4 เมษายน 2564 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 2” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,316 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็น ผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 2 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 2 ร้อยละ 24.77 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 3 ร้อยละ 11.93 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อันดับ 4 ร้อยละ 8.66 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 5 ร้อยละ 4.26 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือพรรคก้าวไกล อันดับ 6 ร้อยละ 3.95 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.89 ระบุว่าเป็น น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 8 ร้อยละ 2.81 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 9 ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ อันดับ 10 ร้อยละ 1.59 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อันดับ 11 ร้อยละ 1.52 ระบุว่า ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) และร้อยละ 2.75 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ อื่น ๆ ได้แก่ นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย นายกรณ์ จาติกวณิช นางนวลพรรณ ล่ำซำ จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
และเมื่อเปรียบเทียบกับอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้สมัคร จากพรรคเพื่อไทย น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ และดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ มีสัดส่วนลดลง ในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และไปลงคะแนนไม่เลือกใคร (Vote NO) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงปัญหาที่ประชาชนอยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ เร่งแก้ไขมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.40 ระบุว่า ปัญหาการจราจร รองลงมา ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ร้อยละ 28.50 ระบุว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง น้ำเสีย ร้อยละ 26.90 ระบุว่า ปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 21.66 ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ ร้อยละ 20.29 ระบุว่า ปัญหาถนน/ทางเท้า ชำรุด ร้อยละ 18.77 ระบุว่า ปัญหาเรื่องขยะและความสะอาด ร้อยละ 7.45 ระบุว่า ปัญหาการศึกษา ร้อยละ 7.37 ระบุว่า ปัญหาหาบเร่ แผงลอย ร้อยละ 6.46 ระบุว่า ปัญหาสุขภาพ/สาธารณสุข ร้อยละ 5.09 ระบุว่า ปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชน ร้อยละ 1.67 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 0.53 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาระบบขนส่งสาธารณะ คนเร่ร่อน และสุนัขจรจัด
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |