ทะลุ 130 ล้านไปแล้ว'หมอธีระ'แนะ4แนวทางต่อสู้กับการแพร่ระบาดโควิด


เพิ่มเพื่อน    


02 เม.ย.64 - นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กรายงานสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก 2 เมษายน 2564 มีเนื้อหาดังนี้
ทะลุ 130 ล้านไปแล้ว แนวโน้มการระบาดรุนแรงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 701,041 คน รวมแล้วตอนนี้ 130,133,821 คน ตายเพิ่มอีก 11,610 คน ยอดตายรวม 2,838,716 คน
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 75,696 คน รวม 31,239,879 คน ตายเพิ่ม 908 คน ยอดเสียชีวิตรวม 566,237 คน
บราซิล ติดเพิ่ม 86,586 คน รวม 12,839,844 คน ตายเพิ่มถึง 3,398 คน ยอดเสียชีวิตรวม 325,284 คน  
อินเดีย ติดเพิ่ม 81,441 คน รวม 12,302,110 คน  
ฝรั่งเศส รายงานเพิ่ม 50,659 คน รวม 4,695,082 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 9,169 คน รวม 4,554,264 คน

อันดับ 6-10 เป็น สหราชอาณาจักร อิตาลี ตุรกี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่นต่อวัน
ตุรกีติดเชื้อเกินสี่หมื่นต่อวัน กำลังโดนระลอกสามขาขึ้นอย่างหนัก จำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดขณะนี้มากกว่าระลอกแรกถึง 4 เท่า
แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงบังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น
ญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่การระบาดระลอกสี่ ตอนนี้ติดเกินสองพันคนต่อวัน ในขณะที่แคนาดาก็เข้าสู่การระบาดระลอกสามชัดเจน มากกว่าห้าพันคนต่อวัน

แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่หลักร้อยถึงพันกว่า นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์ล้วนอยู่ในสถานการณ์ระบาดที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่นอย่างต่อเนื่อง
เกาหลีใต้ ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ฮ่องกง เมียนมาร์ ไทย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่นิวซีแลนด์ ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ

...ในการต่อสู้กับโรคระบาดรุนแรงแบบโควิด-19 นี้ สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับแต่ละประเทศทั่วโลกคือ

หนึ่ง "การสร้างนโยบายหรือมาตรการที่ใช้หลักฐานวิชาการแพทย์ที่ถูกต้อง เป็นแสงส่องทาง" เราเห็นบางประเทศที่ไม่ได้ปฏิบัติเช่นนี้จนนำมาซึ่งการระบาดรุนแรงอย่างยาวนาน จึงควรจำไว้เป็นบทเรียน อย่ารนหาที่ เพราะการก้าวพลาดเพียงครั้งเดียวจะนำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตคนจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อระบบสังคมเศรษฐกิจตามมาอย่างที่แก้ไขได้ยาก

สอง "การทำงานนั้นย่อมเกิดปัญหา หรือข้อผิดพลาดได้เสมอ แต่ต้องยอมรับความจริง" รับว่ามีข้อผิดพลาด ชี้แจงแถลงไขให้คนในสังคมได้รับรู้รับทราบ จะได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันคิดร่วมกันแก้ไข แต่หากสังคมใดประเทศใด เห็นแต่ปรากฏการณ์ที่หน่วยงานต่างๆ ไม่เคยยอมรับว่าผิดพลาดเลยแม้แต่น้อย ทั้งที่เห็นกันอยู่โต้งๆ จะถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายที่ทำให้คนในสังคมไม่ไว้ใจ ไม่เชื่อถือ เพราะสุดท้ายการปัดฝุ่นไปซุกไว้ใต้พรมนั้น วันใดวันหนึ่งย่อมมีการถูกเปิดขึ้นมาและฟุ้งกระจายให้เห็น และเมื่อถึงเวลานั้น public mistrust ที่เกิดขึ้นจะแก้ไขได้ยากยิ่งนัก โดยจะส่งผลต่อการดำเนินงานอื่นๆ อืกมากมาย และย่อมทำให้ภูมิคุ้มกันทางสังคมอ่อนแอในระยะยาว ดังนั้นก็ย่อมเป็นไปตามสุภาษิตที่เราได้เรียนรู้กันมาว่า "คนดีชอบแก้ไข...คนอะไรชอบแก้ตัว"นั่นเอง

สาม ระลึกไว้เสมอว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มักต้องมีเหตุผลอธิบายเสมอ จริงอยู่อาจเกิดจากความบังเอิญได้บ้าง แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นมีน้อยมาก การใช้เหตุผลประเภท"เหตุบังเอิญร่วม"เพื่อจบเรื่องให้คนเข้าใจว่าเกิดเพราะโชค หรือเป็นจังหวะปะเหมาะเคราะห์ร้ายเองนั้น จึงไม่ควรประพฤติปฏิบัติพร่ำเพรื่อจนเป็นนิสัย เพราะนั่นหมายถึงการสร้างบรรทัดฐานของการขาดความเป็นเหตุเป็นผล และระยะยาวจะเปลี่ยนวัฒนธรรมความคิดจาก"วิทยาศาสตร์"ไปเป็น"ไสยศาสตร์" ซึ่งอันตรายอย่างยิ่ง

และสี่ "ไม่ปกปิดหมกเม็ดหรือบิดเบือนข้อมูล"

หากทุกประเทศทั่วโลกทำดังเช่นที่กล่าวมา โอกาสสู้กับโรคระบาดแล้วชนะจะมีสูงขึ้น
เหนืออื่นใด ขอให้พวกเราทุกคนใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ใช้ความรู้ที่ถูกต้องเป็นแสงส่องทาง ช่วยในการตัดสินใจเพื่อรักษาสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตครับ
ด้วยรักและปรารถนาดีเสมอ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"