3เม.ย.54-นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า กทพ.ได้ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในการบูรณาการร่วมกันถึงมาตรการความปลอดภัยบนทางพิเศษด้วยกล้องตรวจจับความเร็ว และกล้องตรวจจับรถยนต์วิ่งไหล่ทางซ้าย (ช่องทางฉุกเฉิน) รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้ใช้ทางพิเศษ จึงได้จัดทำแผนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุในทางพิเศษ ประจำปีงบประมาณ 2563-2565
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว ประกอบด้วย 2 มาตรการ ประกอบด้วย 1.การติดตั้งป้ายแจ้งเตือนความเร็ว (Your Speed Sign) ที่ทำงานควบคู่กับกล้องตรวจจับความเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้ทางพิเศษใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด โดย กทพ. จะติดตั้งให้ครอบคลุม 4 สายทางพิเศษ (ทางด่วน) จำนวน 17 จุด ซึ่งขณะนี้ได้ติดตั้งแล้วเสร็จ จำนวน 2 เส้นทาง ตั้งแต่ ก.พ. 2564 ได้แก่ ทางด่วนพิเศษบูรพาวิถี จำนวน 4 จุด และทางด่วนเฉลิมมหานครจำนวน 5 จุด สำหรับอีก 2 เส้นทางที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ คือ ทางด่วนกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) จำนวน 4 จุด คาดว่าจะแล้วเสร็จ ก.ย. 2564 และทางด่วนฉลองรัฐ จำนวน 4 จุด คาดว่าจะแล้วเสร็จ ก.ย. 2565
2.การติดตั้งกล้องตรวจจับรถยนต์วิ่งไหล่ทางซ้าย (ช่องทางฉุกเฉิน) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในไหล่ทาง โดย กทพ.จะดำเนินการติดตั้ง จำนวน 32 จุด บนทางด่วน 4 สายทาง ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 1 สายทาง คือ ทางด้วนกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)จำนวน 10 จุด ส่วนอีก 3 เส้นทางอยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2564 คือทางด่วนเฉลิมมหานคร จำนวน 6 จุด ทางด่วนฉลองรัช จำนวน 8 จุด และทางด่วนบูรพาวิถี จำนวน 8 จุด อย่างไรก็ตาม หลังจากติดกล้องตรวจจับรถยนต์วิ่งไหล่ทางซ้ายไปแล้ว 1 สายทาง ยอมรับว่า มีสถิติรถวิ่งบนไหล่ทางมาก เพราะไหล่ทางมีขนาดกว้าง
นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่ออีกว่า ขั้นตอนการดำเนินงานนั้น กทพ. จะรวบรวมข้อมูลผู้กระทำผิดพร้อมไฟล์ภาพจัดส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย โดยจะเริ่มส่งข้อมูลให้ สตช. ในวันที่ 5 เม.ย. 2564 ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ในการติดตั้งกล้องนั้น จะพิจารณาจากบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา พบว่า สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วนในปีงบประมาณ 2563 มีมากกว่า 800 ครั้งทำให้มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 440 ราย และเสียชีวิตจำนวน 7 ราย ซึ่งเกือบ 50% ของอุบัติเหตุมาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ใช้ความเร็วสูง รวมถึงการวิ่งบนไหล่ทาง ส่งผลให้มีการเปลี่ยนช่องทางกระทันหันขึ้น
ด้าน พ.ต.อ.ชูตระกูล ยศมาดี รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.สมุทรปราการ กล่าวว่า ตามกฎหมายตำรวจใช้ พ.ร.บ.จราจรทางบก ในปัจจุบันยังใช้กฎหมายเดิมปี 2522 แต่ในภาคปฏิบัติจับความเร็วเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนความผิดจะผิดในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขณะที่การระงับการต่อทะเบียนรถ อยู่ระหว่างหาข้อสรุปกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) โดยทางตำรวจจะมีการสรุปสถิติว่า รถคันใดมีความผิดจำนวนครั้งมาก ก็จะคัดกรองรถส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |