26 มี.ค.2564 ที่สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จับมือสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และภาคีเครือข่าย จัดเวทีเสวนา “สถานการณ์ PM 2.5 นโยบายที่ประเทศไทยต้องทำ” (Round Table Dialog on PM 2.5 : Thailand Guiding Policy) มุ่งสร้างความตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจาก PM 2.5 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบาย เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากปัญหา PM 2.5 และให้ประชาชนมีช่องทางในการติดตามและประเมินระบบการแก้ปัญหา PM 2.5 พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบายในการปรับปรุงปัญหา PM 2.5 ภาคเหนือโดยมีศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการเสวนาฯ และมีพันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมผู้แทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่, คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สภาลมหายใจเชียงใหม่, หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และผู้สยใจร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น
ทั้งนี้ ข้อมูลจากการเสวนาระบุว่า จุดความร้อนที่ถูกตรวจพบโดยระบบดาวเทียมส่วนใหญ่ในปีนี้ พื้นที่ภาคเหนือมีจุดความร้อนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกันกับปีที่ผ่านมา แต่สำหรับพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่มีจุดความร้อนหนาแน่น เข้มข้น รวมถึงในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านในทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้เกิดฝุ่นพิษข้ามแดนมายังประเทศไทย ซึ่งแม้จะมีการเตรียมการรับมือสถานการณ์สาธารณภัยจากฝุ่นพิษขนาดเล็กของหน่วยงานต่าง ๆ อยู่แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการเตรียมการที่เป็นการตั้งรับ ยังไม่มีนโยบายเชิงรุกอย่างแท้จริงที่จะต้องดำเนินการกันตลอดทั้งปี จึงต้องมีนโยบายปรับแผนการจัดการฝุ่นควันขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขณะที่แผนรองรับสถานการณ์ฝุ่นควันพิษขนาดเล็กที่จัดทำขึ้นในแต่ละจังหวัดของพื้นที่ภาคเหนือ ยังไม่มีการบูรณาการแผน บูรณาการทรัพยากรด้าน งบประมาณ กำลังคน เครื่องมืออุปกรณ์ จึงทำให้การดำเนินการต่าง ๆ ไม่สามารถที่จะบรรลุผลได้ตามแผน และแม้ในภาพรวมระบบการจัดการฝุ่นควันพิษภายในประเทศจะดีขึ้น แต่ยังขาดนโยบายการจัดการฝุ่นควันพิษข้ามแดน ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาในเวทีประชาคม ขณะที่นโยบายในระยะยาวที่ประเทศไทยต้องดำเนินการคือ การเปลี่ยนโครงสร้างของระบบการผลิตพืชผลทางการเกษตรและโครงสร้างของระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมเร่งผลักดันให้มีกฎหมายเพื่อรับรอง "สิทธิในอากาศสะอาด" ให้กับประชาชนเพื่อส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขสถานการณ์สาธารณภัยจากฝุ่นพิษขนาดเล็ก
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยการจัดตั้งศูนบ์บัญชาการฯตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นมา และได้มีการร่วมประชุม วางแผน กำกับ ติดตาม เป็นประจำทุกวัน ซึ่งการดำเนินการในปีนี้ได้มุ่งเน้นไปที่หลักการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ด้วยสภาพพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ยังคงมีความจำเป็นของประชาชนที่จะต้องใช้ไฟในการประกอบอาชีพและเตรียมพื้นที่ทางการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรที่อยู่ในพื้นที่สูง ซึ่งไม่สามารถที่จะใช้เครื่องจักร/เครื่องทุ่นแรง ไปจัดการกับเศษวัชพืชเหล่านั้นได้ จึงต้องมีแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำแอพพลิเคชันการจองบริหารจัดการเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถทราบได้ว่ามีใครประสงค์บริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ใด โดยศูนย์บัญชาการของจังหวัดเชียงใหม่จะเป็นผู้พิจารณา และเป็นปีแรกที่มีการใช้ระบบนี้ ทั้งนี้พบว่าในปีนี้สามารถลดจุดความร้อนลงไปได้ถึง 50% โดยในปี 2563 ห้วงวันที่ 1 มกราคม-25 มีนาคม 2563 เกิดจุดความร้อนสูงถึง 13,000 จุด แต่ในปี 2564 เกิดจุดความร้อนเพียง 6,532 จุด
ส่วนเรื่องนโยบายรัฐหรือผู้เกี่ยวข้องต้องทำไปพร้อมๆกับด้านอื่นๆ ทั้งการส่งเสริมอาชีพ วิถีการดำเนินชีวิต การจัดการทรัพยากร ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับชาติแบะระหว่างประเทศ มีความต่อเนื่อง ปรับแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องทางปฏิบัติ สร้างสำนึกร่วมของทุกภาคส่วนในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |