เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษอันตรายร้ายแรง ประกาศชุมนุมครั้งใหญ่ที่ทำเนียบรัฐบาล หากคณะกก.วัตถุอันตายให้สารพาราควอต คลอร์ไพริฟอสและจำกัดการใช้ไกลโฟเซต ได้ไปต่อ ย้ำคณะกก.พิจารณาไม่มีความน่าเชื่อถือ และต้องเปิดเผยคำวินิจฉัยเป็นรายบุคคล
วันที่22 พ.ค. ณ โรงแรมตรัง เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษอันตรายร้ายแรง มีการจัดเวทีอภิปราย “ยุติผลประโยชน์ทับซ้อน เรียกความโปร่งใสของคณะกรรมการวัตถุอันตราย” เพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบของรัฐบาลในการยกเลิกการสารพาราควอต คลอร์ไพริฟอสและจำกัดการใช้ไกลโฟเซต ตามมติของ 5 กระทรวงหลัก ที่นำโดยกระทรวงสาธารณสุข พร้อมกับมีแถลงการณ์โดยระบุว่า
1. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการควบคุมวัตถุอันตรายฯ โดยแต่งตั้งตัวแทน จากกระทรวงเกษตรฯและอดีตข้าราชการในกระทรวงมี 4 คน และอีก 4 คนเลือกจากผู้ที่ แสดงจุดยืนสนับสนุนกระทรวงเกษตรฯ จากคณะกรรมการที่มีจำนวน 12 คน 2.. อนุกรรมการเฉพาะกิจฯดังกล่าวเสนอใช้ข้อมูลเก่าล้าสมัยเพื่อโน้มน้าวให้มีการใช้สารพิษ ร้ายแรงดังกล่าวต่อไป โดยเพิกเฉยต่อข้อมูลเชิงประจักษ์และรายงานใหม่ๆเป็นจำนวนมาก ดังที่เครือข่ายนักวิชาการจากหลายสถาบัน เช่น สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นต้น 3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตรายอย่างน้อย 3 คนเกี่ยวข้องกับบริษัทค้าสารพิษอันตรายทั้ง3 ชนิด
แถลงการณ์ระบุอีกว่า เครือข่ายฯจึงเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายต้องดำเนินการให้ มีการพิจารณาการยกเลิกและจำกัดการใช้สารพิษดังกล่าวโดยต้องด าเนินการอย่างโปร่งใส ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน และต้องเปิดเผยผลการศึกษาทั้งหมด เช่น ข้อวินิจฉัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผล การประชุมของคณะกรรมการวัตถุอันตราย รวมทั้งอนุกรรมการเฉพาะกิจต่อประชาชนและสื่อมวลชน
"หากผลการพิจารณาตัดสินใจของคณะกรรมการวัตถุอันตรายเป็นไปอย่างล่าช้า หรือมีการ ตัดสินใจที่ไม่เป็นไปตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุข และประชาคมของนักวิชาการจากหลายสถาบัน ซึ่งได้แถลงอย่างเป็นทางการถึงพิษภัยร้ายแรงของสารพิษดังกล่าวเพื่อสนับสนุนข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่16 พฤษภาคม 2561เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษอันตรายร้ายแรงจะใช้ สิทธิพื้นฐานในการปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยจะจัดให้มีการชุมนุมครั้งใหญ่ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล "
นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายโดยมี ดร.มานะ นิมิตรมงคล องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิชีววิถี(BioThai) นางบุญยืน ศิริธรรม สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค นาย สุรชัย ตรงนาม ทนายความมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม และ น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงาน ผู้ประสานงาน เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)ร่วมกันอภิปราย
ดร.มานะ กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการทั้ง 5 กระทรวง นำโดยกระทรวงสาธารณสุข มีมติให้แบน พาราควอต คลอร์ไพริฟอสและจำกัดการใช้ไกลโฟเซต ภายใน 2 ปี แต่กลับมีการต่อทะเบียนการใช้พาราควอต โดยกรมวิชาการเกษตรโดยอ้างว่าไม่มีข้อมูลที่เพียงพอและไม่มีความรู้ทางด้านสุขภาพ ทำให้นายกฯมีการสั่งการให้คณะกรรมการจาก 3 กระทรวง ไปหาข้อมูลทางวิชาการถึงผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้สารทดแทน ซึ่งหลังจากนั้น 3 กระทรวงก็มีมติตามเดิมว่าให้มีการแบนพาราควอต เรื่องควรจะจบ แต่กลับมีการแต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาใหม่ โดยคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งอนุกรรมการส่วนใหญ่มาจากกรมวิชาการเกษตร ที่เคยอ้างว่าไม่มีความรู้ในเรื่องสุขภาพมาพิจารณาว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่ และลับยังมีการอนุญาตให้ใช้ต่อ ซึ่งในยุโรป หรือญี่ปุ่น หากมีข้อมูลผลิตภัณฑ์อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชนจะมีคำสั่งระงับการใช้ทันที จนกว่าจะมีข้อพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นอันตราย ดังนั้น หากรัฐบาลควรเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชน ยกเลิกการใช้สารเคมีอันตราย
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ในวันที่ 23พ.ค.นี้ที่จะมีการตัดสินแบนหรือไม่แบนสารพาราควอต เราหวังว่าจะได้รับข่าวดี อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาได้มีการตั้งข้อสังเกตถึงความไม่ชอบมาพากลใน 4 เรื่องดังนี้ คือ 1. บทบาทซ้อนทับ คือในต่างประเทศจะมีการแยกบทบาทของหน่วยงานที่ควบคุมและหน่วยงานที่ดูแลเรื่องสุขภาพอย่างชัดเจน โดยจะมอบอำนาจให้กับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข อย่างชัดเจน แต่ประเทศไทยกลับกรมวิชาการเกษตรที่อ้างว่าไม่มีความรู้ทางด้านสุขภาพ และมีการโยนให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งมี 3 คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยมีตำแหน่งในบริษัทสารเคมีของภาคเอกชน หลังจากนั้นก็มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเป็นผู้ตัดสิน โดยเป็นการโยนกลับเพราะส่วนใหญ่ก็มาจากกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้หากมีการอนุญาตให้ใช้ต่อก็จะมีการเปิดเผยรายชื่อของคณะกรรมการ 3 คนที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถูกคน
2. การมีประโยชน์ทับซ้อน หลังจากมีการต่อทะเบียนสารเคมีอันตราย ภาคประชาชนก็จะขอเอกสารทั้งหมดในการต่อทะเบียน ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่ได้ข้อมูล อีกทั้งข้อสรุปผลการศึกษาทางวิชาการของคณะอนุฯ เพื่อส่งมอบให้กับคณะกรรมการวัตถุอันตรายตัดสิน ก็ยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน สะท้อนให้เห็นว่าผลสรุปอาจไม่ดีจนไม่กล้าเปิดเผย กลัวจะถูกวิจารณ์
3.กรรมการวัตถุอันตรายหลายคนและอนุกรรมการบางคน อยู่ในกลุ่มที่เคยเสนอให้พืชสมุนไพรที่ใช้ต้มยำทำแกง 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย แต่ตอนนี้กำลังจะให้ใช้ต่อพาราควอต ซึ่ง 50 ประเทศแบนไปแล้ว อีกทั้งในรอบ 10 ปี ยังไม่เคยแบนสารพิษตัวไหนเลย และ 4 . ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร รัฐบาล คสช. ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะคณะกรรมการวัตถุอันตราย 19 จาก 29 คน เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การดูแลขอรัฐบาล
“มีการส่งข้อมูลจากนักวิชาการ ทั้งนักวิจัยจากจุฬา ที่น้อยครั้งจะออกมาพูดเกี่ยวกับนโยบาย จนทนไม่ไหวแล้ว อีกทั้ง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลมาตลอด ถึงกับบอกว่าคงหมดหวังกับรัฐบาล หากเชื่อแพทย์บางคนที่ใช้ข้อมูลเก่าเมื่อ 20 ปี แต่ไม่เชื่อข้อมูลปัจจุบัน ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร รัฐบาล คสช .ต้องรับผิดชอบ หากไม่แบน สะท้อนให้เห็น 3 ข้อ ว่า1.รัฐบาล คสช. เห็นแก่บรรษัทข้ามชาติมากกว่าประโยชน์ของประชาชน 2.หวังคะแนนเสียงจากประชาชนและการสนับสนุนจากบริษัทผู้ค้าสารพิษ 3.โยนความเสี่ยงมาที่ประชาชนที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ให้ตายแบบเฉียบพลันหรือตายแบบผ่อนส่ง”นายวิฑูรย์ กล่าว
นางบุญยืน กล่าวว่า ไม่เคยไว้ใจข้าราชการเลย เคยไปยื่นหนังสือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับเรื่องการใช้พาราควอต แต่กลับไม่มีผู้มารับหนังสือและให้ไปยื่นที่ชั้น 4 จึงได้ขู่ว่าจะนอนหน้าบันได จึงมีผู้มารับแต่ห้ามถ่ายรูป ทำให้คิดว่าหน่วยงานนี้ไม่มีที่สำหรับประชาชนคนจน ซึ่งเคยได้ทำการทดสอบที่ จ.นครปฐม เกี่ยวกับสารเคมีในร่างกายในคน 3 กลุ่ม คือ คนทั่วไป เกษตรกร และข้าราชการ พบว่าข้าราชการพบมากที่สุด จากการเป็นเกษตรกรทำสวนทุเรียนมา 7 ปี ก็ไม่เคยมีคนจากกระทรวงเกษตรฯ ลงมาตรวจสอบให้คำแนะนำเลย และเป็นเช่นนี้ประชาชนจะพึ่งใคร อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีนโยบาย Thailand 4.0 แต่หากพาราควอตได้ไปต่อ คงได้แค่ 0.4 หากจะไปจุดนั้นก็ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีสารทดแทน ต้องเชื่อมั่นว่าต้องมีนวัตกรรมและเทคดนโลยีที่ใช้ทดแทนแน่นอน นอกจากนี้ในการรัฐบาลยังบอกว่าในสิทธิ์บัตรทองมีงบประมาณไม่เพียงพอรักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญแต่กลับไม่แก้ปัญหาจากสาเหตุที่ทำให้ประชาชนเจ็บป่วย ดังนั้นพรุ่งนี้ให้ประชาชนเตรียมพาราควอตไปด้วย หากบอกไม่อันตรายก็ฉีดหลังจากมีคำตัดสิน
น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงาน ผู้ประสานงาน เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) กล่าวว่า หลังจาก สธ.ยืนมติเดิม ก็ยังไม่เห็นการตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งในวันพุธที่ 23พ.ค.นี้ก็จะมีการพิจารณาสรุปโดยคณะกรรมการวัตถุอันตราย เราก็ได้เรียกร้องหาความโปร่งใส โดยอยากให้พิจารณาบนพื้นฐานทางวิชาการ และขอให้กรรมการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนที่รู้ตัวอยู่แล้วว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทไม่เข้าร่วมในการพิจารณา และขอให้เปิดเผยข้อมูลการพิจารณา และคำวินิจฉัยส่วนบุคคลแต่ละคน ไม่ว่าจะตัดสินแบนหรือไม่แบน และหากยังไม่สามารถพิจารณาได้ในวันดังกล่าว หรือเลื่อนการพิจารณาออกไป ภายใน 7 วัน จะมีการชุมนุมของเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อเรียกร้องต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |