาง 1.เหมือนพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา คือ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2. มีหรือขัด แต่ไม่เป็นสาระสำคัญต้องทำให้ตกทั้งฉบับ แก้เพียงบางมาตรา บางประโยคเท่านั้น และ 3.ขัดต่อสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ ทำให้ต้องต้องร่างใหม่ ซึ่งอาจทำให้โรดแมปเลือกตั้งเคลื่อนออกไป
อย่างไรก็ตาม สมมุติว่าศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลสามารถจัดการเลือกตั้งได้ภายในเดือนก.พ. 62 แม้จะมีการประเมินว่าอาจจะจัดการเลือกตั้งในเดือนพ.ค. 62 โดยภายหลังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยื่นทูลเกล้าฯ ในเดือนมิ.ย. 61 และนับจากนั้นไปอีก 90 วันหลังพรป.ส.ส.ประกาศใช้ ในช่วงเดือนพ.ย. 61 ก็สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ภายใน 150 วันดังนั้น รัฐบาลไม่จำต้องใช้เวลาถึง 150 วันก็ได้ ใช้เพียงแค่ 60 วันเพื่อให้เลือกตั้งก.พ. 62 ได้ ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลปกติหากมีการยุบสภาก็จะให้จัดเลือกตั้งภายใน 60 วัน
ขอย้ำว่ารัฐบาลควรจัดให้มีการเลือกตั้งภายในต้นปี 62 เพราะหากยืดออกไปอีก ก็ไม่เป็นผลดีต่อคสช. เนื่องจากนายกฯได้ประกาศไว้กับนานาชาติ อีกทั้ง ส่วนตัวก็อยากให้ระบุวันเลือกตั้งให้ชัดเจน หากยังใช้เพียงแค่การประมานการก็อาจส่งผลต่อการเลือกตั้งให้เลื่อนออกไปอีก
นายปริญญา กล่าวถึงแนวคิดที่คสช.จะตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้ง ว่า เดิมคสช.เข้ามาในฐานะคนกลาง แต่ขณะนี้ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลถูกมองว่าส่วนได้เสียทางการเมือง สถานการณ์คนกลางของคสช.ที่จะเข้ามาทำเรื่องปฏิรูป ก่อนทำรัฐประหารจะหมดไป หากรัฐบาลจะคิดตั้งพรรคการเมืองจริงก็สามารถดำเนินการได้
โดยอยากให้จับตาดูว่าพรรคการเมืองของทหารนั้นจะเสนอใครเป็นนายกฯคนแรกในบัญชีรายชื่อ อีกทั้ง มองว่าหากพล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นนายกฯอีกครั้ง จำเป็นต้องมีเสียงส.ส.เกิน 250 คน บวกกับส.ว. 250 คน โดยเฉพาะเพื่อขับเคลื่อนงานในสภาอาทิ กฎหมายสำคัญและการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัววิเคราะห์ว่าระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 60 จะไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก ดังนั้น หาก คสช. อยากกลับมาเป็นนายกฯอีกครั้ง จะใช้เสียงพรรคขนาดกลาง ขนาดเล็ก รวมถึงพรรคของตัวเอง ให้เกิน 250 เสียง ต้องมีเสียงพรรคใหญ่มาร่วมด้วย
“ผมวิเคราะห์ว่าพรรคเพื่อไทยคงไม่มาร่วมรัฐบาลทหาร หรือพรรคประชาธิปัตย์คงไม่มีใครยกมือสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ดังนั้น เหลือเพียงแค่พรรคขนาดกลางและพรรคร่วมของตัวเองก็ยังไม่เพียงพอทำให้ได้ส.ส. 250 เสียง ขณะที่รัฐบาลลงพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศเพื่อชักชวนนักการเมืองต่างๆ และถ้าชวนอดีตสส.ยังไม่ได้ครบตามและเพียงต่อการขึ้นเป็นนายกฯและอยู่ต่อได้ ก็ควรจะถอยดีกว่า และกลับมาอยู่ในฐานะคนกลางเหมือนเดิมจะได้รับการยอมรับมากกว่า และให้สว. ที่คสช.แต่งตั้งทำหน้าโดยอิสระเพื่อประโยชน์ประเทศชาติ”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |