ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยเป็นปัหาที่เรื้อรังมายาวนาน เพราะในขณะที่ประเทศไทยมีเศรษฐีร่ำรวยล้นฟ้าติดอันดับโลก และครอบครองที่ดินทั่วประเทศหลายแสนไร่
ขณะที่ข้อมูลจากรายงานการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทยทั่วประเทศในช่วง 6 เดือนแรกของปี2560 พบว่า ประเทศไทยมีครัวเรือนทั้งหมดประมาณ 21 ล้านครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 26,973 บาท/เดือน มีรายจ่ายเฉลี่ยครัวเรือนละ 21,897 บาท/เดือน มีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 177,128 บาท หรือหนี้สินสูงกว่ารายได้ประมาณ 6.6 เท่า !!
ภาวะ ‘รวยกระจุก จนกระจาย’ นำไปสู่ปัหาต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะคนยากคนจนทั้งในเมืองและชนบทซึ่งเป็นฐานประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งเรื่องปัหาปากท้อง การทำมาหากิน พืชผลการเกษตรราคาตกต่ำ การขาดแคลนที่อยู่อาศัย ไร้ที่ดินทำกิน การเข้าไม่ถึงสิทธิบริการต่างๆ ของภาครัฐ คุณภาพชีวิตตกต่ำ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ปัหาต่างๆ ดังกล่าวเป็นปัหาเชิงโครงสร้างของสังคมที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข และต้องบูรณาการทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันทำงาน ขณะที่หลายๆ เรื่องเป็นปัหาเฉพาะหน้าหรือเป็นปัหาเร่งด่วนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการได้ทันที และเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงมอบหมายให้กระทรวงต่างๆ จัดหาของขวัปีใหม่ พ.ศ. 2561 ให้แก่พี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งหลายกระทรวงได้เตรียมของขวัปีใหม่เพื่อมอบให้กับประชาชนตามพันธกิจของแต่ละกระทรวง
ในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พลเอกอนันตพร กาจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดจัดมอบ ‘9 ของขวัปีใหม่ ก้าวไปกับ พม.’ ให้แก่ประชาชนชาวไทย เพื่อส่งความสุขให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึงผู้สูงอายุทั่วประเทศ
รมว.พม.ย้ำเป้าหมายการทำงาน
"ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม”
พลเอกอนันตพร กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะเป็นองค์กรและกลไกหลักด้านสังคมในการบรรลุนโยบายของรัฐบาล "ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ” สำหรับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ
คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ด้วยคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันในสังคม โดยการ
ขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานของ
หน่วยงานสำคั
ประกอบด้วย 1. สำนักงานปลัดกระทรวง (สป.พม.) 2. กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) 3.กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) 4. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) 5. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) 6. กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) 7. การเคหะแห่งชาติ (กคช.) 8. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) และ 9. สำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.)
พลเอกอนันตพรกล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. ได้ขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จากระดับนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกันทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคั จึงได้จัดการประชุมมอบนโยบายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ 2561
โดยได้นำกรอบแนวคิดสำคัในระดับประเทศและสากลมาเชื่อมโยงในการขับเคลื่อนงานอย่างบูรณาการตามแนวทางประชารัฐเพื่อสังคม ทั้งจาก 1. ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) 2. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) หรือ SDGs (กันยายน 2558 – สิงหาคม 2573) อาทิ ขจัดความยากจน และบรรลุความเท่าเทียมทางเพศและเสริมพลังผู้หิงและเด็กหิงทุกคน เป็นต้น และ 3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
โดยกำหนดยุทธศาสตร์กระทรวง พม. ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) ภายใต้วิสัยทัศน์ "คนอยู่ดีมีสุขในสังคมคุณภาพ” ซึ่งมีโครงการสำคัในปี 2561 เช่น 1. เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2. การจ้างงานผู้สูงอายุและคนพิการ 3. การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) 4. การป้องกันและแก้ไขปัหาการค้ามนุษย์ 5. การช่วยเหลือหิงไทยในต่างประเทศ 6. การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครและเครือข่ายการสานพลังประชารัฐ 7.การเสริมพลังสภาเด็กและเยาวชน 8. การจัดทำฐานข้อมูลด้านสังคม Big Data เป็นต้น
สำหรับแนวทางการทำงานนั้น รมว.พม.กล่าวว่า จะให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม.ทำงานเป็นทีม เน้นเป้าหมายผลสัมฤทธิ์เป็นหลัก การทำงานต้องคิดว่าทำแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างไร เนื่องจากทรัพยากรของประเทศมีจำกัด จึงให้ทุกส่วนราชการจัดลำดับความเร่งด่วนตามความสำคัของงาน แบ่งเป็น ระยะเร่งด่วนแรก ระยะปานกลาง และระยะยาว เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่
ให้มีการทบทวนงานเก่าว่ายังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่อย่างไร และงานใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันอะไรที่ควรทำ
"ทั้งนี้การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงการพัฒนาสังคม ประจำปี 2561 มุ่งยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างสังคมคุณภาพ ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
ด้วยการพัฒนาตามปรัชาเศรษฐกิจพอเพียง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” พลเอกอนันตพรกล่าว
กระทรวง พม.มอบของขวัญ 9 ชิ้นใหญ่
พลเอกอนันตพร กล่าวว่า กระทรวง พม. ได้จัดเตรียม “9 ของขวัปีใหม่ ก้าวไปกับ พม.” เพื่อส่งความสุขให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ โดยมีกิจกรรมพิเศษจากหน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ประกอบด้วย 1.ของขวัเด็กแรกเกิด เป้าหมาย 5,005 คน 77 จังหวัดๆ ละ 65 คน มอบเช็คเงินสด/ชุดของใช้เด็กแรกเกิดมูลค่า 1,000 บาท 2. แอปพลิเคชั่นครอบครัว เปิดตัว Application
มือถือ ด้วยการส่งเสริมการรู้สิทธิ รู้ช่องทางรู้กฎหมาย 3.Family Data เปิดประตูเยี่ยมบ้าน สร้างสะพานสู่สวัสดิการสังคม อาสาสมัครร่วมลงเยี่ยมบ้านผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 252,788 ครอบครัวทั่วประเทศ
4. ผู้สูงอายุอายุยืน...เยาว์ เยี่ยมบ้าน มอบของขวัแก่ผู้อายุเกิน 100 ปีทุกจังหวัด 5. ศูนย์บริการคนพิการ 4 มุมเมือง เปิดศูนย์บริการที่อ้อมน้อย ลาดกระบัง สายไหม มีนบุรี 6. 1300 โทรสุขทั่วไทย ยิ้มไกลทั่วโลก บริการสายด่วนช่วยเหลือสังคม 24 ชั่วโมง โทรเยี่ยมเยือน ลงเยี่ยมบ้าน 7. การเคหะฯ ลด แลก แจก แถม ลดดอกเบี้ย บ้านแลกบ้าน แจกแบบบ้านผู้สูงอายุฟรี แถมพิเศษเฉพาะลูกค้า 8.พอช.มอบบ้านพอเพียงชนบท 2,561 หลัง ซ่อมแซม ปรับปรุงบ้านผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ จำนวน 2,561 หลัง และ 9. ลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ขยายเวลาลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่ลูกค้าสถานธนานุเคราะห์
แผนพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี ลดปัหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม
สมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ กล่าวว่า พอช. เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัหาหรือพัฒนาชุมชน โดยชุมชนเป็นแกนหลัก มีการดำเนินงานในโครงการที่สำคั เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน การพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน สวัสดิการชุมชน สภาองค์กรชุมชน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ทั้งนี้ในเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัยนั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ให้ความสำคัในการแก้ไขปัหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยการสร้างโอกาสการเข้าถึงสวัสดิการสังคมและที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยเป็นนโยบายเร่งด่วน และสั่งการให้แก้ไขปัหาที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยทั้งประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตามข้อสั่งการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 เรื่องการขับเคลื่อนด้านที่อยู่อาศัย โดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ดำเนินการแก้ไขปัหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภายใต้ ‘แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579)’
แผนงานดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ที่มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง ได้มาตรฐาน มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มอบหมายให้การเคหะแห่งชาติ จัดทำโครงการในลักษณะการเช่า เช่าซื้อ หรือซื้อ ในราคาที่กลุ่มเป้าหมายสามารถรับภาระได้ รวมทั้งหมด 2,271,080 ครัวเรือน
ขณะที่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ จัดทำ ‘แผนพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย (เมืองและชนบท)’ ร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับชุมชนแออัด ชุมชนบุกรุก ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ทั้งในเมืองและชนบท รวม 1,053,702 ครัวเรือน โดยแยกเป็น 1.ชุมชนแออัดและผู้มีรายได้น้อยในเมือง จำนวน 701,702 ครัวเรือน (บ้านมั่นคง 690,000 ครัวเรือน, ชุมชนริมคลอง 11,004 ครัวเรือน, และคนไร้บ้าน 698 ครัวเรือน) 2. ผู้มีรายได้น้อยในชนบท ภายใต้โครงการ ‘บ้านพอเพียงชนบท’ จำนวน 352,000 ครัวเรือน
(พ.ศ.2560 - 2579)
“สำหรับโครงการบ้านพอเพียงชนบทนั้น พอช.ได้เริ่มดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2560 สามารถดำเนินการได้จำนวน 754 โครงการ 76 จังหวัด 747 ตำบล รวม 10,369 ครัวเรือน จากเป้าหมาย 9,000 ครัวเรือน ซึ่งในปี 2561 นี้ พอช. มีเป้าหมายดำเนินการจำนวน 15,000 ครัวเรือน เพื่อช่วยลดปัหาความเดือดร้อน และพัฒนาคุณภาพการอยู่อาศัยของครัวเรือนยากจน ผู้มีรายได้น้อย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นพื้นฐานสำคัในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นหลักในการจัดการตนเอง” ผู้อำนวยการ ผอช.กล่าว
พอช.มอบบ้านพอเพียงชนบท 2561 ครัวเรือนทั่วประเทศ
สมชาติ ภาระสุวรรณ ผอ.พอช. กล่าวว่า โครงการบ้านพอเพียงชนบทมีหลักคิดการทำงาน คือ “สร้างบ้าน สร้างความสุข สร้างความมั่นคง พัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างมีศักดิ์ศรี มียุทธศาสตร์” โดย พอช. จะมุ่งเน้นสนับสนุนให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการร่วมกันแก้ไขปัหา โดยการเชื่อมโยงเครือข่าย กลุ่มหรือองค์กรชุมชนในตำบล หรือองค์กรชุมชนตำบลที่มีทุนการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น สภาองค์กรชุมชน เครือข่ายที่ดินชนบท กองทุนสวัสดิการชุมชน องค์กรการเงินชุมชน ฯลฯ และสร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ เพื่อร่วมกันสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้เดือดร้อนในพื้นที่ โดย พอช.จะสนับสนุนงบประมาณผ่านองค์กรชุมชน ทำให้คนในตำบลมีความตื่นตัวในการร่วมกันดำเนินงานในทุกขั้นตอนของการแก้ไขปัหาที่อยู่อาศัย
“พอช.ไม่ได้เข้าไปสร้างหรือซ่อมแซมบ้านให้ชาวบ้าน แต่ให้ชุมชนและผู้ที่มีความเดือดร้อนร่วมกันแก้ไขปัหา โดย พอช.จะสนับสนุนงบประมาณ เริ่มตั้งแต่การสำรวจข้อมูล รวมกลุ่มผู้เดือดร้อน กลั่นกรองข้อมูล คัดเลือกผู้ที่เดือดร้อน จัดซื้อวัสดุและก่อสร้างบ้านร่วมกัน ภายใต้งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน และการสมทบจากชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งการร่วมแรงก่อสร้างโดยผู้เดือดร้อนและคนในชุมชน ทำให้สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างรวดเร็ว” ผอ.พอช. อธิบายถึงหลักการทำงานของโครงการบ้านพอเพียงชนบท
ผอ.พอช. ยกตัวอย่างว่า บางตำบลมีข้อตกลงให้ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือซ่อมบ้านต้องสมทบเงินกลับคืนเข้ากองทุนที่อยู่อาศัยเป็นรายเดือน ทำให้เกิดการคืนทุนสู่กองทุนของชาวชุมชนเอง สามารถนำเงินกองทุนไปช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนรายอื่นๆ ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การเชื่อมต่อกับงานพัฒนาด้านต่างๆ ของชุมชน เช่น การส่งเสริมการประกอบอาชีพ การจัดสวัสดิการช่วยเหลือกันในชุมชน ฯลฯ
ทั้งนี้ในปี 2561 พอช.มีเป้าหมายในการสนับสนุนโครงการบ้านพอเพียงชนบททั่วประเทศ จำนวน 15,000 ครัวเรือน โดยภายในเดือนมกราคมนี้จะมีบ้านพอเพียงที่ซ่อมแซมเสร็จแล้ว (ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560) มอบเป็นของขวัปีใหม่ให้แก่ประชาชนจำนวน 2,561 ครัวเรือน มีผู้ได้รับผลประโยชน์ทั้งหมดประมาณ 10,000 คน เช่น จังหวัดมหาสารคาม มีพิธีมอบในวันที่ 9 มกราคม จำนวน 108 ครัวเรือน และมอบงบประมาณซ่อมบ้านพอเพียงอีก 150 ครัวเรือน จังหวัดนครพนม มอบบ้านพอเพียง จำนวน 100 ครัวเรือน และมอบงบประมาณซ่อมบ้านอีก 150 ครัวเรือน
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพิธีมอบบ้านพอเพียงในวันที่ 10 มกราคม จำนวน 358 ครัวเรือน และมอบงบประมาณซ่อมบ้านใน 7 จังหวัดภาคตะวันออก (ตราด จันทบุรี ระยอง สระแก้ว ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก) รวม 103 ตำบล จำนวน 2,081 ครัวเรือน ภาคกลางและตะวันตก
มอบบ้านจำนวน 100 ครัวเรือน และมอบงบประมาณซ่อมบ้านอีก 700 ครัวเรือน ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช มอบบ้าน จำนวน 30 ครัวเรือน และมอบงบประมาณซ่อมบ้านฯ ในพื้นที่ 14 จังหวัด รวม 540 ครัวเรือน ภาคเหนือ (สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ เชียงใหม่) มอบบ้าน รวม 869 ครัวเรือน
รวมบ้านพอเพียงชนบทที่จะดำเนินโครงการในปี 2561 ทั่วประเทศ 15,000 ครัวเรือน ใช้งบประมาณรวม 337.5 ล้านบาท (สนับสนุนครัวเรือนหนึ่งไม่เกิน 18,000 บาท) ส่วนที่เหลือจะดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |