MOU ใช้เทคโนโลยีแสงวิจัยวัตถุโบราณคดีมีค่า ประเดิมตรวจลูกปัดโบราณ-แหล่งแร่


เพิ่มเพื่อน    

 

 

     วันนี้ -  นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร และ รศ. ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมศิลปากร กับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางโบราณคดี และการฟื้นฟู อนุรักษ์สงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของกรมศิลปากร 

​     นายประทีป กล่าวว่า กรมศิลปากรกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการขึ้น เพื่อประสานความร่วมมือทางวิชาการในการศึกษา วิจัยและพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน นำมาใช้ศึกษา ฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนกับองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดีและการอนุรักษ์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการประยุกต์เทคโนโลยีแสงที่มีในปัจจุบันมาใช้สนับสนุนภารกิจของกรมศิลปากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

     รศ.ดร.สาโรช กล่าวว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอน ในการศึกษาวัตถุที่มีคุณค่าทางโบราณคดีและมรดกทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องด้วยแสงซินโครตรอนมีประสิทธิภาพสูง สามารถศึกษาความหลากหลาย ความซับซ้อนของโครงสร้างและองค์ประกอบในวัตถุโบราณ และยังสามารถใช้ศึกษาธาตุองค์ประกอบที่มีปริมาณน้อย ตรวจวัดข้อมูลที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่ได้ โดยเทคนิคแสงซินโครตรอนหลายเทคนิคนั้น ไม่ทำลายตัวอย่างที่นำมาตรวจวิเคราะห์ ตอบโจทย์การวิเคราะห์วัตถุทางโบราณคดีได้เป็นอย่างดี

       ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เคยให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนการศึกษาวิจัยทางโบราณคดี ได้แก่ งานวิจัยลูกปัดแก้วแบบอินโดแปซิฟิคที่พบในภาคใต้ของประเทศไทยในการค้นหาธาตุที่ให้สี งานวิจัยเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเพื่อจำแนกวัตถุทำลอกเลียนแบบ โดยวิเคราะห์หาธาตุบ่งชี้บางชนิด งานวิจัยสำริดโบราณจากแหล่งโบราณคดีโนนป่าช้าเก่า จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาองค์ประกอบของธาตุและศึกษาสภาพการกัดกร่อน พบว่า เครื่องมือถูกกัดกร่อนจากคลอรีน ซึ่งมีอยู่ในสภาพแวดล้อมเป็นตัวการ

     " ในปีงบ 2564 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนมีหัวข้อการปฏิบัติงานเพื่อให้ความอนุเคราะห์สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี ในการศึกษาจำแนกวัสดุที่นำมาใช้ผลิตลูกปัด โดยการใช้แสงซินโครตรอนตรวจสอบสเปกตัมที่แสดงโครงสร้างของวัตถุว่าผลิตมาจากเปลือกหอยหรือปะการังหรือซากฟอสซิลบางประเภท และให้ความอนุเคราะห์สำนักศิลปากรที่ 7  เชียงใหม่ ศึกษาด้านโบราณโลหะวิทยาโดยศึกษาองค์ประกอบแร่ธาตุจากเหล็กจากแหล่งอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และศึกษาแหล่งแร่ " รศ.ดร.สาโรช กล่าว 

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"