บินไทยอ่วม!หนัก 'ทอท.' ปัดต่อสัญญาบริหารสนามบินภูเก็ต


เพิ่มเพื่อน    


รายงานข่าวจากบมจ.การบินไทย แจ้งว่า เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2564 ที่ผ่านมา  บมจ.ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT ได้บอกเลิกสัญญาการบริหารงานให้บริการภาคพื้นและห้องรับรองพิเศษ ที่สนามบินภูเก็ต  พร้อมทั้งได้จัดตั้ง บริษัทบริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด (AOTGA) เข้าไปให้บริการภาคพื้นแทนการบินไทย  โดยให้เหตุผลว่า  บมจ. การบินไทย เข้าสู่การฟื้นฟูกิจการผ่านศาลล้มละลาย และมีหนี้ที่การบินไทยค้างจ่ายต่อทอท. 

อย่างไรก็ที่ผ่านมานั้นบมจ.การบินไทยได้รับสิทธิ์ในการบริการงานบริการภาคพื้นที่สนามบินภูเก็ต และมีกำหนดสิ้นสุดสัญญาบริหารงานในวันที่ 30 เม.ย. 2564 ซึ่งที่ผ่านมานั้นฝ่ายบริหารการบินไทย ได้เข้าหารือกับ นายวิษณุ เครืองาน ในฐานประธานคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)  เพื่อต่อสัญญาการบริหารงานดังกล่าวต่ออีก 5 ปี พร้อมทั้งทำเรื่องเสนอไปยัง AOT แต่ ทาง AOT ยืนยันไม่ต่อสัญญาให้   พร้อมทั้งได้มีการชี้แจงว่าได้ให้สัมปทานกับบริษัท บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด (AOTGA)  ไปแล้วเป็นระยะเวลา 20 ปี 

อย่างไรก็ตามมีรายงานข่าวจากวงในแจ้งว่า   บริษัทดังกล่าวนั้น ตั้งมาเพื่อมาผูกขาดในสนามบิน โดยไม่ผ่านกระบวนการการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP ซึ่งมี AOT ถือหุ้น 49 % และอดีตผู้บริการการบินไทยถืออีก 51 %

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 17 ส.ค.63  บมจ.ท่าอากาศยานไทย ได้ร่วมประชุมมวิสามัญผู้ถือหุ้น บริษัท บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด (บพท.)ครั้งที่ 2/2563 ได้มีมติอนุมัติเพิ่มทุนของ บพท.อีกจำนวน 644 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 400 ล้านบาท รวมเป็นทุนจดทะเบียนเป็น 1,044 ล้านบาท ด้วยการออกหุ้นใหม่จำนวน 6,440,000 หุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 6,182,400 หุ้น และ หุ้นบุริมสิทธิ 257,600 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท จำหน่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน โดยเรียกชำระค่าหุ้นเป็นเงินสด

การเพิ่มทุนดังกล่าวเนื่องจาก บพท.ได้รับอนุญาตให้เข้าประกอบกิจการให้บริการภาคพื้น ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต มีกำหนดเวลา 11 ปี 10 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.63 ถึงวันที่ 29 ก.ย.75 บพท.จึงมีความจำเป็นต้องมีการลงทุนเพื่อจัดหาอุปกรณ์ตลอดจนการดำเนินการอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องเพื่อเป็นการเตรียมการในการเข้าประกอบกิจการ ทั้งนี้  บพท. เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง AOT  และ บริษัท เอสเอแอล กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (SAL)ถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 49 และ 51 ตามลำดับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้น นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. ท่าอากาศยานไทย มีความกังวลต่อกรณีที่ การบินไทย ต้องเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการผ่านศาลล้มละลาย ซึ่งหนี้ที่การบินไทยมีต่อทอท.ต้องพักชำระไปด้วย  และจะส่งผลให้ความต่อเนื่องของธุรกิจที่การบินไทยเป็นผู้ประกอบการในสนามบิน โดยมี4 ธุรกิจ ได้แก่ ได้แก่ ครัวการบิน ,บริการภาคพื้น( Ground Service ) ศูนย์ซ่อมเครื่องบิน(MRO) ,บริการคลังสินค้า (Cargo) ซึ่งทอท.ได้ประเมินความเสี่ยงกรณีผลกระทบที่จะทำให้การให้บริการหยุดชะงัก เช่น ธุรกิจที่มีการบินไทยให้บริการเพียงรายเดียว หรือ มีให้บริการน้อย หากการบินไทยหยุดบริการรายที่เหลือ ไม่มีศักยภาพบริการเพียงพอ รวมถึงที่หมดสัญญาแล้วต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ

ซึ่ง ทอท.ได้เตรียมความพร้อมในการจัดหาผู้ประกอบการรายใหม่เข้าดำเนินการ เพื่อให้มีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะ คาร์โก้ และบริการภาคพื้น กรณีที่การบินไทยมีปัญหา เพื่อไม่ให้กระทบต่อบริการภายในสนามบิน ซึ่งขณะนี้ทอท.ได้มีการตั้งบริษัทลูก บริษัท บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด (AOTGA) เข้าไปให้บริการภาคพื้น ที่สนามบินภูเก็ต เพิ่มอีก1 บริษัทเพื่อให้เป็นทางการเลือกแล้ว เป็นต้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"