เมื่อวันที่ 26 มี.ค. เวลา 10.30 น. ที่สำนักงานศาลปกครอง ภาคีนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน นำโดยนางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว นักกิจกรรมทางการเมือง แนวร่วมกลุ่มราษฏร พร้อมด้วยตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ด้านหน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2563 ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยุติการใช้กำลังจัดการการชุมนุมที่เกินสมควรแก่เหตุกับผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎรและกลุ่มผู้ชุมนุมอื่นๆ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดเสรีภาพการชุมนุมผู้ฟ้องคดี
โดยนายอัมรินทร์ สายจันทร์ ทนายความ เปิดเผยว่า การยื่นฟ้องคดีวันนี้เพื่อต้องการให้เป็นส่วนหนึ่งในการตรวจสอบการใช้อำนาจของตำรวจเกี่ยวกับการควบคุมดูแลการชุมนุมสาธารณะ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานในการกำกับดูแลการทำหน้าที่ของตำรวจในการคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุมการดูแลความปลอดภัยทั้งของผู้ชุมนุมและประชาชน โดยท้ายคำร้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดี ยุติการใช้กำลังจัดการการชุมนุมที่เกินกว่าเหตุ อันเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญและเป็นการใช้กำลังโดยไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ไม่เป็นไปตามแผนดูแลการชุมนุมสาธารณะและคู่มือการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ โดยเฉพาะการใช้กำลังและเครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมฝูงชนที่ไม่เป็นไปตามหลักสากล เช่น ห้ามฉีดน้ำแรงดันสูงผสมแก๊สน้ำตาหรือสารเคมี และหรือห้ามใช้กระสุนยางยิงใส่ผู้ชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ ห้ามวางสิ่งกีดขวางขัดขวางการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเกินกว่าเหตุโดยไม่มีเหตุอันควร เป็นต้น
ด้านนางอังคณา ลีนะไพจิตร กล่าวว่า ในวันดังกล่าวตนเดินทางไปเพื่อจะเข้าร่วมประชุมในฐานะกรรมาธิการที่รัฐสภา และได้มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางโดยได้รับคำยืนยันว่าสามารถเดินทางเข้าอาคารได้ การจราจรปกติ ซึ่งตนเดินทางไปก่อนที่การชุมนุมจะเริ่ม ก็พบว่ามีการปิดกันเส้นทางแล้ว เมื่อเจรจากับเจ้าหน้าที่ขอเปิดช่องทางเล็ก ๆ เพื่อผ่านเจ้าหน้าที่ก็ไม่รับฟัง และมีการขู่ว่าหากเข้าใกล้แนวกั้นก็จะทำการฉีดน้ำ ใช้แก๊สน้ำตา กระสุนยาง ซึ่งจากประสบการณ์ส่วนตัว เห็นว่าบริเวณรัฐสภา เป็นพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นแสดงออกได้ พื้นที่หน้ารัฐสภาไม่ควรที่จะถูกจำกัด หากมีเหตุการณ์ที่จะต้องปิดกั้น เจ้าหน้าที่ควรมีความยืดหยุ่น แต่การกระทำของเจ้าหน้าที่วันดังกล่าวเหมือนพยายามที่จะใช้ความรุนแรง ปราบปรามอย่างเดียวโดยที่ไม่การผ่อนปรน
“เหตุที่เพิ่งมาฟ้องส่วนหนึ่งเพราะหลายๆ คนกังวล หวาดกลัว เรื่องความปลอดภัยว่าจะถูกแก้แค้นหรือไม่ถ้ามาฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจริงๆ ควรมีกลไกตรวจสอบการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และเราพบว่าหลังจากวันที่ 17พ.ย. 63เจ้าหน้าที่เองก็ใช้กำลังมาโดยตลอด แม้เจ้าหน้าที่ออกมาขอโทษแต่ก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบ อะไรไม่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ไม่มีการชดใช้หรือเยียวยา และในวันนั้นไม่มีกระทั่งรถพยาบาล ที่จะนำตัวผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล มีแต่การช่วยเหลือกันเองของผู้ชุมนุม ส่วนตัวก็หวัง ว่าศาลปกครองจะเป็นที่พึ่งของประชาชนในการที่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น”นางอังคณากล่าว
ด้านน.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว กล่าวว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อผุ้ชุมนุมที่ผ่านมาไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายการชุมนุม แต่กลับใช้กฎหมายมาดำเนินคดีกับพวกเรา ทั้งกฎหมายพ.ร.บ.การชุมนุม และพ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยสิ่งที่เกิดขึ้นคือเจ้าหน้าที่ได้พยายามขัดขวางการชุมนุมด้วยการใช้แท่งแบริเออร์ และลวดหนามมาสกัดผุ้ชุมนุมไว้ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเจรจาซึ่งขัดกับมาตรฐานสากล ที่จะต้องมีการเปิดพื้นที่ให้มีการเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในวันนั้นคือเจตจำนงค์ของประชาชนที่ต้องการให้สภารับร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์นั้นได้หายไปแล้ว ไม่สามารถเรียกย้อนวลากลับมาได้ ทั้งนี้ตนมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองในฐานะผู้เสียหาย จากการไปร่วมชุมนุมในวันดังกล่าว ซึ่งโดนแรงดันน้ำ และสารเคมีที่อยู่ในน้ำที่เจ้าหน้าที่ฉีดใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งหลังจากวันเกิดเหตุตนได้ไปพบแพทย์เนื่องจากมีอาการผิวหนังแพ้สารเคมี และไอเป็นเลือด ซึ่งตนเองมีหลักฐานเป็นใบรับรแงแพทย์ที่จะนำมายื่นประกอบการฟ้องต่อศาลปกครองด้วย อย่างไรก็ตามยืนยันว่าวิธีการที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อผุ้ชุมนุมขัดต่อกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2563
น.ส.ชลธิชา ยังกล่าวอีกว่า ตนมีหน้าที่รับผิดชอบติดตามประชาชนที่มาร่วมชุมนุม ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ชุมนุม โดยจากข้อมูลพบว่าหลายรายมีแผลพุพอง และมีอย่างน้อย 4 คนที่ต้องเข้าแอดมิดในโรงพยาบาล 2-3 วัน และที่สำคัญมีแนวโน้มว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังกับผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม ทั้งที่จะเห็นได้ว่าหลังจากวันที่ 17 พ.ย. 2563 ได้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งหวังว่าการยื่นฟ้องศาลปกครองในวันนี้จะเป็นบรรทัดฐานเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมอีก
ด้านผู้ปกครองเด็ก 3 ขวบที่ได้รับผลกระทบ กล่าวว่า วันดังกล่าวคิดว่าตำรวจทำเกินกว่าเหตุ ตนและลูกไม่ได้มีเจตนาจะเข้าไปร่วมชุมนุมเลยเพียงแค่ผ่านไป ซึ่งตอนที่ไปเจ้าหน้าที่ยังเปิดแบริเฮอร์ให้เข้าอยู่ เมื่อเข้าไปถึงเสรีไทยราว 300 เมตร ก็เจอกับผู้ชุมนุมอีกกลุ่มหนึ่ง ก็วนกลับคิดว่าจะออกทางเก่าได้ แต่เมื่อกลับมาตำรวจปิดทางเก่าแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุม 2 กลุ่มกำลังดันกันเข้ามา ทำให้ตนและลูกไม่สามารถออกมาได้ แล้วไปปรากฏเป็นภาพข่าวที่ทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดกล่าวหาว่า ผู้ปกครองพาเด็กเข้าไปเพื่อที่จะให้เป็นโล่มนุษย์ รับแรงดันน้ำสูง ซึ่งแค่รถน้ำธรรมดาก็รุนแรงพอแล้ว แต่กลับมีการผสมสารเคมีเข้าไป เด็ก 3 ขวบทนไม่ไหวแน่ จึงอยากฝากเจ้าหน้าที่ตำรวจพิจารณามาตราการในการควบคุมฝูงชนให้ดีกว่าที่ผ่านมา ผลกระทบที่เกิดขึ้น ถ้าไปโดนกับลูกหลานตำรวจขึ้นมาบ้าง จะรู้สึกอย่างไร
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |