29 มี.ค.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) จำนวน 3 สัญญา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทคู่สัญญา โดยวงเงินก่อสร้างทั้ง 3 ระยะทาง 54.6 กิโลเมตร(กม.) รวมวงเงิน 27,527 ล้านบาท
ทั้งนี้ ได้แก่สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ ผู้แทนจากบริษัท เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด วงเงินก่อสร้าง 11,525 ล้านบาทสัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ผู้แทนจาก บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) วงเงินก่อสร้าง 6,573 ล้านบาท และสัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ผู้แทนจาก บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสรัคชั่น (UNIQ) วงเงินก่อสร้าง 9,429 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม สำหรับ 4 สัญญาที่เหลือจะเร่งประมูลให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ขณะที่มีบางสัญญายังมีข้อพิพาท อย่างไรก็ดี ตามนโยบายเปิดให้บริการในช่วงปลายปี69 หรืออย่างช้าในปี70 โดยสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ขณะนี้กำลังเจรจากับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งมีพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่ คาดจะส่งมอบพื้นที่ได้ในปีนี้
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า สำหรับช่วงระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม.วงเงิน2.5 แสนล้าน แบ่งเป็น ทางรถไฟระดับพื้นดิน 185 กม. และทางรถไฟยกระดับ 171 กม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจออกแบบ คาดว่าผลการศึกษาสำรวจออกแบบได้เสร็จใน ก.ค.64 ซึ่งโจทย์ของรัฐบาลต้องการให้เส้นทางนี้ใช้ทางเลี่ยงเมือง เพื่อจะได้มีผลกระทบน้อยที่สุด โดยจะมีระบบรองเชี่อมต่อระบบขนส่งหลัก(Feeder) มาให้บริการ และคาดว่าจะเสร็จเปิดให้บริการหลังระยะที่1 ราว 3-4 ปี หรือในปี 72-73
"เรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ที่จะเชื่อมต่อระบบรางไปด้านทิศเหนือทาง สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน และในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อไปทางภาคใต้เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทางทิศใต้เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย รวมถึงมีจุดตัดผ่านที่มีโครงการที่สำคัญอย่างโครงการเชื่อมระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ที่จะเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางราง ทางน้ำ และทางบก ในการเดินทางและขนส่งสินค้าได้รวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย และประหยัดต้นทุนมากยิ่งขึ้น รวมถึงเอกชนที่มาร่วมลงนามในสัญญาครั้งนี้ต่างเอกชนที่มีประสบการณ์ในการที่จะดำเนินงานเกี่ยวกับด้านโลจิสติกส์ทางราง และมั่นใจโครงการดังกล่าวจะดำเนินการได้ตามเป้ามายที่ได้วางแผนไว้"นายศักดิ์สยาม กล่าว
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า สำหรับเส้นทางดังกล่าว จะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเชื่อมไทยไปสู่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เรียกว่า Belt and Road Initiative หรือ BRI เชื่อมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟ
รายงานข่าวจาก รฟท. ระบุว่า ในส่วนสัญญาที่เหลือ เช่น สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง–นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 8,626.80 ล้านบาท ที่ก่อนหน้านี้ จะมีการลงนามในวันที่ 29 มี.ค. 2564 นั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติม ตามระเบียบกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามหลักธรรมาภิบาล, สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ–พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติม และรอลงนามสัญญาจ้าง ในส่วนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ–ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารประกวดราคา รวมถึงจะต้องรอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา) ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการเร่งรัดหาข้อสรุปการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้กระทบทั้ง 2 โครงการ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |