7 เม.ย.64 - มีความเคลื่อนไหวรณรงค์ล่า 1 ล้านรายชื่อเพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 อย่างต่อเนื่อง ของเครือข่าย "Re-Solution ถึงเวลารัฐธรรมนูญใหม่" ประกอบด้วย คณะก้าวหน้า, กลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า, พรรคก้าวไกล และโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ภายใต้คอนเซปต์ "ขอคนละชื่อรื้อระบอบประยุทธ์"
สาระสำคัญของกลุ่มดังกล่าว ต้องการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยพุ่งเป้าไปที่ 4 ประเด็นหลัก คือ 1.ล้มวุฒิสภา จัดให้มีสภาเดี่ยว (สภาผู้แทนราษฎร) 2.โละศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ ปฏิรูปที่มาอำนาจการตรวจสอบ 3ยก.เลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูป ปลดโซ่ตรวนอนาคตประเทศ 4.ล้างมรดกรัฐประหาร หยุดวงจรอุบาทว์ขวางประชาธิปไตย
ล่าสุดคณะก้าวหน้าได้เผยแพร่ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับเต็ม) รื้อระบอบประยุทธ์ หยุดยื้อเวลาเผด็จการ
ที่น่าสนใจใน “หมวด ๑๑" ว่าด้วย "ศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
มาตรา ๒๐๐ ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่พิทักษ์ประชาธิปไตยและนิติรัฐ รักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด การใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญต้องคำนึงถึงอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยหลักการแบ่งแยกอำนาจ และหลักการประกันสิทธิและเสรีภาพ
มาตรา ๒๐๑ ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเก้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของประธานสภาผู้แทนราษฎรจากบุคคลดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกดํารงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกโดยสภาผู้แทนราษฎร จำนวนสามคน
(๒) บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกโดยสภาผู้แทนราษฎรจำนวนสามคน
(๓) ผู้พิพากษาในศาลฎีกาหรือตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเสนอชื่อให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกจำนวนสามคน
มาตรา ๒๐๒ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๓) เป็นผู้เคารพและยึดมั่นหลักการนิติรัฐ หลักการประชาธิปไตย และไม่ฝักใฝ่เผด็จการ
(๔) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
(๕) เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์อย่างเป็นที่ประจักษ์ ในด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ วิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ หรือรัฐศาสตร์
มาตรา ๒๐๓ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นหรือเคยเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระใด
(๒) เคยดำรงตำแหน่งในองค์กรใดที่ตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ โดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หรือโดยประกาศ คำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(๓) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๔ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙)(๑๐) (๑๑) หรือ (๑๗)
(๔) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำ โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะห้าปีก่อนเข้ารับการคัดเลือก
(๖) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมืองในระยะห้าปีก่อนเข้ารับการคัดเลือก
(๗) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจํา
(๘) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
(๙) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือองค์กรที่ดำ เนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
(๑๐) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
มาตรา ๒๐๔ การเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๐๑ (๑) ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้พรรคการเมืองที่สมาชิกดํารงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอชื่อบุคคลสมควรดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนหกคน โดยการเสนอชื่อบุคคลของแต่ละพรรคการเมืองนั้นต้องแบ่งสันปันส่วนตามจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมือง
(๒) ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเรียกประชุมเพื่อมีมติเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (๑) ซึ่งต้องกระทำ โดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้สามคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(๓) ในกรณีที่จำนวนผู้ได้รับเลือกมีไม่ครบสามคน ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกมาให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป และในกรณีนี้ ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำ นวนและมีคะแนนมากกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินสามคน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก
มาตรา ๒๐๕ การเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๐๑ (๒) ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้พรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดํารงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนหกคน โดยการเสนอชื่อบุคคลของแต่ละพรรคการเมืองนั้นต้องแบ่งสันปันส่วนตามจำ นวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมือง
(๒) ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเรียกประชุมเพื่อมีมติเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (๑) ซึ่งต้องกระทำ โดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้สามคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(๓) ในกรณีที่จำนวนผู้ได้รับเลือกมีไม่ครบสามคน ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกมาให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป
และในกรณีนี้ ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำ นวนและมีคะแนนมากกว่าสองในสามของจำ นวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินสามคน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก
มาตรา ๒๐๖ การเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๐๑ (๓) ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเสนอชื่อผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนสามคน และที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเสนอชื่อตุลาการศาลปกครองสูงสุดซึ่งสมควรดำ รงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนสามคน เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเลือก
(๒) ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเรียกประชุมเพื่อมีมติเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (๑) ซึ่งต้องกระทำ โดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้สามคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่าสองในสามของจำ นวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(๓) ในกรณีที่จำนวนผู้ได้รับเลือกมีไม่ครบสามคน ให้นำ รายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกมาให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไปและในกรณีนี้ ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำ นวนและมีคะแนนมากกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินสามคน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก
มาตรา ๒๐๗ ให้บุคคลซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๔ มาตรา ๒๐๕ และมาตรา ๒๐๖ ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรทราบ
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๐๘ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
มาตรา ๒๐๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๐๒ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๓
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) มีอายุครบเจ็ดสิบห้าปี
(๕) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พ้นจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้า ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เพราะเหตุฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะร้ายแรง
(๖) พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๙๓/๑ และมาตรา ๑๙๓/๒
มาตรา ๒๑๐ ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งหมด ให้เริ่มดำเนินการตามมาตรา ๒๐๔ ถึงมาตรา ๒๐๖ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ดำ เนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๔ ให้ดำ เนินการตามมาตรา ๒๐๔ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
(๒) ในกรณีที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๕ ให้ดำ เนินการตามมาตรา ๒๐๕ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
(๓) ในกรณีที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๖ ให้ดำ เนินการตามมาตรา ๒๐๖ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
มาตรา ๒๑๑ ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยมาตรา ๕ และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ในระหว่างนั้น ให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคําโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบต่อคําพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว เว้นแต่ในคดีอาญาให้ถือว่าผู้ซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยมาตรา ๕ นั้น เป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิดดังกล่าว หรือถ้าผู้นั้นยังรับโทษอยู่ก็ให้ปล่อยตัวไป แต่ทั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใดๆ
มาตรา ๒๑๒ ในกรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ระหว่างสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
มาตรา ๒๑๓ องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าเจ็ดคน คำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญให้ถือตามเสียงข้างมาก เว้นแต่จะมีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
ในกรณีที่มติวินิจฉัยมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้คำร้องเป็นอันตกไปคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเฉพาะในส่วนของผลของคำวินิจฉัย ให้มีผลเป็นการทั่วไปและเป็นเด็ดขาด ผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๑๔ ให้มีสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นหน่วยธุรการที่เป็นอิสระโดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญการแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องมาจากการเสนอของประธานศาลรัฐธรรมนูญและได้รับความเห็นชอบจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามที่กฎหมายบัญญัติ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๒๑๕ ห้ามมิให้ศาลรัฐธรรมนูญกระทำการใดอันมีผลเป็นการขัดขวางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |