อดีตรองนายกฯ เปิดบันทึก 'ฟรังซัว ตุรแปง' ไม่มีประเทศใดในโลกที่คนโกงมีวิธีพลิกแพลงมากเท่ากับประเทศสยาม


เพิ่มเพื่อน    

3 เม.ย.64 - นายปองพล อดิเรกสาร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า "ผมได้เคยโพสต์บันทึกของฟรังซัว ตุรแปงซึ่งอ้างถึงข้อมูลจากบาทหลวงบรีโกต์ผู้เคยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาหลายปีจนกระทั่งกรุงแตกถึงนิสัยใจคอของชาวสยามหลายข้อด้วยกัน มีข้อหนึ่งที่ยังทันสมัยอยู่จึงขอนำมาโพสต์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

"ไม่มีประเทศใดในโลกที่คนทุจริตจะมีวิธีพลิกแพลงมากเท่ากับในประเทศสยาม มีคนชำนาญการในการทำให้คดียุ่ง สามารถทำให้เรื่องร้ายที่สุดกลับไปในทางดีได้ และเขาจะเรียกร้องค่าตอบแทนอย่างสูงทีเดียว""

สำหรับ ฟรังซัว ตุรแปง ข้อมูลในวิกิพีเดีย  สารานุกรมเสรี ระบุว่า เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2252 อันตรงกับปีที่ 2 ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่ง ราชวงศ์บ้านพลูหลวง ที่เมือง ก็อง เขาเป็นศาสตราจารย์คนแรกของมหาวิทยาลัยในบ้านเกิดของเขา

ในปี พ.ศ. 2314 ตุรแปงได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยามหรือประเทศไทยในปัจจุบันไว้ชุดหนึ่งชื่อ "Histoire naturelle et civile du royaume de Siam" มีทั้งหมด 2 เล่มโดยมาจากการบันทึกคำพูดของบาทหลวง ปีแยร์ บรีโก บาทหลวงและอดีตประมุขแห่งคณะ มิสซังสยาม ที่เคยมาพำนักในสยามช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ รวมถึงภาษาไทย

โดยในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2522 ทางกรมศิลปากรได้ให้คุณ สมศรี เอี่ยมธรรม เป็นผู้แปลหนังสือเล่มที่ 2 ของหนังสือชุด Histoire naturelle et civile du royaume de Siam โดยแปลจากฉบับภาษาอังกฤษและใช้ชื่อว่า "ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง" ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทางกรมศิลปากรได้ให้คุณ ปอล ซาเวียร์ เป็นผู้แปลหนังสือเล่มที่ 1 ของหนังสือชุด Histoire naturelle et civile du royaume de Siam โดยใช้ชื่อว่า ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม

ตุรแปงถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2342 ตรงกับปีที่ 17 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สิริรวมอายุได้ 90 ปี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"