ปัญหาภัยแล้งของประเทศไทยที่อาการหนักขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหน้าแล้งของทุกปี สวนทางกับปริมาณน้ำในเขื่อนที่จัดเก็บได้ในแต่ละปี หรือความต้องการใช้น้ำมากกว่าน้ำที่จัดเก็บได้ถึงเท่าตัว
จากข้อมูลของ ดร.รอยล จิตรดอน ประธานกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ที่ให้ข้อมูลว่า เมื่อปี 2558 ไทยมีความต้องการใช้น้ำมากถึง 153,578 ล้าน ลบ.ม. และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ความจุของอ่างเก็บน้ำรวมเก็บได้ 76,067 ล้าน ลบ.ม. ส่วนปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนใหญ่และขนาดกลางเพียงรวมแล้ว 42,620 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี โดยปี 2563 มีน้ำไหลเข้าอ่างแค่ 20,000 ล้าน ลบ.ม. เนื่องจากปริมาณฝนลดลง 12% แต่มีผลทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างลดฮวบ หรือเท่ากับว่าตอนนี้เหลือน้ำต้นทุนแค่สองหมื่นล้าน ลบ.ม. แต่ความต้องการใช้มากกว่าแสนห้าหมื่นล้าน
" สถานการณ์เช่นนี้ คนที่อยู่พื้นที่นอกเขตชลประทานที่มีมากถึงร้อยละ 80 ของประเทศ จะประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำรุนแรง โดยมีชุมชนที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอยู่ในขั้นวิกฤติกว่า 30,000 ชุมชน ในแถบภาคเหนือและอีสาน ดังนั้น การพึ่งพาน้ำในเขื่อนเพียงอย่างเดียวคงทำให้รอดพ้นภัยแล้งได้ยาก เกษตรกรจึงต้องร่วมมือกันซ่อมบำรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ หันมาเก็บกักน้ำและบริหารน้ำในพื้นที่ตัวเอง ต้องเอาใจใส่กับการใช้น้ำซ้ำ" ดร.รอยล กล่าวย้ำในงานเสวนา "เลิกแล้ง เลิกจน” ที่จัดทำขึ้นโดยเอสซีจี ซึ่งร่วมมือมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และหอการค้าแห่งประเทศไทยเมื่อเร็วๆ นี้
แน่นอนว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำกระทบกับชีวิตผู้คนทุกด้าน ทั้งการทำมาหากิน ภาคเกษตรหรืออุตสาหกรรม และการใช้ชีวิตประจำวัน ดังที่เราได้ยินข่าวว่าหน้าแล้งเกือบทุกปี ตามจังหวัดต่างๆ มีน้ำประปาไม่พอใช้ เพราะไม่มีแหล่งน้ำดิบเพียงพอที่จะมาผลิตน้ำประปา บางพื้นที่มีการซื้อน้ำจากที่อื่นมาใช้เพื่อประทังชีวิต นับเป็นต้นทุกชีวิตที่เพิ่มขึ้น
MOU ระหว่าง กปน.-อจน. บูรณาการจัดการน้ำประปาและน้ำเสียอย่างยั่งยืน
ดังนั้น แนวคิดเรื่อง "การใช้น้ำซ้ำ" เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง และแนวคิดนี้ผุดขึ้นในแนวทางแก้ปัญหาน้ำของหน่วยงานรัฐมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง จนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีความเคลื่อนไหวจากสองหน่วยงานที่มีภารกิจบริหารจัดการน้ำดีและน้ำเสียในสังกัดกระทรวงมหาดไทย การประปานครหลวง (กปน.) และองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือบูรณาการบริหารจัดการน้ำประปาและน้ำเสียอย่างยั่งยืน เมื่อวันก่อน ภายใต้กรอบความร่วมมือ 3 ด้าน ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคม การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะความชำนาญด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยี และระบบประเมินผลคุณภาพรัฐวิสาหกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ควบคู่กับดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยมีนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน
นายนิพนธ์ บุญญามณี กล่าวว่า ตนได้มอบนโยบายการบริหารจัดการน้ำดีและน้ำเสียต้องดำเนินการควบคู่กันอย่างมีประสิทธิภาพ กปน.มีหน้าที่จัดหาน้ำดิบมาผลิตและให้บริการน้ำประปาที่สะอาดแก่คนใช้น้ำในพื้นกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ส่วน อจน.จัดการน้ำเสียให้กับชุมชน ปัจจุบันการจัดการน้ำเสียเป็นเรื่องสำคัญ ในภาวะที่ไทยเผชิญสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ จัดหาน้ำดิบมาผลิตประปายาก ต้องดูแลแหล่งน้ำดิบไม่ให้ปนเปื้อน เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพ หากไม่มีการจัดการน้ำเสียอย่างเป็นระบบ ปล่อยน้ำเสียไหลลงแหล่งน้ำดิบ จะทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ต้นทุนการผลิตน้ำประปาตามค่ามาตรฐานสูงขึ้น และพบสารปนเปื้อนในน้ำดิบมากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค
"เอ็มโอยูนี้จะสร้างความร่วมมือบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ต้นทางการจัดการน้ำดีจนถึงปลายทางการจัดการน้ำเสียอย่างเป็นระบบ แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี เพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภค และต้องทำให้ระบบจัดการน้ำเสียอยู่คู่กับชุมชนได้ เป็นการบ้านข้อใหญ่ การเปลี่ยนน้ำเสียเป็นน้ำใส ชุมชนต้องร่วมมือ ซึ่งปี 63 ครม.อนุมัติประกาศองค์การจัดการน้ำเสีย ปี 2563 กำหนดเขตพื้นที่จัดการน้ำเสียเพิ่มเติมครอบคลุมทุกจังหวัดในไทย 66 จังหวัด จากเดิมมี 11 จังหวัด เพราะน้ำเสียเป็นมลพิษสำคัญ กระทบสุขภาพอนามัย" รมช.มท.กล่าวย้ำ
ด้านนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการ กปน. กล่าวว่า เอ็มโอยูที่มีขึ้นจะทำให้สองหน่วยงานร่วมมือกันบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เพราะน้ำเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด มีความสำคัญในการใช้ชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจ ความร่วมมือจะทำตั้งแต่การอนุรักษ์แหล่งน้ำ การนำน้ำดิบมาใช้ประโยชน์ ผลิตประปา และการจัดการน้ำเสียหลังใช้น้ำ ผ่านความร่วมมือทางวิชาการที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ จะร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมบริหารจัดการน้ำ และผลักดันโมเดลนำน้ำเสียที่ผ่านการจัดการจนมีคุณภาพมาผลิตน้ำประปาให้เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น และความมั่นคงของระบบประปา
เจ้าภาพจัดการน้ำเสียอย่าง นายชีระ วงศ์บูรณะ ผู้อำนวยการ อจน. เผยสถานการณ์จัดการน้ำเสียในชุมชนว่า น้ำเสียแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก น้ำเสียจากแหล่งน้ำเสื่อมโทรม การแก้ปัญหาจำเป็นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย อีกกลุ่มน้ำเสียจากชุมชน ต้องใช้ความร่วมมือจากชุมชนและผู้ประกอบการ ลดความสกปรกตั้งแต่แหล่งกำเนิด ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียในอาคารให้มีประสิทธิภาพ แต่หากความสกปรกมาก จำเป็นต้องสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนเพื่อบำบัดน้ำให้มีคุณภาพก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ว่าคลอง แม่น้ำ หรือทะเล โดยประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การดูแลระบบมีประสิทธิภาพ ทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้น
ผอ.อจน.กล่าวว่า ทั้งนี้ ปัจจุบันมีปัญหาคุณภาพน้ำในแม่น้ำลำคลองหลายสายที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน บางช่วงตอนของแม่น้ำเน่าเสียขาดออกซิเจน ส่งกลิ่นเหม็น กระทบหมดทั้งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเกษตร การท่องเที่ยว สุขภาพคน ต้องบริหารจัดการน้ำเสียให้คุณภาพน้ำดีขึ้น น้ำเสียจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7,850 แห่ง ปริมาณน้ำเสียเฉลี่ย 9.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
แต่กลุ่มเป้าหมายการแก้ปัญหา คือ อปท. 559 แห่ง ที่มีปัญหาน้ำเสียรุนแรง ซึ่งข้อมูลนี้ได้จากผลตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ จึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาเร่งด่วน รวมถึงที่สำรวจใหม่ อปท. 464 แห่ง พบว่าน้ำเสียจาก อปท.เหล่านี้ มีผลกระทบต่อแม่น้ำหลายสายทั่วทุกภูมิภาค ดังนั้น จึงต้องประสานความร่วมมือลดความสกปรก ทำลิสต์รายการต้องสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ระบบบำบัดที่สร้างขึ้น แต่ละ อปท.ต้องนำรายได้ท้องถิ่นมาสมทบร่วมบริหารจัดการน้ำเสีย ดูแลสิ่งแวดล้อม บาง อปท. ชาวบ้านมีส่วนร่วมเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ซึ่งในการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียร่วมกับ อจน. นอกจากแก้น้ำเน่าเสีย ยังได้พื้นที่สีเขียวเพิ่ม ด้านบนเป็นสวนสาธารณะ สนามออกกำลังกาย บางแห่งพัฒนาสู่แหล่งท่องเที่ยว
ส่วนความคืบหน้าแผนจัดการน้ำเสียชุมชนของ อปท. 105 แห่งนั้น ผอ.อจน.ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน อจน.ได้ก่อสร้าง ปรับปรุง ฟื้นฟู และบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนแล้วจำนวน 29 แห่งในพื้นที่ต่างจังหวัด อีก 68 แห่ง ใช้วิธีการแลกเปลี่ยนวิชาการ ฝึกอบรม เพื่อจัดการน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ มีระบบจัดการน้ำเสียชุมชนในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 7 แห่ง
นอกจากนี้ ในแผนจัดการน้ำเสียชุมชน 20 ปี พ.ศ.2561-2580 จะเป็นแผนรองรับ อจน.ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษสำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งนอกเหนือจาก 105 แห่งข้างต้น ซึ่งในระยะ 20 ปี อปท. 464 แห่ง ต้องควบคุมไม่ให้ปริมาณน้ำเสียมากขึ้น ผ่านวิธีทำที่ดักไขมันในครัวเรือน และบำบัดน้ำเสียในชุมชนต้นทางเสียก่อน แต่หากไม่ไหวจริงๆ ถึงจะสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย โดย อจน. ซึ่งจะบำบัดตั้งแต่ต้นทาง ปล่อยน้ำคุณภาพดีสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้น้ำต้นทุนคุณภาพดีสู่ระบบผลิตประปา ประหยัดค่าใช้จ่ายการผลิตประปา ส่วนพื้นที่ต้นน้ำเป้าหมายจากเอ็มโอยูฉบับนี้ อจน.เน้นดูแลแหล่งต้นน้ำภาคกลาง อาทิ สิงห์บุรี กาญจนบุรี และจังหวัดในภาคเหนือ
"หากประชาชนอยากเห็นแม่น้ำคูคลองใสสะอาด สามารถช่วยได้ด้วยการไม่ทิ้งขยะสิ่งสกปรก เทเศษอาหารลงคลอง รวมถึงใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า หากไม่ช่วยกัน ถึงสร้างระบบบำบัดกี่ร้อยกี่พันแห่งก็ไม่สามารถสู้ปริมาณน้ำเสียมหาศาลได้ คนละไม้คนละมือ บ้านร้อยหลังพันหลัง ร่วมดูแลจะช่วยให้แหล่งน้ำของประเทศไทยดีขึ้น สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชน ปัญหามลพิษทางน้ำลดลง" ผอ.อจน.ฝากถึงประชาชน ร่วมกันเปลี่ยนน้ำเน่าให้เป็นน้ำดี เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |