28 มี.ค. 2564 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง จัดอันดับ กระทรวง กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 3,010 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 - 27 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.7 ต้องการเห็น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ รวดเร็วฉับไว ทำงานเห็นผลงานแก้ปัญหาของประชาชนได้เมื่อเกิดเหตุ ในขณะที่ร้อยละ 93.5 ต้องการให้ นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ เปลี่ยนตัวหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ที่ไม่ตื่นตัวทำงานตอบโจทย์ตรงเป้าความต้องการของประชาชน
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.6 ระบุ ตอนนี้ ยืนยันได้ว่า ประหยัดจนไม่รู้ประหยัดตรงไหนอีกแล้ว อดอยากไม่รู้ว่าจะอดอยากไปอีกนานแค่ไหน นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.9 ระบุ ทุกวันนี้ พบว่า เจ้าสัวรวยแล้วรวยอีก คนจนจนแล้วจนลง เพราะคนจนถูกปิดทางเลือกไม่มีโอกาสซื้อสินค้าราคาถูก ช่วงวิกฤตและคนกำลังตกงาน และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.3 ระบุ บรรดาเจ้าสัว ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ กำลังเอาเปรียบประชาชนช่วงวิกฤต ประชาชนจำทนต้องซื้อสินค้าราคาสูง เกินความสามารถจ่ายได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.5 อดทน อดกลั้นไม่ยอมพากันลงถนน เพราะกลัวซ้ำเติมวิกฤตของประเทศและความเดือดร้อนของผู้อื่น และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 ระบุ วันนี้ ฉันเป็นทุกข์ ฉันกำลังเดือดร้อน
ที่น่าสนใจคือ ผลการจัดอันดับกระทรวงตื่นตัว เป็นตัวช่วยดูแลประชาชนได้มากที่สุด อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 45.4 ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข มีผลงานเด่น รวดเร็วฉับไวป้องกันและแก้ไขวิกฤตแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ดูแลรักษาประชาชนผู้ติดเชื้อ การได้วัคซีนมาฉีดให้ประชาชนฟรีครอบคลุมทั่วประเทศ อันดับสองหรือร้อยละ 21.7 ได้แก่ กระทรวงการคลัง บางส่วนราชการ เช่น ธนาคารกรุงไทย ช่วยเหลือเยียวยา เอาใจใส่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย อันดับสามหรือร้อยละ 7.7 ได้แก่ กระทรวงกลาโหม ทหารช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย พิบัติต่าง ๆ รับซื้อสินค้าเกษตร จำหน่ายสินค้าราคาถูกใกล้ค่ายทหาร ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกักกันตัวควบคุมโรค โรงพยาบาลสนาม การจัดกำลังเข้าควบคุมพื้นที่แพร่ระบาดโควิดและช่วยเหลือประชาชน
นอกจากนี้ อันดับสี่หรือร้อยละ 7.4 ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมมือกับภาคเอกชนขายสินค้าราคาถูก อันดับห้าหรือร้อยละ 6.2 ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยียวยากลุ่มเกษตรกรได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ในขณะที่ ร้อยละ 11.6 ระบุอื่น ๆ
ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลการจัดอันดับ หน่วยงานรัฐ ต้นตอปัญหาซ้ำเติมวิกฤต ความเดือดร้อนทุกข์ของประชาชนเมื่อตอบได้หลายหน่วยงาน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.0 ระบุ ตำรวจท้องที่ ตำรวจอำเภอต่าง ๆ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ปล่อยปละละเลย แหล่งมั่วสุมบ่อนพนันในชุมชน ต้นตอแพร่ระบาดโควิด) รองลงมา เป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติเช่นกัน คือ ร้อยละ 72.1 ระบุ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (เกี่ยวข้องขบวนการขนแรงงานเถื่อน)
อันดับสามหรือร้อยละ 70.2 ระบุ ข้าราชการ กระทรวงแรงงาน (ปล่อยปละละเลยแรงงานเถื่อน กระจายในสถานประกอบการ) อันดับสี่หรือร้อยละ 69.8 ระบุ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ปัญหาดั้งเดิมอันยาวนาน เรื่องผลประโยชน์ พิธีการศุลกากร) และอันดับห้าหรือร้อยละ 68.4 ระบุ กระทรวงมหาดไทย (ปล่อยปละละเลยแรงงานเถื่อน แหล่งมั่วสุมบ่อนพนันในชุมชน และบทบาทช่วยเหลือดูแลปัญหาเดือดร้อน ปัญหาปากท้องของประชาชนไม่มีผลงานประจักษ์โดดเด่น)
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์การทำโพลชี้ให้เห็นว่า ประชาชน ต่างเดือดร้อนและได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยทั่วหน้า ผลการจัดอันดับกระทรวงและส่วนราชการต่าง ๆ ครั้งนี้ สะท้อนถึงความตื่นตัวของกระทรวงและส่วนราชการต่าง ๆ ในการตอบสนองปัญหาและความต้องการของประชาชนช่วงการแพร่ระบาดของโรคที่ผ่านมา โดยเฉพาะ รัฐบาล ที่ต้องมีนโยบายเข้ม รอบคอบและชัดเจน รวดเร็วพอที่จะตอบสนอง ครอบคลุมในทุกมิติและกลุ่มเป้าหมาย จำเป็นต้องลงดาบข้าราชการเกียร์ว่างทุกระดับ โดยมีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม มีข้อเสนอแนะ 3 ประการ
ประการแรก ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐในภาคส่วนราชการ ถือเป็นที่พึ่งยามทุกข์ยากของประชาชนช่วงวิกฤตโควิดและวิกฤตเศรษฐกิจ หากไม่ตอบโจทย์ประชาชนก็จำเป็นต้องเปลี่ยนตัว หัวหน้าส่วนราชการทุกระดับ จึงจำเป็นต้องตื่นตัว ปรับเปลี่ยนและลงพื้นที่ตอบสนองแก้ไขภัยคุกคามชีวิตปกติสุขและสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้รวดเร็วฉับไว เพื่อจบปัญหาเดือดร้อนของประชาชนระดับพื้นที่ให้ได้ โดยต้องมีข้อมูลและจัดทีมบูรณาการ ลงแก้ปัญหา กระจายเข้าชุมชนต่างๆ ทำให้ประชาชนฟื้นตัวและพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว โดยเฉพาะภาคการเกษตร การท่องเที่ยว และกลุ่มสตาร์ทอัพ (Start Up) โดยดึงสถาบันการศึกษาท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้าร่วมอย่างเป็นระบบ
ประการที่สอง ภาคเอกชน บรรดาเจ้าสัว ผู้ประกอบการ นักธุรกิจนักลงทุนที่ถูกมองว่าเอาเปรียบประชาชนที่ผ่านมา ควรใช้โอกาสนี้ แสดงความจริงใจ รวมตัวกันจัดมหกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ปลดทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน ยอมตัดเฉือนกำไรและถอยมาใส่ใจทำเพื่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยและสังคมส่วนรวมให้มากขึ้น เพราะธุรกิจอยู่ได้ด้วยประชาชนผู้บริโภค เมื่อทุกคนเจอวิกฤตโควิด-19 จึงจำเป็นต้องขอให้บรรดาเจ้าสัว ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจต่างๆ เข้ามารองรับช่วยพยุงสังคมและประชาชนให้อยู่ได้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก
ประการที่สาม ภาคประชาชน ที่ต้องไม่รอความช่วยเหลือเป็นลูกนก จึงเป็นความจำเป็นที่ภาคประชาชนต้องตื่นตัว เรียนรู้ ปรับเปลี่ยนตัวเอง ครอบครัว ชุมชนเพื่อความอยู่รอด ด้วยความรัก ความเข้าใจกันและพึ่งพากัน มุ่งร่วมกันการพาคนลงถนนที่ขัดกฎหมาย เพื่อความอยู่รอด ฟื้นตัวและเข้มแข็งไปด้วยกัน จำเป็นต้องรู้รักสามัคคี ช่วยเหลือกันและกัน หยุดต้นตอของการยุยง สร้างความแตกแยกของคนในชาติ การพาคนลงถนนที่ขัดกฎหมาย อันเป็นต้นตอความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ที่ทำให้เกิดการสูญเสียและเสียหาย ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ จนโอกาสการฟื้นตัวของประเทศที่กำลังสั่งสมภาพบวก กลายเป็นวิกฤต เหยียบย่ำซ้ำเติมประชาชนที่ร่วมกัดฟันต่อสู้ฝ่าปัญหาต่างๆมาด้วยกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |