บีซีจีนโยบายเปลี่ยนโลก


เพิ่มเพื่อน    

 

                ในยุคปัจจุบันที่โลกได้รับผลกระทบมาจากหลายๆ  ด้าน ทิศทางของการดำเนินชีวิตมนุษย์มีการปรับเปลี่ยนไป คนเริ่มหันมาสนใจในสิ่งคล้ายๆ กันมากขึ้น ที่เรียกว่าเป็นกระแสของโลก ซึ่งปัจจุบันที่คนเริ่มต้นที่จะสนใจการใช้ชีวิตมากขึ้น ทั้งเรื่องสุขภาพ ร่างกาย รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่ถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่จะต้องอยู่ร่วมกันต่อไป โดยในปัจจุบันที่เรื่องสิ่งแวดล้อมเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ทำให้เกิดเทรนด์ความสนใจในเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมา โดยหนึ่งในนั้นคือการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ที่นำเอาเทรนด์ที่เกิดขึ้นมาผนวก

            นั่นก็คือโมเดล บีซีจี หรือมุ่งเน้นการสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ หรือไบโออีโคโนมี (Bioeconomy) เพื่อเพิ่มมูลค่าเน้นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือเซอร์คูลาร์ อีโคโนมี (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว หรือกรีน อีโคโนมี (Green Economy) เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล

            ซึ่งการที่สังคมนำการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเข้ามาผนวกกับการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น เนื่องจากจะเป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของโลกในวงกว้าง และจะถูกกระจายไปในทุกภาคส่วนนอกเหนือจากเศรษฐกิจ ขณะที่ประเทศไทยนั้นก็มีการดำเนินงานเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยในส่วนของรัฐบาลเองก็เห็นเรื่องนี้เป็นวาระสำคัญ โดยหนึ่งในหน่วยงานที่อยู่ภายใต้รัฐและดำเนินงานเรื่องบีซีจี ก็คือสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้มีการเร่งขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี อีโคโนมี โมเดล หลังรัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ชูแนวคิดดึงคนรุ่นใหม่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกัน พร้อมทั้งพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมไทยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน  

            โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้มุ่งเน้นไปที่ 4 เป้าหมายหลัก คือ 1.สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ เน้นเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างโมเดลธุรกิจและผู้ประกอบการใหม่ 2.สร้างความยั่งยืนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ลดของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม 3.สร้างความยั่งยืนให้ภาคอุตสาหกรรมตามนโยบายตลาดและนวัตกรรมนำอุตสาหกรรมไทย และ 4.ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมนำไปใช้ประโยชน์ในองค์กรและเกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกคนให้ความสำคัญ

            โดย นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการ สศอ. ได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบเศรษฐกิจดังกล่าว จึงได้จัดทำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการบูรณาการทำงานของทุกภาคส่วน ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งสร้างมูลค่าสูงสุดจากทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่กับการลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ เน้นการปรับโครงสร้างการผลิตสู่รูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและครบวงจร 

            ตั้งแต่การผลิต การบริโภค การจัดการของเสีย จนถึงการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดของเสีย และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ทรัพยากร ปรับกระบวนการผลิตและการออกแบบให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ การเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่โดยนำของเสีย/วัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการปรับรูปแบบธุรกิจสู่โมเดลธุรกิจหมุนเวียน 

                โดยการดำเนินการดังกล่าวนั้นเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะพัฒนาให้ทิศทางการสนับสนุนทางด้านบีซีจี หรือการดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ยังเป็นเหมือนต้นแบบที่ทำให้หลายๆ หน่วยงานสามารถนำไปทำตามได้ ซึ่งการทำงานด้านนี้อย่างเต็มที่ จึงถือว่าเป็นการเดินหน้าตามทิศทางของเทรนด์โลกที่มีประโยชน์ นอกจากนี้กับสิ่งแวดล้อมโดยตรงแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์โลกในอนาคตด้วย.  

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"