31 มี.ค. 2564 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังยืนยันจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากปัจจุบันที่จัดเก็บในอัตรา 7% โดยหลังจากครบกำหนดการลดอัตราการจัดเก็บภาษีแวตไว้ที่ 7% จากเดิมที่ 10% ในวันที่ 30 ก.ย. นี้ คลังก็จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขยายเวลาการลดอัตราการจัดเก็บต่อไปอีก 1 ปี เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2564-2565 ยังอยู่ในช่วงการฟื้นตัว และประชาชนยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อยู่
“ข้อเสนอใน ครม. ให้คลังขึ้นภาษีแวต ยังไม่เห็น ไม่มี เรื่องนี้ไม่ทราบ ส่วนปี 2564-2565 จะมีการขึ้นภาษีตัวใหม่หรือไม่นั้น ยังตอบไม่ได้ จะต้องขอรอดูผลการศึกษาของคณะกรรมการปฏิรูปโครงสร้างภาษีของกระทรวงการคลังก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี โดยเรื่องนี้ได้ให้นโยบายตั้งแต่ผมเข้ามารับตำแหน่งแล้ว” นายอาคม กล่าว
สำหรับการศึกษาแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างภาษี จะต้องพิจารณาเรื่องการจัดเก็บรายได้ให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมใหม่ รวมทั้งโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลให้ง่ายขึ้น สามารถแข่งขันได้ ซึ่งอัตราภาษีปัจจุบันก็ถือว่าอยู่ในระดับต่ำแล้ว และเป็นแนวโน้มเดียวกันกับประเทศคู่แข่ง
นายอาคม กล่าวอีกว่า การจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2564 จะเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่นั้น จะต้องติดตามในเดือน มิ.ย. นี้ หลังจากที่มีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2563 ที่ขยายออกไปจากเดือน มี.ค. จึงจะตอบได้ว่ารายด้ปีนี้จะหลุดเป้าหมายหรือไม่ แต่ว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลไม่ได้อยู่ที่ภาษีเพียงอย่างเดียว มีทั้งเงินนำส่งของรัฐวิสาหกิจ การกู้เงิน ซึ่งมีหลายทางที่จะนำมาปิดงบประมาณได้ ทำให้การใช้งบประมาณเป็นไปตามปกติ
ทั้งนี้ รมว.การคลัง ได้ปาฐกถาพิเศษ “มาตรการรัฐ : ขับเคลื่อนอสังหาฯ ฟื้นเศรษฐกิจไทย” ว่า รัฐบาลยังยืดเป้าหมายตัวเลขเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2564 จะขยายตัวได้ที่ระดับ 4% แม้ว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และที่ประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน จะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตได้ที่ 2.5-3.5% ก็ตาม ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคธุรกิจต้องไปด้วยกัน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดีขึ้น แม้จะเป็นการฟื้นตัวแบบช้า ๆ ก็ตาม
“ผมได้ชี้แจงในที่ประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียนไปว่า ตัวเลขจีดีพีจะขยายตัวต่ำหรือสูงไม่สำคัญ แต่สำคัญที่คุณภาพของการเติบโต และมีความต่อเนื่องมากกว่า อย่างของไทยยังมีศักยภาพที่จะเติบโตเพิ่มได้อีก 2% เช่น ถ้าคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ 2.5-3.5% นั่นหมายความว่าไทยมีโอกาสที่จะเติบโตได้ถึง 4.5-5.5% โดย 2% ที่เพิ่มนั้นจะมาจากประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ที่หลังจากสถานการณ์โควิดมีการปรับตัวได้ดีหรือไม่ ถ้ามีการปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ก็จะเป็นอีกส่วนในการสนับสนุนอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้” นายอาคม กล่าว
นายอาคม กล่าวอีกว่า หลังจากการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ แล้ว เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเติบโตได้อย่างเต็มสปีดในปี 2566-2567 ผ่านปัจจัยสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ การลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะด้านคมนาคม ด้านพลังงาน ด้านน้ำ และด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นและผลักดันให้ภาคเอกชนเดินหน้าลงทุน รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย ตลอดจนปัจจัยเรื่องการท่องเที่ยวและบริการ ผ่านมาตรการสำคัญคือการผ่อนคลายและเริ่มเปิดประเทศ เปิดการท่องเที่ยว เริ่มที่ภูเก็ต สมุย พัทยา และเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2564 ก่อนที่จะมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือน ม.ค. 2565 ภายใต้กติกาสากลที่ทั่วโลกกำหนด ที่แม้จะไม่มีการกักตัว แต่จะต้องมีการฉีดวัคซีนและมีเอกสารรับรอง ซึ่งจะเป็นเครื่องการันตีความปลอดภัย เหล่านี้จะเป็นแสงสว่างให้เศรษฐกิจไทยในปี 2564-2565
ทั้งนี้ รัฐบาลได้เตรียมออกมาตรการเพื่อดึงสภาพคล่องส่วนเกินในระบบสถาบันการเงินที่มีอยู่สูงถึง 2-2.5 ล้านล้านบาท ออกมาใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจจะเป็นการลงทุนผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่มีอยู่จำนวนมาก เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องลงทุนหลังจากไทยเสียเวลาไปกว่า 1 ปีจากการระบาดของโควิด-19
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |