กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ชี้แนวโน้มการทุจริตโดยตกแต่งงบการเงินเพิ่มสูงขึ้น หวั่นสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ เร่งปรับกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพงานสอบบัญชี พร้อมเสริมสร้างความรู้แก่บุคลากร ป้องกันปัญหาการทุจริตในสหกรณ์
นางรัตติยา สวัสดี ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ ๒ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาการทุจริตโดยการตกแต่งงบการเงินมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เห็นได้จากการล้มละลายของบริษัทขนาดใหญ่ ในต่างประเทศหลายแห่ง ที่มีสาเหตุเกิดจากการตกแต่งบัญชีในงบการเงิน เพื่อให้ราคาหุ้นของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นและ สร้างความมั่งคั่งให้กับกิจการ เช่น การตกแต่งการเลื่อนการรับรู้รายได้หรือทยอยการรับรู้ ในปี 2545-2549 บริษัทคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง เคยใช้วิธีการนี้โดยการเก็บกำไรที่ควรจะรับรู้ในงวดนี้ไว้ในบัญชีหนี้สินแล้วทยอยเอาออกมารับรู้ในงวดถัด ๆ ไป เพื่อทำให้ยอดกำไรของบริษัทมีความสม่ำเสมอ ไม่ผันผวนให้นักวิเคราะห์ตกใจ สุดท้ายโดนคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (SEC) ปรับเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐและต้องแก้ไขงบการเงินใหม่ นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งมูลค่าสินทรัพย์ การตกแต่งรายได้ปลอม การตกแต่งการปกปิดหนี้สิน การตกแต่งไม่ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และการตกแต่งค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ซึ่งการตกแต่งบัญชีดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ในระบบการจัดทำและการนำเสนองบการเงินของกิจการ ทำให้ผู้ใช้งบการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น หรือผู้ที่เกี่ยวข้องนำงบการเงินไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจผิดพลาด โดยเฉพาะนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตลาดทุนและ สร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจในภาพรวม
การตกแต่งงบการเงินในระบบสหกรณ์ ถือเป็นการทุจริตประเภทหนึ่งที่จะต้องเฝ้าระวังไม่ให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับภาคธุรกิจอื่น เพราะทำให้งบการเงินไม่สะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริงของสหกรณ์ และระบบสหกรณ์ได้เข้ามามีบทบาทในภาคการเงินของประเทศเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจากกลุ่มตรวจสอบข้อมูลและบริการสารสนเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 จำนวนสหกรณ์ ทุกประเภทที่จะต้องตรวจสอบมีทั้งสิ้น จำนวน 6,674 แห่ง สามารถรวบรวมข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์ได้ 6,212 แห่ง มีสมาชิกรวม 12.17 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.29 ของประชากรทั้งประเทศ (ปี 2563 ประชากร ทั้งประเทศจำนวน 66.55 ล้านคน) มีมูลค่าสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3.51 ล้านล้านบาท และมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น 1.91 ล้านล้านบาท ซึ่งหากเกิดการทุจริตในระบบสหกรณ์ จะก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ สัญญาณเตือนภัยจากการตกแต่งงบการเงินในสหกรณ์ อาจพิจารณาได้จากประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 2) มีระยะเวลาการเก็บหนี้นานขึ้น 3) มีสินค้าคงคลังสูงมากผิดปกติ 4) ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น 5) ยอดขายเพิ่มสูงขึ้นแต่กำไรลดลง 6) หนี้สูญเพิ่มสูงขึ้น 7) ผู้สอบบัญชีมีการรายงานตรวจพบข้อสังเกตและความผิดปกติ 8) รายงานของผู้สอบบัญชียาวผิดปกติ 9) มีการบันทึกตัดจำหน่าย (Write-Off) บ่อยครั้ง หรือตัดจำหน่ายในรายการที่ดูซับซ้อนมากเกินไป 10) มีผลประกอบการคงที่ แม้เศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นจะมีความผันผวนสูง 11) บันทึกรายได้ค้างรับ (แต่ยังไม่ได้เงินสด) มากเกินไป 12) สหกรณ์มีกำไรสุทธิออกมาดี แต่ในงบกระแสเงินสดกลับไม่สอดคล้องกัน เป็นต้น
นางรัตติยา กล่าวอีกว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบระบบการเงิน การบัญชี การควบคุมภายใน และการดำเนินงานของสหกรณ์ ให้โปร่งใส ปราศจากการทุจริต และถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐาน จึงต้องพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานและเสริมสร้างความรู้ให้แก่บุคลากรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและรู้เท่าทันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |