02 เม.ย.64 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า
1 เมษายน พ.ศ. 2448
“เลิกทาส”
ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงประกาศเลิกทาสมานานถึง 116 ปีแล้ว แต่ยังมีนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองหลอกลวงและปลุกระดมล้างสมองเยาวชนและประชาชนว่า คนไทยเป็นไม่เป็นไท ยังคงเป็นไพร่เป็นทาส ทั้งที่ความจริงคนไทยทุกคนมีสิทธิเสรีภาพและมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขมาตลอดเวลา
ที่น่าแปลกใจคือ ทำไมและอะไรทำให้เยาวชนและประชาชนคิดว่าตนเองเป็นไพร่และเป็นทาส ที่ขาดสิทธิเสรีภาพ และอิสรภาพ
............................................................................
การเลิกทาสและเลิกไพร่ เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ประมาณว่าไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ เพราะเหตุว่าพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป ทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะตามกฎหมายถือว่ายังมีค่าตัวอยู่
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศ "พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย" เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่
โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปีเป็นทาสอีก
เมื่อถึง พ.ศ. 2448 ก็ทรงออก "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124" ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไทเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2448 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว
............................................................................
• การเลิกไพร่
ขนบไพร่นี้บังคับให้ราษฎรอายุตั้งแต่ 15-16 ปี จนถึง 70 ปี ต้องทำงานรับใช้หรือส่งส่วยให้แก่ชนชั้นปกครอง แบ่งออกเป็นไพร่หลวง ไพร่สมและไพร่ส่วย ไพร่มีกำหนดรับราชการเดือนเว้นเดือน ในสมัยอยุธยา ปีละ 6 เดือน ลดลงมาเหลือปีละ 4 เดือนในสมัยรัชกาลที่ 1 และเหลือ 3 เดือนในรัชกาลที่ 2 หากไม่อยากรับราชการก็ต้องจ่าย "ค่าราชการ" เดือนละ 6 บาท
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กราบทูลเสนอความคิดเห็นว่า ควรให้ราษฎรเสียค่าราชการปีละ 6 บาทโดยเท่ากัน และให้งดการเกณฑ์แรงชั่วคราว ใช้วิธีเกณฑ์จ้างแทน
พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารนี้ ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการยกเลิกขนบไพร่ ประกาศใช้ในมณฑลนครศรีธรรมราช ปัตตานี สุราษฎร์ ภูเก็ตและเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2458 (สมัยรัชกาลที่ 6)
ด้วยความที่ว่าการยกเลิกขนบไพร่เป็นการปลดทุกข์ของราษฎรทุกตำบลทั่วราชอาณาจักร จึงมีความเห็นว่าการยกเลิกขนบไพร่สำคัญยิ่งกว่าการยกเลิกขนบทาสเสียอีก
เพราะราษฎรได้รับการส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจ มีเวลาทำมาหากินได้เต็มที่ และไม่มีใครรังเกียจเหมือนแต่ก่อน
อย่างไรก็ตาม การเสียเงินรัชชูปการ (ภาษีรายหัว) ซึ่งใช้แทนการเกณฑ์แรงงานนั้นมาสิ้นสุดลงในปี 2482
............................................................................
ที่มา: วิกิพีเดีย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |