นักวิชาการนอร์เวย์ 6 คนเสนอชื่อขบวนการอารยะขัดขืนของเมียนมาเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร ชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ปีนี้ไม่ทันแล้ว ต้องรอชิงรางวัลของปีหน้า
แฟ้มภาพ ผู้ประท้วงยืนชูป้ายสนับสนุนนางอองซาน ซูจี และเรียกร้องให้เข้าร่วมขบวนการอารยะขัดขืน (ซีดีเอ็ม) หน้ารถหุ้มเกราะของกองทัพที่จอดอยู่ด้านนอกธนาคารกลางเมียนมาในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
รายงานเอเอฟพีอ้างการเปิดเผยของคริสเตียน สต็อคเค อาจารย์ภาคสังคมวิทยาของมหาวิทยาลัยออสโล เมื่อวันศุกร์ที่ 26 มีนาคมว่า ขบวนการเคลื่อนไหวอารยะขัดขืนในเมียนมาแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างที่ดีของการตอบโต้อย่างสันติต่อการยึดอำนาจโดยกองทัพเมียนมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์
"ขบวนการอารยะขัดขืนเป็นการเคลื่อนไหวของมวลชนที่สำคัญเพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา ซึ่งถึงบัดนี้เกิดขึ้นด้วยวิธีการอหิงสา" เขากล่าวกับเอเอฟพี "ขบวนการเพื่อประชาธิปไตยนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประสบความสำเร็จ ยังจะส่งผลกระทบนอกเมียนมาและเป็นแรงบันดาลใจแก่ขบวนการเพื่อประชาธิปไตยที่ไม่ใช้ความรุนแรงในที่แห่งอื่น ในช่วงยามที่ระบอบประชาธิปไตยถูกกดดันจากอำนาจของเผด็จการ"
คณะกรรมการโนเบลของนอร์เวย์เปิดรับการเสนอชื่อผู้ชิงรางวัลก่อนเส้นตายวันที่ 31 มกราคมเท่านั้น การเสนอชื่อผู้เข้าชิงโดยสต็อคเคกับเพื่อนนักวิชาการอีก 5 คนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจึงต้องรอการพิจารณาในปีถัดไป โดยการประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2564 กำหนดไว้วันที่ 8 ตุลาคม ปีที่แล้วโครงการอาหารโลก (ดับเบิลยูเอฟพี) คือผู้ชนะรางวัลนี้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |