วันนี้ - นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(รมว.วธ.) เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชน และประชาชนในหัวข้อ “วันอนุรักษ์มรดกไทย”สำคัญอย่างไร ซึ่งวันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 4,840 คน ครอบคลุมทุกอาชีพและทุกภูมิภาค ซึ่งผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามระบุถึงความสำคัญของวันอนุรักษ์มรดกไทย อันดับ 1 ร้อยละ 68.47 เพื่อเทิดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีต่อการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ อันดับ 2 ร้อยละ 65.60 เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในการสร้างสรรค์และรักษามรดกของชาติด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย”และอันดับ 3 ร้อยละ 51.45 เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ผลสำรวจยังได้สอบถามถึงเด็ก เยาวชน และประชาชนในเรื่องความเข้าใจความหมายของคำว่า “มรดกไทย” พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 74.69 ระบุเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงลักษณะของความเป็นชาติ อันดับ 2 ร้อยละ 57.46 เป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี และอันดับ 3 ร้อยละ 50.60 เป็นการดำเนินชีวิต และคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินไทย ส่วนมรดกไทยที่เด็ก เยาวชน และประชาชนส่วนใหญ่รักและภูมิใจมากที่สุด ได้แก่ อันดับ 1 โบราณสถาน เช่น วัด โบสถ์ วิหาร พระราชวัง พระปฐมเจดีย์ อุทยานประวัติศาสตร์ ฯลฯ อันดับ 2 มรดกภูมิปัญญา เช่น สมุนไพรไทย อาหารไทย ขนมไทย เครื่องแต่งกาย นวดแผนไทย บ้านทรงไทย ฯลฯ และอันดับ 3 ประเพณี เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีแห่เทียน ประเพณีผีตาโขน ฯลฯ
รมว.วธ. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงมรดกไทยที่ควรฟื้นฟู อนุรักษ์ และสืบทอดอย่างเร่งด่วนมากที่สุด ผลสำรวจพบว่า อันดับ 1 ช่างสิบหมู่ที่ประกอบด้วยช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างปั้น ช่างปูน ช่างรัก ช่างหุ่น ช่างบุ ช่างกลึงและช่างหล่อ อันดับ 2 วัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น ภาษาถิ่น การแต่งกาย (ผ้าโบราณ) อาหาร ศิลปะพื้นบ้าน (ลิเก ลำตัด เพลงฉ่อย) และอันดับ 3 ดนตรีไทย ส่วนวิธีการนำเสนอข้อมูลทางวัฒนธรรมโดยผ่านระบบเทคโนโลยีรูปแบบที่น่าสนใจมากที่สุดพบว่า อันดับ 1 ระบุว่า ระบบ Smart Museum เป็นการให้บริการข้อมูลของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผ่านโทรศัพท์มือถือ Smart Phone หรือ Tablet ระบบจะทำการอ่านข้อมูล QR Code และ AR Code แสดงข้อมูลโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในรูปแบบวัตถุ อันดับ 2 ระบบ QR Code และ AR Code ในการนำชมโบราณวัตถุ-ศิลปวัตถุ และอันดับ 3 ระบบพิพิธภัณฑ์เสมือน Virtual Museum เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลและนำเสนอข้อมูลพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ 42 แห่ง ในรูปแบบสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง
นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า ผลสำรวจครั้งนี้ยังได้สอบถามหน่วยงานภาครัฐควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกไทย เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยอย่างไรบ้าง ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ควรจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สิ่งที่เป็นมรดกไทยให้ประชาชนได้รับทราบและจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีความเกี่ยวข้องกับประเพณี โบราณสถานที่สำคัญรวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมอื่นที่มีในท้องถิ่นเพิ่มเติม เพื่อปลูกฝังให้เด็กเกิดความสำนึกรักในประเพณีโบราณสถาน และมรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตน รวมทั้งสำรวจและรวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่น และจัดรวบรวมเพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับประชาชนที่มีความสนใจ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกไทย ผู้ตอบแบบสอบถามได้เสนอแนะว่า ให้ปลูกฝังค่านิยมความเป็นไทยด้วยการส่งเสริมการแต่งกายด้วยผ้าไทย มารยาทไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง และส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเห็นคุณค่า และร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อสร้างจิตสำนึกและความรู้สึกภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของตนเอง เช่น ร่วมกันดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |