อดีตรองอธิการบดีมธ.ชำแหละคำปราศรัย'มายด์-ภัสราวลี'กล่าวหาพระมหากษัตริย์ไม่เป็นความจริง


เพิ่มเพื่อน    


26 มี.ค.64 - รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า
ได้ติดตามดูและฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์การขึ้นปราศรัยของมายด์ ภัสราวลี ในม็อบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม จากสื่อต่างๆแล้วยอมรับว่า การปราศรัยครั้งนี้มีผล

กระทบหรือขอใช้คำว่ามี impact ต่อสังคมสูงมาก

ปรากฏการณ์ที่ได้เห็นคือ สังคมแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจนที่สุดอีกครั้งในประวัติศาสตร์ชาติไทย ครั้งนี้ไม่ใช่แบ่งเป็นซ้ายกับขวา แต่แบ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์ และฝ่ายที่ยังจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 

การพูดว่า ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เพื่อรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ หรือคำที่มายด์ใช้ในการปราศรัยคือ “การเป็นกัลยาณมิตร” เป็นเพียงวาทกรรม ความประสงค์ที่แท้จริงคือการไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ หากทำไม่สำเร็จก็ให้มีได้ แต่ไม่ให้มีบทบาทใดๆเลยทั้งสิ้น นั่นคือคำว่า “สถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ”ในความหมายของเขา

อีกปรากฎการณ์หนึ่งซึ่งจะว่าไปก็เป็นลักษณะที่เป็นมาหลายปีแล้วในระยะหลัง ก็คือ สังคมไทยเมื่อแบ่งฝ่ายแล้ว เลือกที่จะมองแต่ด้านดีของฝ่ายตัวเอง โดยมองข้ามด้านที่ไม่ดีไปเสียทั้งหมด

กรณีการปราศรัยของมายด์ เป็นตัวอย่างที่ชัด ฝ่ายที่ไม่ต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์ จะมองการปราศรัยของมายด์ด้วยความชื่นชม มองว่ากล้าหาญ มองว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์อย่างสุภาพและสร้างสรรค์ 

มองข้ามการที่มายด์ปราศรัยโดยดูโพยในโทรศัพท์มือถือของตัวเองเกือบตลอดเวลา ซึ่งโพยที่อ่าน ฟังแล้วมีโอกาสสูงว่ามายด์ไม่ได้เขียนเอง แต่มีคนอื่นที่อยู่เบื้องหลังเขียนให้

มองข้ามไปเลยว่า คำพูดที่ว่าสุภาพนั้น เป็นคำพูดถึงองค์พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน ไม่ใช่พูดถึงคนธรรมดาทั่วไป

มองข้ามไปเลยว่า การปราศรัยเป็นการตำหนิที่รุนแรง ใช้ถ้อยคำที่แม้ไม่ใช่คำหยาบ แต่เป็นคำรุนแรง ไม่อาจใช้กับองค์พระมหากษัตริย์ได้ เช่นคำว่า “โลภ” คำว่า “ออกนอกลู่นอกทาง” คำว่า “ ตักเตือน” 

มองข้ามไปเลยว่า มีการตั้งข้อกล่าวหา ที่รุนแรงมาก นั่นคือกล่าวหาว่า 

พระมหากษัตริย์ทรงสร้างระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นใหม่

พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างกองทัพของพระองค์เอง 

พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เบื้องหลังกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม 

พระมหากษัตริย์นำทรัพย์สินของชาติไป เป็นของพระองค์เอง และเรียกร้องให้โอนกลับคืนให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศตัวจริงโดยเร็ว

ฝ่ายไม่ต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์ฟังแล้วจะเชื่อและเห็นด้วยทั้งหมด ในขณะที่ฝ่ายจงรักภักดีจะไม่เชื่อเลยแม้แต่เรื่องเดียว

หากสลัดความมีอคติออกไป เราจะพบว่า ข้อกล่าวหาส่วนใหญ่ไม่เป็นความจริงและแน่นอน ข้อกล่าวหาบางข้อเราไม่ทราบ

ข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริง คือการที่กล่าวหาว่าพระองค์มีพระราชประสงค์จะสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นใหม่

อีก 2 ข้อ คือการสร้างของทัพเป็นของพระองค์เอง และการนำทรัพย์สินของชาติไปเป็นของส่วนพระองค์

ข้อกล่าวหาที่เราไม่ทราบคือ ข้อกล่าวหาว่าทรงอยู่เบื้องหลังกลุ่มการเมือง เพราะข้อกล่าวหาข้อนี้ยังไม่ใช่ข้อเท็จจริง และไม่มีหลักฐานใดๆ เป็นข้อกล่าวหาลอยๆที่แม้แต่หากเป็นการกล่าวหาบุคคลทั่วไปในที่สาธารณะเช่นนี้ ก็อาจถูกฟ้องหมิ่นประมาทได้

ข้อกล่าวหาเหล่านี้มีผู้ออกมาอธิบายเป็นส่วนใหญ่แล้ว ในที่นี้จึงอยากจะกล่าวถึงข้อเดียว นั่นคือการกล่าวหาว่าพระมหากษัตริย์นำทรัพย์สินของชาติไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์

แต่เดิมทรัพย์สินที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ มีทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทรงได้มาก่อนขึ้นครองราชย์ และทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่เกี่ยวกับการเป็นพระมหากษัตริย์ 

มีทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายความว่า เป็นทรัพย์สินที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์สามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่ไม่สามารถนำไปใช้เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ หรือยกให้เป็นมรดกตกทอดได้

ต่อมาในสมัยรัฐบาลคณะราษฎร ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ได้มีการบัญญัติคำว่า ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งมีข้อความดังนี้

    "ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน" หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า

 พระราชวัง 

จะเห็นว่าคำว่า ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็คือทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เดิมนั่นเอง แต่แยกส่วนหนึ่งออกไปเป็นทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งยังคงเป็นทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ จะว่าเป็นสมบัติของชาติก็อาจไม่ผิด แต่ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินของประชาชนทุกคนที่จะไปใช้ประโยชน์ได้ มีเพียงพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่จะใช้ประโยชน์ได้

พรบ ฉบับนี้ยังให้มีการตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินส่วนนี้ ให้เกิดผลประโยชน์ขึ้น

ที่ว่านำทรัพย์สินของชาติไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์จึงไม่เป็นความจริง พระองค์เพียงนำทรัพย์สินที่ควรเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์กลับมาเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์เท่านั้น

ตัวอย่างเช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงก่อตั้ง จึงไม่แปลกที่จะเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ และเป็นมรดกตกทอดมาถึงรัชกาลปัจจุบัน ธนาคารไทยพาณิชย์ไม่เคยเป็นสมบัติของชาติ ไม่ใช่เป็นของประชาชนทุกคน ปัจจุบันเป็นบริษัทมหาชน เจ้าของตัวจริงคือผู้ถือหุ้นทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งมีประชาชนทั่วไปรวมอยู่ด้วย 

การแบ่งแยกฝ่ายครั้งนี้ เป็นความแตกแยกที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เนื่องจากแกนนำที่ออกหน้า อาจไม่ได้ศึกษาหาข้อมูลให้ถึงแก่นจริงๆ แต่เชื่อตามข้อมูลที่มีคนป้อนให้ เพื่อจุดหมายทางการเมืองที่ต้องการไปถึง ซึ่งไม่มีทางสำเร็จได้ เพราะฝ่ายที่ยังจงรักภักดียังคงเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ 

สิ่งน่ากลัวคือความแตกแยกขัดแย้ง หากยังมีการโหมกระพือต่อไปแบบนี้ ความรุนแรงระดับเลือดตกยางออกแบบเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 อาจเกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง ประเทศชาติจะยิ่งบอบช้ำหนัก

หากหวังดีต่อประเทศชาติกันจริงๆ ทำไมจึงต้องดึงดันเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์แบบไม่ยอมเลิก ไม่ยอมผ่อนเช่นนี้ ประหนึ่งว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นวิกฤตของชาติที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วนกระนั้น

วิญญูชน ย่อมมองเห็นว่า นั่นไม่ใช่ความจริง ดังนั้นจึงมีคำถามว่า จุดมุ่งหมายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของคนกลุ่มนี้ ทำเพื่อการกินดีอยู่ดีของประชาชน ทำเพื่อสังคมที่ดีขึ้น จริงหรือ หรือทำเพื่อใคร เพื่อกลุ่มใดกันแน่
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"