รายงานสถานการณ์โควิดประจำวัน 'ศบค.' มึน!สายพันธุ์อังกฤษเจาะกลางกรุงได้อย่างไร


เพิ่มเพื่อน    

8 เม.ย. 64  -  ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 405 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 391 ราย มาจากการระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 197 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 194 ราย นอกจากนี้ เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 14 ราย ทำให้มีผู้ติดเชื้อสะสม 30,310 ราย หายป่วยสะสม 28,101 ราย อยู่ระหว่างรักษา 2,114 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ยอดสะสมคงที่ 95 ราย ขณะที่สถานการณ์โลก มีผู้ติดเชื้อสะสม 133,688,126 ราย เสียชีวิตสะสม 2,901,038 ราย  

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับผู้ติดเชื้อในพื้นที่ กทม. มี 95 ราย มาจากการระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 48 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 47 ราย อย่างไรก็ตาม หากดูกราฟแสดงจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำแนกตามความเสี่ยง จะเห็นว่าการติดเชื้อในสถานบันเทิงในพื้นที่ กทม.ไม่ใช่เพิ่งเกิด แต่เคยมีมาแล้วในช่วงต้นปี 64 ที่ผ่านมา ในสถานบันเทิงย่านปิ่นเกล้าครั้งนี้มาอีกกลุ่มย่านทองหล่อ เหตุที่ยอดพุ่งสูงเพราะพื้นที่เหล่านั้นเป็นพื้นที่ปิด มิดชิด อับ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และข้อมูลจากสำนักอนามัย กทม. ระหว่างวันที่ 22 มี.ค.จนถึงปัจจุบันที่มีการปิดสถานบันเทิงต่างๆ ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้าไปเกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 21 แห่งใน 8 เขต 

ประกอบด้วย เขตวัฒนา 9 แห่ง บางแค 1 แห่ง ภาษีเจริญ 1 แห่ง ลาดพร้าว 2 แห่ง ห้วยขวาง 4 แห่ง ดินแดง 1 แห่ง วังทองหลาง 2 แห่ง บางกะปิ 1 แห่ง โดยข้อสังเกตของการระบาดรอบนี้ส่วนใหญ่เป็นสถานบริการในรูปแบบเลานจ์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวกลางคืนที่หรูดูดี เน้นลูกค้าที่มีระดับ ราคาแพง และลูกค้าเมมเบอร์เป็นหลัก มีเด็กนั่งดริ๊งค์ และย่านที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนมีร้านประเภทเดียวกันตั้งอยู่ติดกัน     

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เมื่อช่วงเช้าวันเดียวกัน (8 เม.ย.) ได้มีการประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (อีโอซี) กระทรวงสาธารณสุข โดยได้พิจารณาเรื่องการปรับระดับพื้นที่ หรือปรับสีพื้นที่ โดยได้ข้อสรุปและจะเสนอ ศบค.ชุดเล็กว่า จะไม่มีการปรับระดับพื้นที่ หรือปรับสีพื้นที่ เพราะจะกระทบต่อการวางแผนการเดินทางของประชาชนและผู้ประกอบการที่ไม่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นเรื่องสถานบันเทิงเท่านั้น ดังนั้น มาตรการในช่วงสงกรานต์จึงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยข้อมูลจนถึงวันที่ 7 เม.ย. มีผู้ติดเชื้อที่เกี่ยวข้องสถานบันเทิงเพียง 20 จังหวัด และ 504 ราย เท่านั้น 

"ถ้าเราจะออกมาตรการไปกระทบต่อคนเรือนล้านคงไม่แฟร์และไม่ยุติธรรมกับคนอื่นๆ การใช้ยาแรงกวาดไปทั้งหมดจึงไม่เหมาะสม ผอ.ศบค.จึงมอบหมายให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พูดคุยกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอแนวทางการให้ยาเฉพาะจุดที่มีปัญหา จะเฉพาะเจาะจงลงไป โดยให้กระทรวงสาธารณสุขทำเสนอขึ้นมา ซึ่งในวันเดียวกันนี้ (8 เม.ย.) กระทรวงสาธารณสุข" โฆษก ศบค.ระบุ

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ผอ.ศบค.ให้เตรียมการตั้ง โรงพยาบาลสนาม มีความคืบหน้าอย่างไร นพ.ทวีศิลป์ กล่าว ที่ประชุมอีโอซีกระทรวงสาธารณสุขได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่องนี้ โดยหารือร่วมกับโรงพยาบาลหน่วยงานในสังกัดของมหาวิทยาลัย คณบดีหลายคนเข้าร่วมประชุม และได้บอกด้วยว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ผ่านมานี้สร้างความแออัดเกิดขึ้นแล้วในโรงพยาบาล ทั้งการขอรับการตรวจเชื้อ และเมื่อพบเคสที่มากขึ้นจึงมีการใช้เตียงมากขึ้นด้วยทั้งในภาครัฐและเอกชน ดังนั้น จึงมีแผนดังนี้ 

1.ถ้าเตียงไม่เพียงพอ จะขอขยายเตียงในแต่ละโรงพยาบาลให้เพิ่มมากขึ้น 2.ถ้ายังไม่เพียงพอ ขอให้เปิดมาตรการการใช้สถานที่กักตัวโดยใช้โรงแรมต่างๆ ที่เข้ามาอยู่ในระบบ แล้วให้โรงพยาบาลเข้าประกบเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งใช้ในกรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการไม่มาก 3.ทางกระทรวงสาธารณสุขขอให้จังหวัดต่างๆ เริ่มมีการจัดเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลสนามเอาไว้ ขณะนี้มีหลายจังหวัดที่มีการแพร่กระจายเชื้อโรคมีการสั่งการให้เตรียมความพร้อมแล้ว 

เมื่อถามว่า สายพันธุ์โควิด-19 จากอังกฤษเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร และจะต้องมีการปรับเรื่องการกักตัวหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า อาจารย์โรงเรียนแพทย์ได้พูดถึงเรื่องดังกล่าวว่าสายพันธุ์อังกฤษนั้นสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว จึงมีความกังวลว่าอาจจะต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าเดิมในการดูแลซึ่งเดิมดูแลกัน 10 วัน ต้องขยายเป็น 14 วัน ในการดูแลรักษาพยาบาล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอย่างเต็มที่ เนื่องจากเคยมีกรณีเช่นนี้มาก่อนว่าอยู่ในสถานกักตัวแล้วเมื่อครบ 14 วันออกมาแล้วยังพบว่ามีการติดเชื้อซ้ำได้ ดังนั้น การดูแลรักษาหากเป็นสายพันธุ์อังกฤษต้องมีการบำบัดรักษาดูแลอย่างใกล้ชิด

ส่วนกรณีที่มีความสงสัยกันว่าสายพันธุ์อังกฤษนี้มาจากไหนนั้นยังไม่มีคำตอบ ช่วงเวลาขณะนี้คณะกรรมการสอบสวนโรคของกรมควบคุมโรคจะต้องลงไปหาเหตุให้ได้ จากเดิมในระบบระบุว่าหากมาจากต่างประเทศต้องมีการกักตัว แต่ในครั้งนี้เป็นการเข้ามาถึงในใจกลางเมือง เช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่ประชุมได้หารือพูดคุยกันแล้วว่าจะต้องหาคำตอบให้ได้ ซึ่งอธิบดีกรมควบคุมโรคได้เน้นในเรื่องดังกล่าวว่าจะต้องสอบสวนโรคเพื่อหาให้ได้รหัสพันธุกรรมให้ได้จำนวนมากขึ้นแล้วใช้หลักการวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์เพื่อให้บอกได้ว่าตัวนี้มาได้อย่างไร ขอให้ทางกรมควบคุมโรคเป็นผู้ให้ แต่เวลานี้ยังไม่ทราบ 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า นายกฯได้แสดงความห่วงใยและยังได้ย้ำว่ามาตรการไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมาและมีความเข้มข้นขนาดไหน เมื่อทำทุกอย่างทั้งหมดแล้วไม่มีมาตรการใดที่ดีที่สุด ทุกอย่างล้วนแต่โยงไปกับบางกิจการกิจกรรมขึ้นอยู่กับสถานการณ์และห้วงระยะเวลา เพราะปีที่แล้วเรามีมาตรการเข้มอย่างมากและสามารถกดตัวเลขผู้ติดเชื้อลงได้เป็นศูนย์ แต่ผลกระทบมีมาก จากนั้นเราผ่อนคลายมาจนกระทั่งมาเกิดเหตุขึ้นอีก ดังนั้น ที่สุดแล้วเราต้องการความร่วมมือจากประชาชน ไม่ว่ามาตรการใดออกมาหากไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดผลเสีย จึงขอให้ทุกคนมีมาตรการส่วนตัว ใส่ใจอยู่เสมอว่าทุกคนมีส่วนสำคัญในการควบคุมป้องกันโรค โควิด-19 เราจะไปด้วยกันและเราต้องชนะให้ได้ อย่างไรก็ตาม การแถลงข่าวของ ศบค. ยังคงเป็นวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ เช่นเดิม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"