ปลุกกระแสท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา - แหล่งซากดึกดำบรรพ์จ.กระบี่


เพิ่มเพื่อน    

กรมทรัพยากรธรณีปลุกกระแสท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา-แหล่งซากดึกดำบรรพ์จังหวัดกระบี่ ดึงชุมชน-องค์กรท้องถิ่นร่วมพัฒนาแหล่งซากดึกดำบรรพ์ “ไฮยีนาลายจุด” ถ้ำยายรวกยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาระดับประเทศ  

 

 

          นายมนตรี  เหลืองอิงคะสุต  รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวภายหลังนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ด้านธรณีวิทยา ธรณีพิบัติภัย ซากดึกดำบรรพ์ และธรรมชาติวิทยาในพื้นที่จังหวัดกระบี่ว่า ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีมีภารกิจสำคัญในการสงวน  อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และ ธรณีพิบัติภัย โดยการสำรวจ การตรวจสอบ การศึกษา และการวิจัยสภาพธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี และกำกับดูแลเขตพื้นที่สงวน พื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรธรณีและพื้นที่เสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัย เพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรณีอย่างยั่งยืน  

          สำหรับจังหวัดกระบี่ปัจจุบันเป็นจังหวัดที่ได้รับการยอมรับว่ามีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายและล้วนมีชื่อเสียงระดับประเทศและทั่วโลกมากมาย  เช่น  เกาะพีพีเล  เกาะพีพีดอน  สระมรกต น้ำตกร้อนและสุสานหอย  เป็นต้น   กรมทรัพยากรธรณีจึงได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่เพื่อเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านแหล่งซากดึกดำบรรพ์และการจัดการท่องเที่ยวเชิงธรณีสู่ชุมชน  ตลอดจนศึกษาแนวทางการปลูกจิตสำนึกให้แก่ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของแหล่งซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ให้เกิดความรักและความหวงแหน ดูแลรักษาและการอนุรักษ์แหล่งธรณีอย่างยั่งยืน

 

          ล่าสุดได้มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ “ไฮยีนาลายจุด” (Crocuta crocuta) ที่บริเวณถ้ำเขายายลวก บ้านถ้ำเพชร  ตำบลอ่าวลึกเหนือ  อำเภออ่าวลึก เป็นการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีชีวิตในสมัยดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดอายุราว 400,000 ปีและเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้อายุทางธรณีวิทยาและสภาพแวดล้อมบรรพกาลที่เป็นทุ่งหญ้าสะวันนาในอดีต ซึ่งนับเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้อายุทางธรณีวิทยาและสภาพแวดล้อมบรรพกาลที่เป็นทุ่งหญ้าสะวันนาในอดีต    

          “หลังการค้นพบได้มีการเปรียบเทียบลักษณะสัณฐานวิทยาของฟันที่ค้นพบภายในถ้ำยายรวกกับซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบในแหล่งอื่นๆและเปรียบเทียบกับตัวอย่างฟันสัตว์ในปัจจุบัน ซึ่งจำนวนและความสมบูรณ์ของซากดึกดำบรรพ์ชี้ให้เห็นว่าแหล่งซากดึกดำบรรพ์ถ้ำยายรวกมีศักยภาพเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถพัฒนาสำหรับการเรียนรู้ทางด้านธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาของบุคคลทั่วไป การศึกษาวิจัยของนักวิชาการ และการอนุรักษ์และท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ซึ่งการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไฮยีนาลายจุด ชี้ให้เห็นว่าแหล่งซากดึกดำบรรพ์ถ้ำยายรวกมีศักยภาพเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถพัฒนาสำหรับการเรียนรู้ทางด้านธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาของบุคคลทั่วไป การศึกษาวิจัยของนักวิชาการและการอนุรักษ์และท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต”  นายมนตรี  กล่าว 

 

         

          “ที่ผ่านมานายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้นโยบายเกี่ยวกับแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย  โดยตอกย้ำให้มีการบูรณการความร่วมมือด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวธรณีวิทยาและด้านอื่นๆที่กรมรับผิดชอบร่วมกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  เช่น กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชว่าสามารถในเรื่องของการศึกษาเชื่อมโยงกับแหล่งธรรมชาติด้านอื่นๆได้อย่างไง  รวมทั้งดึงชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์  พัฒนา ฟื้นฟูและบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนของตนเองเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด  สามารถสร้างรายได้และเกิดเศรษฐกิจในชุมชนแบบยั่งยืนในอนาคต”  นายมนตรี  กล่าว     


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"